คำสันนิษฐานในภาษาไทยที่มีมูลรากเป็นคำภาษาเขมร

วิทยานิพนธ์เรื่อง คำสันนิษฐานในภาษาไทยที่มีมูลรากเป็นคำภาษาเขมร วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล (2502)

ภาษาไทยมีคำภาษาเขมรปะปนอยู่มาก ดังปรากฏในคำทั่วไป ในคำราชาศัพท์ รวมทั้งในวรรณคดี

วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตของศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.กาญจนา นาคสกุล (2502) เป็นงานวิจัยที่บุกเบิกการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคำภาษาไทยกับคำภาษาเขมร ซึ่งต้องอาศัยความรู้ทางนิรุกติศาสตร์ การทำความเข้าใจลักษณะของภาษาเขมร การสอบสวนคำในภาษาไทยถิ่นต่างๆ การสอบเทียบกับคำภาษามอญซึ่งสัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาษาเขมร ประกอบกับความรู้ประวัติศาสตร์

ผลการศึกษาทำให้ได้หลักการพิจารณาคำสันนิษฐานของไทยที่มีมูลรากเป็นคำภาษาเขมร ทำให้พบที่มาว่าคำใดเป็นคำที่ภาษาไทยรับมาจากภาษาเขมร และคำใดภาษาเขมรน่าจะรับไปจากไทย อย่างไรก็ตาม ยังมีคำจำนวนมากที่ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดว่ามีมูลรากเป็นคำภาษาใดแน่ เพราะไม่อาจค้นหาหลักฐานในภาษาดั้งเดิมมายืนยันได้

การศึกษานี้แสดงให้เห็นระเบียบวิธีวิจัยและการนำเสนอผลการศึกษาอย่างเที่ยงตรง รวมทั้งการใช้วรรณคดีเป็นกลุ่มข้อมูลในการวิจัย ถึงแม้จะไม่สามารถตอบข้อสงสัยให้กระจ่างได้ทั้งหมด แต่ก็ได้ข้อสรุปและข้อสังเกตที่เป็นประโยชน์ยิ่งต่อการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาษาและวรรณคดีไทยกับเขมรต่อมา

อ่านวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ได้ ที่นี่

Facebook
Twitter