Skip to content

ปาฐกถาพิเศษ

มนุษยศาสตร์กับสารสนเทศศาสตร์: เพื่อนร่วมรุ่นหรือกัลยาณมิตรต่างวัย

11 มกราคม 2564 เวลา 9.00 – 10.00 น.

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุวรรณา สถาอานันท์

เมธีวิจัยอาวุโส สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมแห่งชาติ (สกสว.)

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุวรรณา  (วงศ์ไวศยวรรณ) สถาอานันท์ จบอักษรศาสตร์บัณฑิต(เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง เหรียญทอง สาขาปรัชญา) จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และจบปริญญาเอกจาก University of Hawai’I at Manoa  เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกด้านพุทธปรัชญานิกายเซ็น ปัจจุบันเป็นศาสตราจารย์รับเชิญ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สอนและทำงานวิจัยด้านปรัชญาจีน จริยศาสตร์ขงจื่อ พุทธปรัชญา ปรัชญาศาสนา และ ศาสนากับปัญหาสังคมร่วมสมัย

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุวรรณา สถาอานันท์ มีงานเขียนทางวิชาการที่ตีพิมพ์เป็นภาษาไทยและบางชิ้นตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส เกาหลี และจีน มีผลงานที่ตีพิมพ์เป็นเล่มทั้งในฐานะผู้เขียนคนเดียวและเป็นบรรณาธิการในภาษาไทยกว่าสิบเล่ม งานชิ้นสำคัญได้แก่  (บรรณาธิการ) คำ ร่องรอยความคิดความเชื่อไทย (สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2535, 2537, 2542);  (ผู้เขียน) ศรัทธาและปัญญา : บทสนทนาทางปรัชญาว่าด้วยศาสนา (สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545, 2550);  (บรรณาธิการ) ความเรียงใหม่รื้อสร้างปรัชญาตะวันออก  (สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547); (บรรณาธิการ) ความจริงในมนุษยศาสตร์   (สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549);  (ผู้เขียนบทนำวิจัยและแปล) หลุนอี่ว์: ขงจื่อสนทนา  (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2551, 2555, 2562);  (ผู้เขียน)  อารมณ์กับชีวิตที่ดีในปรัชญาขงจื่อ (โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2557) และ (ผู้เขียน)  จริยศาสตร์ต่างตอบแทนในปรัชญาขงจื่อ (โครงการปริญญาโท วัฒนธรรมจีนศึกษา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557)ผู้เขียน ฉ้อฉล จนยาก ภาษี พิธีศพ เศรษฐศิลป์แห่งความกลมเกลียวในผู้นำแบบขงจื่อ ใน เศรษฐศิลป์ ผู้นำกับโลกแห่งวัตถุในปรัชญาตะวันออก (2560) ขณะนี้เป็น เมธีวิจัยอาวุโส (สกสว. วช.) โครงการพุทธธรรมพหุนิยม (2561-2564)

ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุวรรณา สถาอานันท์เป็นอดีตหัวหน้าภาควิชาปรัชญา และรองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะอักษรศาสตร์ ในด้านการทำงานส่งเสริมงานวิจัยมนุษยศาสตร์ในประเทศ ระหว่าง พ.ศ.2546-2557  เป็นผู้ประสานงานชุดโครงการเวทีวิจัยมนุษยศาสตร์ไทย (สกว.) เพื่อพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยทางมนุษยศาสตร์ทั้งระดับอาวุโส ระดับกลาง และอาจารย์รุ่นใหม่ รวมทั้งนิสิตบัณฑิตศึกษา ให้มีเวทีระดับชาติเพื่อเสนอผลงานวิจัยและเพื่อเปิดประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างมนุษยศาสตร์และปัญหาสังคมร่วมสมัย

