การรับสมัครนักเรียนเข้าแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทยครั้งที่ 3 เพื่อคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 20

มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ (สอวน.) โดยมีสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานมูลนิธิ และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดยภาควิชาภาษาศาสตร์ ร่วมกับคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ จัดการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย (ภอท.) ครั้งที่ 3 เพื่อคัดเลือกนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายเป็นผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 20 ในเดือนกรกฎาคม 2566

การแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย (ภอท.) ครั้งที่ 3 จะมีขึ้นในวันที่ 17 ธันวาคม 2565 18 ธันวาคม 2565  เวลา 13.00-15.00 น. มูลนิธิ สอวน. จะคัดเลือกผู้เข้าแข่งขันประมาณ 30 คน เข้าร่วมการอบรมความรู้และทักษะเชิงวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์ โดยนักเรียนที่ได้รับคัดเลือกจะต้องเข้าอบรมฯ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของเวลาการอบรมทั้งหมด 24 ชั่วโมง จึงจะมีสิทธิ์เป็นผู้แทนประเทศไทยในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 5 หลังจากนั้น มูลนิธิ สอวน. จะคัดเลือกผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 5 จำนวน 6 คน โดยลำดับที่ 1-4 เป็นผู้แทนประเทศไทยในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 20 และลำดับที่ 5 และ 6 เป็นผู้แทนสำรอง ทั้งนี้ ผู้แทนสำรองที่เข้าอบรมเข้มครบตามจำนวนชั่วโมงที่กำหนด จะมีสิทธิ์กลับมาแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 6 ต่อไป

ดูประกาศการการรับสมัครนักเรียนเพื่อคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขัน
ภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 20 ของสอวน. ได้ ที่นี่

คุณสมบัติผู้สมัคร

ผู้สมัครเข้าร่วมการแข่งขันต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้

  1. ต้องกำลังศึกษาอยู่ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าในสถานศึกษาในประเทศไทย หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาในประเทศไทยในปีการศึกษา 2565 และยังไม่เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา
  2. ต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปีบริบรูณ์ ณ วันที่ 30 เดือนมิถุนายน ปีที่แข่งขัน
  3. ต้องมีหนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักเรียนจากสถานศึกษา (ปพ.7) ในกรณีจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยครอบครัว สามารถขอใบรับรองจากเขตเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาแทนได้

ขั้นตอนการสมัครเข้าแข่งขัน

  1. ผู้สมัครชำระค่าสมัครสอบ 100 บาทต่อคน โดยฝากหรือโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย” เลขที่บัญชี 152-4-218367
  2. เมื่อชำระเงินเรียบร้อยแล้ว กรอกใบสมัครผ่าน google form ผู้สมัครต้องกรอกข้อมูลให้ถูกต้อง ครบถ้วน และแนบหลักฐานการชำระเงิน กรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ ให้บันทึกภาพหน้าจอที่ทำรายการสำเร็จแล้วเป็นหลักฐาน โดยให้เห็นเลขที่บัญชีที่โอนเข้า ยอดเงินที่โอนเข้า และวันเวลาที่ทำรายการให้ชัดเจน หากผู้สมัครส่งข้อมูลการสมัครมามากกว่าหนึ่งครั้ง จะใช้ข้อมูลที่ส่งมาครั้งล่าสุดเท่านั้น
  3. ส่งเอกสารประกอบการสมัครดังต่อไปนี้มาที่ “ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 254 ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร 10330” โดยเอกสารต้องประทับตราไปรษณีย์ภายในวันที่ 15 พฤศจิกายน 2565 เท่านั้น

3.1 สำเนาบัตรประชาชนหรือสำเนาหน้าแรกของหนังสือเดินทาง พร้อมรับรองสำเนา

3.2 สำเนาหนังสือรับรองสถานภาพการเป็นนักเรียนจากสถานศึกษา

กำหนดการ

ระยะเวลา กิจกรรม
15 ตุลาคม – 15 พฤศจิกายน 2565 รับสมัครผู้เข้าแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 ทางเว็บไซต์ ภอท.
1 ธันวาคม 2565 ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบทางเว็บไซต์ มูลนิธิ สอวน.

