ตัวอย่างหัวข้อวิจัยของคณาจารย์สายวรรณคดีไทย (หลักสูตรบัณฑิตศึกษา)


หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มีคณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านวรรณคดีไทยซึ่งมีผลงานวิจัยจากหลากหลายแนวทาง ทั้งวรรณคดีโบราณ วรรณกรรมปัจจุบัน ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ วรรณคดีพุทธศาสนา วรรณคดีกับศิลปะและสื่อแขนงต่าง ๆ วรรณคดีท้องถิ่น วรรณคดีไทยกับวรรณคดีของประเทศใกล้เคียง วรรณคดีกับภาษาและการแปล การศึกษาวรรณคดีไทยโดยประเภท ดังตัวอย่าง

งานวิจัยด้านวรรณคดีโบราณ 

  • ดาหลังฉบับ “ทรงแปลงแต่งใหม่”: การดัดแปลงเรื่องดาหลังและวรรณศิลป์ในฐานะนิทานคำกลอน
  • อิเหนาวิวิธ: รวมบทความว่าด้วยเรื่องอิเหนาฉบับแปลกใหม่
  • ศิลปะแห่งผ้า วรรณศิลป์แห่งรัก: ความสำคัญของผ้าในเสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน
  • ลิลิตกระบวนพยุหยาตราสถลมารคและชลมารค: จากพระราชพิธีสู่วรรณคดีเฉลิมพระเกียรติ


วรรณกรรมปัจจุบัน ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ และสื่อศึกษา

  • “เกียวโตซ่อนกลิ่น”: มิติของน้ำท่ามกลางความ (ไม่) หลากหลายทางวัฒนธรรม
  • ทฤษฎีผัสสารมณ์ (affect theory) กับการศึกษาวรรณกรรม
  • กลับอีสาน: ภาพฝันอันหลอกหลอนและความรุนแรงของมหานครในภาพยนตร์เรื่องคืนพระจันทร์เต็มดวงและลุงบุญมีระลึกชาติ
  • Framing the Universe: Cosmography and “the Discourse on the Frame” in Traiphum Phra Ruang


วรรณคดีพุทธศาสนา

  • ชาดกกับวัฒนธรรมวรรณศิลป์ไทย
  • ทศชาติชาดก: “ศรัทธา” กับ “ปัญญา” สู่มรรคาแห่งการหลุดพ้น
  • วิถีโลก-วิถีโพธิสัตว์/พุทธศาสนา-มิจฉาวาทะ: ถกเถียงเรื่องคุณค่าในทศชาติชาดก
  • Pali Literary Texts as Alankāra Treatises for Thai Poets: A Case Study of the Vessantara Jātaka


วรรณคดีกับศิลปะและสื่อแขนงต่าง ๆ

  • โคลงภาพเรื่องรามเกียรติ์ วัดพระเชตุพน: ลักษณะเด่นด้านศิลปะการประพันธ์ในฐานะวรรณคดีประกอบทัศนศิลป์
  • บทละครรำเรื่องอิเหนา ตอนดะระสาแบหลา พระนิพนธ์พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์: การ “ปรุงบท” และคุณค่า
  • ความสำคัญของ “สหศิลป์” ในวรรณคดีพระราชนิพนธ์รัชกาลที่ 2
  • The Silent Prince: จากมหานิบาตชาดกสู่มหาอุปรากร


วรรณคดีท้องถิ่น

  • ความขัดแย้งและการประนีประนอมในตำนานปรัมปราไทย
  • สรรนิทานพื้นบ้านสู่นวัตกรรมทางดนตรีและการแสดง: การศึกษาทางคติชนเพื่อสืบสร้างสายสัมพันธ์ไทย-คาสี
  • พลวัตของการเล่นสักวาในสังคมไทย
  • สวดพระมาลัย: บทบาทของคีตกรรมหลังความตายต่อวรรณกรรมและสังคม


วรรณคดีไทยกับวรรณคดีของประเทศใกล้เคียง

  • ภาพตัวแทนของไทยในวรรณกรรมกัมพูชาช่วงต้นสมัยอาณานิคม
  • อิเหนา: จากพระเอกในนิทานปันหยีสู่พระเอกในวรรณคดีไทย
  • เรื่องอินเหนาฉบับลาว: ความสัมพันธ์กับเรื่องอิเหนาฉบับไทย และลักษณะเด่นในฐานะวรรณคดีลาว
  • ปากกาและปราการ: นิตยสารไผ่หนามกับสังคมวิทยาของวรรณกรรมลาวสมัยใหม่


วรรณคดีกับภาษาและการแปล

  • จาก พระบาฬี สู่ สิลิษฐพจนคำสยาม: พระอัจฉริยภาพของเจ้าฟ้าธรรมธิเบศรในการแปลนันโทปนันทสูตรคำหลวง
  • คชศัพท์ในภาษาไทยที่มาจากภาษาเขมร
  • ลมหายใจใหม่ของบทกวีจ่าง แซ่ตั้ง จากบทกวีชุดคำซ้ำสู่เรื่องสั้นและความเรียงร่วมสมัย


การศึกษาวรรณคดีไทยโดยประเภท 

  • ความฝันและจินตนาการในรำพันพิลาป: สุนทรภู่กับการประกอบสร้าง “เรื่องเล่า” ในวรรณคดีประเภทนิราศ
  • ความซับซ้อนเรื่องประเภทกับข้อถกเถียงเรื่องความเป็น “นิราศ”
  • ลิลิตอิเหนา: การศึกษาเชิงประวัติและลักษณะเด่นทางวรรณศิลป์ในฐานะวรรณคดีลิลิต


ผู้สนใจสามารถติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ใน คลังความรู้ ภาควิชาภาษาไทย (https://www.arts.chula.ac.th/thai/thaiarchives/)

ภาควิชาภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ เปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง) ทั้งในสายภาษาไทย วรรณคดีไทย และคติชนวิทยา ปีการศึกษา 2566 
รับสมัคร 1 กุมภาพันธ์ 2566 – 31 มีนาคม 2566 ทางเว็บไซต์บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
https://www.grad.chula.ac.th

ดูรายละเอียดหลักสูตรได้ที่เว็บไซต์ภาควิชาภาษาไทย หัวข้อ “หลักสูตรบัณฑิตศึกษา”
https://www.arts.chula.ac.th/thai/

Facebook
Twitter