สื่อสารงานวิชาการ ของ ศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔

ในแวดวงวิชาการด้านภาษาไทย ศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา นับเป็นปราชญ์ผู้หนึ่งซึ่งมีความรู้เป็นเลิศ นอกจากนี้ท่านยังเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาตระกูลไท ภาษาโบราณตะวันออก รวมทั้งคติชนวิทยาอีกด้วย ตลอดชีวิตนักวิชาการ ท่านได้สร้างสรรค์ผลงานประเภทหนังสือ ตำรา และหนังสืออ้างอิงไว้เป็นจำนวนมาก ผลงานหลายเรื่องแม้จะเผยแพร่มาเป็นเวลานานแล้ว แต่ก็ยังใช้ศึกษาอ้างอิงแม้กระทั่งปัจจุบัน อาทิ ลักษณะภาษาไทย  ภาษาต่างประเทศในภาษาไทย  พจนานุกรมเขมร-ไทย ฉบับทุนพระยาอนุมานราชธน กาเลหม่านไตในรัฐชานเป็นต้น

นอกเหนือจากผลงานวิชาการเหล่านี้ ศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา ยังได้เขียนบทความวิชาการหลายเรื่องในวารสารภาษาและวรรณคดีไทยและวารสารอักษรศาสตร์บทความเหล่านี้นำเสนอสาระทางวิชาการด้วยลีลาภาษาที่อ่านสนุกมีอรรถรส และเข้าใจได้ไม่ยาก ผู้อ่านจึงได้รับทั้งความรู้และความเพลิดเพลินในขณะเดียวกัน เนื่องในโอกาสวันภาษาไทยแห่งชาติ ๒๙ กรกฎาคม ๒๕๖๔ และ ๑๐๑ ปีชาตกาลของศาสตราจารย์ ดร.คุณบรรจบ พันธุเมธา ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยขอนำบทความดังกล่าวมาเผยแพร่ เพื่อรำลึกถึงคุณูปการของท่านที่มีต่อวงวิชาการภาษาไทย และเพื่อเผยแพร่ความรู้ที่ท่านได้ศึกษาค้นคว้าไว้ให้ผู้สนใจได้ศึกษาต่อไป 


—

ปัญหาเรื่องการอ่านที่สัมพันธ์กับการเขียน (๒๕๓๘)

ที่มา บรรจบ พันธุเมธา. บัญชรลายคราม: ปัญหาเรื่องการอ่านที่สัมพันธ์กับการเขียน. ภาษาและวรรณคดีไทย ๑๒, ๑-๒ (มิถุนายน-ธันวาคม ๒๕๓๘): ๑๒๓-๑๓๒.


—เสียง ว ควบ (๒๕๓๕)

ที่มา: บรรจบ พันธุเมธา. บัญชรลายคราม: เสียง ว ควบ. ภาษาและวรรณคดีไทย ๙, ๑ (พฤษภาคม ๒๕๓๕) : ๗๗-๗๙.


จริง-ทำไมจึงมี ร (๒๕๒๙)

ที่มา: บรรจบ พันธุเมธา. จริง-ทำไมจึงมี ร. ภาษาและวรรณคดีไทย ๓, ๓ (ธันวาคม ๒๕๒๙): ๒๒-๒๓.


คำไทย-คำถิ่น: หนูไหน่ (๒๕๒๗)

ที่มา: บรรจบ พันธุเมธา. คำไทย-คำถิ่น: หนูไหน่. ภาษาและวรรณคดีไทย ๑, ๓ (ธันวาคม ๒๕๒๗): ๗๔-๗๕.


อาหารการกิน: กินข้าวกินผัก (๒๕๓๑)

ที่มา: บรรจบ พันธุเมธา. อาหารการกิน: กินข้าวกินผัก. อักษรศาสตร์ ๒๐, ๑ (มกราคม ๒๕๓๑): ๔๘-๖๐.

Facebook
Twitter