17 ธันวาคม 2565 18 ธันวาคม 2565

(13.00 – 15.00 น.)

แข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 3 สถานที่สอบตามที่ผู้สมัครเลือกไว้ในใบสมัคร
30 มกราคม 2566 ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบและมีสิทธิเข้าร่วมการอบรมความรู้และทักษะเชิงวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์ทางเว็บไซต์ มูลนิธิ สอวน.
เมษายน 2566 แข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 5 ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พฤษภาคม 2566 ประกาศรายชื่อผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 20 ทางเว็บไซต์ มูลนิธิ สอวน.

การติดต่อ

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทางอีเมล ling.olympiad.thailand@gmail.com

Posted by Admin

ข้อมูลกติกาการแข่งขัน ภอท. ครั้งที่ 2

ขณะนี้คณะกรรมการจัดการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 ได้ส่งรายละเอียดและกติกาการแข่งขันไปยังอีเมลที่ผู้สมัครได้แจ้งไว้แล้ว หากท่านยังไม่ได้รับอีเมล กรุณาติดต่อ ling.olympiad.thailand@gmail.com ภายในวันศุกร์ที่ 28 มกราคม 2565 เวลา 16.00 น.

Posted by Admin

ประกาศรหัสประจำตัวผู้มีสิทธิสอบการแข่งขัน ภอท. ครั้งที่ 2

ขณะนี้คณะกรรมการจัดการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทยครั้งที่ 2 ได้ประกาศรหัสประจำตัวผู้มีสิทธิ์สอบไปยังอีเมลที่ผู้สมัครได้แจ้งไว้แล้ว หากท่านยังไม่ได้รับอีเมล กรุณาติดต่อ ling.olympiad.thailand@gmail.com ภายในวันพุธที่ 26 มกราคม 16.00 น.

Posted by Admin

การรับสมัครนักเรียนเข้าแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทยครั้งที่ 2 เพื่อคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ครั้งที่ 19

คุณสมบัติของผู้มีสิทธิสมัครสอบ

เป็นผู้ที่กำลังศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่าที่ศึกษาในประเทศไทย หรือเป็นผู้สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หรือเทียบเท่าจากสถานศึกษาในประเทศไทยในปีการศึกษา 2564 ทั้งนี้ผู้สมัครสอบต้องมีอายุไม่เกิน 20 ปีในวันที่แข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ (25-29 กรกฎาคม 2565) ผู้สมัครสามารถสมัครสอบเป็นรายบุคคลได้ ไม่จำเป็นต้องสมัครในนามโรงเรียน

Requirements

All contestants must currently be studying at high school level, or equivalent, in Thailand or must have graduated from an institution of secondary education, or equivalent, in Thailand in the 2021 academic year. Contestants must still be 20 years old or younger by the time the International Linguistics Olympiad comes around (25-29 July 2021). Contestants need not have discussed their entry with their school and can register independently.


รายละเอียดการสอบ

การแข่งขัน ภอท. ครั้งที่ 2 ในปี 2565 นี้ จะจัดขึ้นออนไลน์ ในวันที่ 29 มกราคม 2565 ผู้ที่สอบได้คะแนนสูงสุดในการแข่งขันประมาณ 20 คน จะเป็นผู้ผ่านเข้ารอบไปเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก (Asia Pacific Linguistics Olympiad หรือ APLO) ซึ่งเป็นการแข่งขันในระดับภูมิภาค การแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก ปี 2022 จะจัดขึ้นออนไลน์ ในวันที่ 10 เมษายน 2565 หลังจากนั้น คณะกรรมการจัดการแข่งขันภอท. ครั้งที่ 2 จะคัดเลือกผู้ที่ได้คะแนนสูงสุดในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก ปี 2022 จำนวน 4 คน เป็นตัวแทนประเทศไทยในการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ปี 2022 ซึ่งจะจัดขึ้นที่ Isle of Man ระหว่างวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2565

