12 มกราคม 2564
14.00 – 15.00 น.
1. การจัดการจดหมายเหตุด้วยโปรแกรม CollectiveAccess
ผู้ช่วยศาสตราจารย์เลิศชัย วาสนานิกรกุลชัย (มหาวิทยาลัยศิลปากร)
สาธิตการติดตั้งโปรแกรม CollectiveAccess บนระบบ Windows แนะนำเมนูที่จำเป็นในการใช้งาน และฝึกปฏิบัติการจัดหมวดหมู่ของเอกสารดิจิทัล
2. UX for Information Organizations
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ทิพยา จินตโกวิท (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้จะชวนทุกท่านเรียนรู้ว่าหน่วยงานด้านสารสนเทศจะออกแบบประสบการณ์เชิงบวกให้แก่ผู้ใช้ได้อย่างไร
3. การจัดระบบความรู้ (Knowledge Organization Systems: KOS) ด้วย “TemaTres”
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วิระพงศ์ จันทร์สนาม (มหาวิทยาลัยขอนแก่น)
การจัดระบบความรู้ (Knowledge Organization Systems: KOS) เป็นวิธีการจัดรูปร่างของระบบความคิด ซึ่งมีทั้งการขยาย การจำกัด ในความสอดคล้องกันของขอบเขตสาขาวิชาที่สนใจ ภายใต้ความสามารถทางปัญญาและสาขาเฉพาะทางสาขาใดสาขาหนึ่งที่รู้จักกันดีเป็นการทั่วไปอยู่แล้ว การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้จึงเป็นการนำเสนอเทคนิคการจัดระบบความรู้ (KOS) มาใช้ในการวิเคราะห์ การจัดเก็บ และการค้นคืนสารสนเทศ เพื่อการควบคุมคำศัพท์ให้นำไปสู่ความเป็นมาตรฐาน โดยใช้เครื่องมือที่เป็นเว็บแอพพลิเคชันชื่อ “TemaTres” มาช่วยในการจัดโครงสร้างความรู้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและสร้างความคงที่ในการสร้างคำแทนสาระของขอบเขตความรู้ใดความรู้หนึ่ง ความคงเส้นคงวาของการกำหนดคำแทนเนื้อหาสาระ ป้องกันมิให้ความรู้เรื่องเดียวกันหรือเรื่องที่สัมพันธ์กันกระจัดกระจาย ช่วยให้การค้นคืนได้ผลลัพธ์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์ เป็นดัชนีในการสร้างคำแทนสาระของคำถามในขั้นตอนการค้นคืน เพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มประสิทธิภาพในการเข้าถึงและการค้นด้วยด้วยระบบการสืบค้นแบบออนไลน์ได้
4. การเรียนการสอนวิชาด้านการจัดการและบริหารเอกสารในศตวรรษที่ 21 (Teaching Records Management Course in 21st Century)
อาจารย์ ดร. วราภรณ์ พูลสถิติวัฒน์ (มหาวิทยาลัยศิลปากร) และ อาจารย์ ดร. พิมพ์พจน์ สีลาเขต (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
การอบรมเชิงปฏิบัติการนี้นำเสนอเนื้อหา 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ ประเด็นที่หนึ่ง ผู้เข้าอบรมจะได้ทราบพัฒนาการและความสำคัญของการสอนวิชาการจัดการและบริหารเอกสารในโลกยุคดิจิทัล ประเด็นที่สอง ผู้เข้าอบรมจะได้ทราบขอบเขตของเนื้อหา หลักการ ทฤษฎี และแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับวิชาการบริหารและจัดการเอกสาร รูปแบบของกิจกรรมในห้องเรียน การศึกษาดูงาน เนื้อหาและรูปแบบการเรียนการสอนวิชาการจัดการและบริหารเอกสารในยุคดิจิทัล ประเด็นสุดท้าย ผู้เข้าอบรมมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็นเรื่องอุปสรรคด้านการเรียนการสอนวิชาการบริหารและจัดการเอกสารในไทย ข้อจำกัดและความท้าทายเรื่องการเรียนการสอนวิชาการจัดการและบริหารเอกสาร