นอกจากนี้ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.สุวรรณา สถาอานันท์ ยังเป็นอดีตนายกสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย ( 2549-2551) กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (2552-2556, 2560-ปัจจุบัน) อดีตผู้ช่วยผู้อำนวยการด้านมนุษยศาสตร์ สกว.(2557-2559)  ในการประชุม World Congress of Philosophy ครั้งที่ 23 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซเมื่อ 2556 เป็นนักปรัชญาสตรีคนแรกของไทยที่ได้รับเลือกให้เป็นกรรมการดำเนินงานสมาพันธ์สมาคมปรัชญานานาชาติ   ในการประชุม World Congress of Philosophy 2018 ณ กรุงปักกิ่ง ได้รับเลือกเป็น Secretary General of the International Federation of Philosophical Societies นับว่าเป็นสตรีคนที่2 ที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนี้ในเครือข่ายสมาคมปรัชญาอันเก่าแก่นี้โดยมีสมาชิกเป็นสมาคมปรัชญาจากทั่วโลกกถึง 135 สมาคม

บทคัดย่อ

ความรู้ทางด้านสารสนเทศศาสตร์ในปัจจุบันพัฒนาและต่อยอดไปพร้อมกับการพัฒนาทางเทคโนโลยีอย่างแนบแน่น จนทำให้ทิศทางและความพยายามในการศึกษาวิจัยทางด้านสารสนเทศศาสตร์จำนวนมากมุ่งไปที่การพัฒนาเทคโนโลยีเป็นหลัก หากเมื่อพิจารณาเป้าหมายของสาขาวิชานี้โดยแท้จริงแล้ว เป็นการศึกษาที่มุ่งขยายขีดความรู้และศักยภาพของมนุษย์และสังคมไปในมิติต่าง ๆ ด้วยการใช้ข้อมูล สารสนเทศ หลักฐานเชิงประจักษ์ และความรู้ โดยมีเทคโนโลยีเป็นฐานของการพัฒนา มนุษยศาสตร์ในฐานะที่เป็นหนึ่งในศาสตร์แขนงใหญ่ที่ให้ความสำคัญกับการตีความและทำความเข้าใจกับคุณค่าของความเป็นมนุษย์และสังคมจึงเป็นฐานความรู้ที่สำคัญของการพัฒนาสารสนเทศศาสตร์ ในขณะเดียวกันวิทยาการและความรู้ทางด้านสารสนเทศศาสตร์ยังช่วยให้เกิดการค้นพบปรากฏการณ์และต่อยอดความรู้ทางมนุษยศาสตร์ด้วย การบรรยายปาฐกถาในครั้งนี้จะอภิปรายและวิพากษ์ความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนระหว่างมนุษยศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ ทิศทางการพัฒนามนุษยศาสตร์ที่อาจมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับการพัฒนาสารสนเทศศาสตร์ รวมถึงโอกาสสำหรับนักวิชาการทางด้านสารสนเทศศาสตร์ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์

Community engagement paradigm: A new agenda for information research and practice

12 มกราคม 2564 เวลา 9.00 – 10.00 น.

Jia Tina Du, Ph.D.
250250

Jia Tina Du, PhD

Associate Professor of Information Studies
University of South Australia

Dr. Tina Du is an Associate Professor of Information Studies in the UniSA STEM, University of South Australia, whose research interests are in information behavior, interactive information retrieval, marginalized communities, and social informatics. She has published more than 100 papers in top journals and conferences in her field, including 37 SCI/SSCI journal articles. Her research work has been supported by national and international competitive research grants and attracted more than AUD$1M in government and industry research funding. Dr. Du was awarded the Australian Research Council Discovery Early Career Researcher Award (ARC DECRA), a highly competitive national research fellowship, and visiting research fellow at the Oxford Internet Institute, University of Oxford, UK, among many other awards, honors and grants. She was named as the top researcher in Library & Information Science within the Engineering & Computer Science category by The Australian’s Research 2020 Magazine. She served on ASIS&T President Clara Chu’s Advisory Group, the 2020 Annual Meeting Program Committee as Paper Co-Chair, and Asia Pacific Chapter Chair.

บทคัดย่อ

There is a dearth of information research taking community-oriented approaches. Different from traditional user-centered approaches to information seeking and technology use, the community engagement orientation puts emphasis on the active participation and capacity-building of community members and the direct improvement of local conditions for them. This talk will propose and discuss a new agenda on community engagement-oriented research, and how this agenda might shape information research and education as well as service practices. With the principle of community engagement, study participants will become co-researchers, and the focus of study will move from information seeking to problem solving and community development. Attention will be paid on how information services and systems are designed, deployed, and evaluated in particular community contexts (such as low-tech environments and marginalized communities) to achieve sustainability.