ผู้ผ่านการคัดเลือกในการสอบ ภอท. ครั้งที่ 2 จะต้องเข้าร่วมการอบรมเตรียมความพร้อมตามที่คณะกรรมการจัดการแข่งขันกำหนด จึงจะมีสิทธิ์ได้เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกเอเชียแปซิฟิก ครั้งที่ 4 และภาษาศาสตร์โอลิมปิกระดับนานาชาติ ครั้งที่ 19 กำหนดการเกี่ยวกับการอบรมจะแจ้งให้ทราบภายหลัง

Examination

The 2nd Thailand Linguistics Olympiad in 2022 will be held online on 29 January 2022. Approximately 20 contestants with the highest scores from the first round will be invited to compete in the Asia Pacific Linguistics Olympiad (APLO), a regional linguistics olympiad, representing Thailand. The Asia Pacific Linguistics Olympiad 2022 will take place online on 10 April 2022. Approximately 4 contestants with the highest scores from the Asia Pacific Linguistics Olympiad will be invited to represent Thailand in the International Linguistics Olympiad 2022 taking place at the Isle of Man on 25-29 July 2022.

Those who pass the exam must attend the training sessions as determined by the committee to be eligible to represent Thailand in the Asia Pacific Linguistics Olympiad 2022  and the International Linguistics Olympiad 2022. The training schedule will be announced later.


กำหนดการ
วันที่กิจกรรมช่องทาง
13 ธ.ค. 64 – 19 ม.ค. 65รับสมัครhttp://www.arts.chula.ac.th/ling/lot2022/
24 ม.ค. 65ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิสอบทางอีเมลที่ผู้สมัครแจ้งไว้
29 ม.ค. 65การสอบ ภอท. ครั้งที่ 2ออนไลน์
14 ก.พ. 65ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการสอบ และมีสิทธิ์เข้าร่วมการอบรมทางอีเมลที่ผู้สมัครแจ้งไว้ และ http://www.arts.chula.ac.th/ling/lot2022/
4-8 เม.ย. 65การอบรมความรู้และทักษะเชิงวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์จะแจ้งภายหลัง

สมัครสอบ ทีนี่

Schedule

DateEventPlatform
13 Dec 2021 – 19 Jan 2022Online applicationhttp://www.arts.chula.ac.th/ling/lot2022/
24 Jan 2022Announcement of the list of eligible candidatese-mail
29 Jan 2022The 2nd Thailand Linguistics Olympiadonline
14 Feb 2022Announcement of the exam resultsE-mail and http://www.arts.chula.ac.th/ling/lot2022/
4-8 Apr 65Training sessionsTBD

Sign up Here


คณะกรรมการจัดการแข่งขัน ภอท. ครั้งที่ 2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีราภรณ์ รติธรรมกุล — ประธาน, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองศาสตราจารย์ ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ — ประธานร่วม, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนันท์ จันทร์เจ้าฉาย — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวดี สายสุวรรณ — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์ — จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

​Our Organising Team

Theeraporn Ratitamkul, PhD — Chair, Chulalongkorn University
Pittayawat Pittayaporn, PhD — Co-Chair, Chulalongkorn University
Wirote Aroonmanakun, PhD — Chulalongkorn University
Nattanun Chanchaochai, PhD — Chulalongkorn University
Pavadee Saisuwan, PhD — Chulalongkorn University
Sujinat Jitwiriyanont, PhD — Chulalongkorn University
Attapol Thamrongrattanarit, PhD — Chulalongkorn University


คณะกรรมการข้อสอบ ภอท. ครั้งที่ 2

คณาจารย์วิชาภาษาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยต่อไปนี้มาร่วมเป็นกรรมการข้อสอบ (เรียงตามตัวอักษร)

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มหาวิทยาลัยมหิดล
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

The 2nd LOT examination Committee

Linguistic faculties from the following universities serve as an examination committee (in Thai alphabetical order).

  • Chulalongkorn University
  • Kasetsart University
  • Thammasat University
  • Naresuan University
  • Mahidol University
  • Srinakharinwirot University
Posted by Admin

Logo

ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย

ตราสัญลักษณ์ประจำการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทยมีองค์ประกอบหลัก 3 องค์ประกอบ ได้แก่ ภาพนามธรรมของศิลาโรเซตตา (Rosetta Stone) อักษรย่อภาษาอังกฤษ LOT และอักษรย่อภาษาไทย ภอท.

ศิลาโรเซตตา จารขึ้นโดยใช้อักขระสามชนิด คือใช้อักขระไฮโรกลิฟิก (Hieroglyphic) และอักขระดิมอติก (Demotic) เพื่อจารภาษาอียิปต์ และใช้อักขระกรีกเพื่อจารภาษากรีก เมื่อมีการค้นพบศิลาโรเซตตานั้น ยังไม่มีผู้ใดอ่านอักขระไฮโรกลิฟิกได้ แต่เพราะการจารเนื้อความเดียวกันในสองภาษาด้วยอักขระสามชนิดจึงทำให้สามารถถอดรหัสอักขระไฮโรกลิฟิกได้

การแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกในต่างประเทศมักมีโจทย์ปัญหาประเภทศิลาโรเซตตามาให้ผู้เข้าแข่งขันแก้อยู่เสมอ โจทย์ปัญหาประเภทศิลาโรเซตตาคือโจทย์ปัญหาสองภาษา ภาษาหนึ่งเป็นภาษา (หรือระบบสัญลักษณ์ที่คล้ายภาษา) ที่ผู้แก้โจทย์ไม่ทราบ และอีกภาษาหนึ่งคือภาษาแม่ของผู้แก้โจทย์ (“Solverese”) โจทย์ประเภทนี้อาจให้ผู้แก้โจทย์แปลภาษาหนึ่งเป็นอีกภาษาหนึ่ง หรือแก้โจทย์อื่นๆ เกี่ยวกับภาษาที่ผู้แก้โจทย์ไม่ทราบ

ในส่วนของตัวย่อภาษาอังกฤษของการแข่งขันภาษาศาสตร์โอลิมปิกแห่งประเทศไทย แม้ว่าชื่อการแข่งขันภาษาอังกฤษจะเป็น Thailand Linguistics Olympiad แต่การย่อชื่อการแข่งขันภาษาอังกฤษ ย่อด้วย LOT เพื่อสื่อถึงการลำดับคำตามภาษาไทย สังเกตได้จากตราสัญลักษณ์ที่วาง L O และ T อยู่ในตำแหน่งเดียวกับ ภ อ และ ท ตามลำดับ

นอกจากนี้ที่ตัวอักษรย่อภาษาไทย ภอท. ยังมีสัญลักษณ์ที่เป็นเส้นโค้งและเส้นตรงกำกับ สัญลักษณ์ดังกล่าวสะท้อนภาพอวัยวะที่ใช้ในการผลิตเสียงเชิงสัทศาสตร์ของแต่ละอักษร ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากการออกแบบสัญลักษณ์แทนเสียงที่เรียกว่า วจนะที่มองเห็น (visible speech) สัญลักษณ์ทั้งสามที่กำกับอักษรย่อภาษาไทย ภอท. แสดงอวัยวะที่ใช้ในการผลิตเสียงที่แตกต่างกันคือ <ภ> /pʰ/ ริมฝีปาก <อ> /ʔ/ เส้นเสียง และ <ท> /tʰ/ ปลายลิ้นที่ไปแตะปุ่มเหงือก ตามลำดับ

Posted by Admin