พระราชนิพนธ์รวมเรื่อง ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์

พระราชนิพนธ์รวมเรื่อง ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ รวมบทพระราชนิพนธ์ (พ.ศ.2510-2520) เป็นรวมบทพระราชนิพนธ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.2510-2520 ทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เช่นเรื่อง บิดา ฉันชอบอ่านหนังสือ ชนพูพาน Le pas de mon pere, Ombre mysterieuse เป็นต้น เฉลิมพระเกียรติ และ รวมพระราชนิพนธ์ (พ.ศ.2510-2520) ธนาคารกรุงเทพ จำกัด จัดพิมพ์เนื่องในวโรกาสวันพระราชสมภพ 2 เมษายน 2521 รวมบทพระราชนิพนธ์ ทั้งร้อยแก้ว ร้อยกรองภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ บทพระราชนิพนธ์ทางวิชาการและบทเพลงพระราชนิพนธ์ ที่ได้ทรงนิพนธ์ไว้ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ รวมทั้งพระบรมฉายาลักษณ์และภาพถ่ายเอกสารต่าง ๆ อันเนื่องด้วยพระราชพิธีสถาปนาพระราชอิสริยยศและพระราชอิสริยศักดิ์ บทพระราชนิพนธ์ ได้แก่ ว่าด้วยสำเภาในการเทศน์มหาชาติ พุทธศาสนสุภาษิตคำโคลง ฉันชอบอ่านหนังสือ Le temps qui passe ห้องสมุดในทัศนะของข้าพเจ้า เป็นต้น มณีพลอยร้อยแสง อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่น […]

พระราชนิพนธ์แปล

พระราชนิพนธ์แปล ผีเสื้อ       เป็นเรื่องสั้นที่บันทึกความเปลี่ยนแปลงของสังคมจีนในช่วงการปฏิวัติ วัฒนธรรม ค.ศ.1966-1969 แสดงให้เห็นผลกระทบทาง การเมืองต่อชีวิตมนุษย์ในสังคม สะท้อนให้เห็นปัญหาพื้นฐานของมนุษย์และผสมผสานอุดมคติกับความเป็นจริงใน ชีวิต ผู้เขียนพยายามแสดงให้เห็นว่า สังคมและมนุษย์มีความสลับซับซ้อน การปฏิวัติสังคมและการสร้างสรรค์สิ่งดีงามเพื่อส่วนรวม จึงมิใช่จะสำเร็จได้เพียงเพราะมีความปรารถนา อุดมคติหรือทฤษฎีทางการเมือง หากต้องใช้ปัญญาพินิจตนเอง พิจารณาสังคมอย่างละเอียดจึงจะสามารถแก้ไขปัญหา และสร้างสรรค์ประโยชน์อันแท้จริงได้สำเร็จ หยกใสร่ายคำ        เป็นพระราชนิพนธ์แปลบทกวีจีน โดยได้คัดเลือกบทพระราชนิพนธ์แปลจำนวน 34 บท ที่เห็นว่าเป็นพื้นฐานสำคัญของความรู้เกี่ยวกับบทกวีจีนโบราณมาพิมพ์เผยแพร่ มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อให้นักศึกษาวิชาวรรณคดีจีนได้ใช้เป็นหนังสือประกอบ การศึกษา และมีโอกาสได้ชื่นชมพระบารมีอีกด้วย เมฆเหินน้ำไหล เป็นวรรณกรรมจีนร่วมสมัยที่สะท้อนภาพความเปลี่ยนแปลงของสังคมจีนปัจจุบัน เป็นผลสืบเนื่องจากการพัฒนาประเทศให้เป็นสังคมนิยมที่ทันสมัย ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นทำให้ชาวจีนมีความขัดแย้งกัน ในด้านทัศนคติ ความเชื่อ ค่านิยม และจริยธรรม ความขัดแย้งดังกล่าว สะท้อนให้เห็นถึงการปรับตัวของชาวจีนรุ่นเก่าให้เข้ากับกระแส ความเปลี่ยนแปลง ซึ่งมีทั้งผู้ที่ปรับตัวได้และผู้ที่ล้มเหลว จุดเน้นของเรื่องอยู่ที่ สังคมปัญญาชน ซึ่งวรรณกรรมเรื่องนี้จะสะท้อนภาพสังคมปัญญาชนจีนปัจจุบัน แต่สาระที่สื่อก็มีความเป็นสากลที่อาจเป็นตัวแทนของหลายสังคมได้       เมฆเหินน้ำไหล ช่วยแสดงให้เห็นสัจธรรมของชีวิตว่า ความเปลี่ยนแปลงเป็นธรรมดาของชีวิต เหมือนเมฆที่ลอยเหิน และน้ำที่ไหลริน ไม่มีสิ่งใดสามารถบังคับควบคุมได้ ความฝัน ความฝันเป็นพระราชนิพนธ์แปลจากบทละครวิทยุของ กุนเทอร์ ไอช์ […]

พระราชนิพนธ์วรรรกรรมสำหรับเด็ก

พระราชนิพนธ์วรรรกรรมสำหรับเด็ก แก้วจอมแก่น กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2540. ทรง ใช้พระนามแฝง ‘แว่นแก้ว’ ทรงเล่าว่า “เรื่องแก้วจอมแก่น เขียนตอนเรียนปริญญาโทที่จุฬาฯ กำลังทำวิทยานิพนธ์ พอเบื่อ ๆ ก็เขียนสักเรื่องแก้ฟุ้งซ่าน เป็นคนฟุ้งซ่าน ชอบคิดโน่นคิดนี่ ก็เลย…เออ…แทนที่จะคิดเฉย ๆ เขียนเป็นเรื่องดีกว่า จะได้ทำอะไรที่สร้างสรรค์และก็ได้หัวเราะ” – ปกหลัง       “มีเด็กและผู้ใหญ่อ่านกันมากพอสมควร มีผู้เขียนจดหมายมาติชมด้วย… บริษัทกันตนาวีดีโอนำไปทำเป็นละครโทรทัศน์ แต่เนื่องจากเรื่องของ แก้วจอมแก่น ตอนนั้นมีอยู่ไม่กี่ตอน ไม่พอกับการทำบทโทรทัศน์ ข้าพเจ้าจึงแต่งเพิ่มเติมอีก และได้รวมเล่มเป็นหนังสือให้ชื่อว่า แก้วจอมซน…” – พระราชนิพนธ์คำนำ แก้วจอมซน กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์, 2547. เป็น วรรณกรรมเยาวชนที่ได้พระราชนิพนธ์เป็นภาคต่อจากแก้วจอมแก่น ได้รับการยกย่อง และเผยแพร่อย่างกว้างขวางมาร่วม สองทศวรรษ อรรถรสของเรื่องราวอยู่ที่ความสนุกสนานและแฝงไปด้วยสาระครบถ้วน หากแต่ว่าคราวนี้แก้วโตขึ้น เรื่องราว เกร็ดความรู้และข้อคิดต่างๆ ก็เริ่มโตขึ้นด้วย       ที่ปรึกษาฝ่ายวัฒนธรรมของสถานทูตจีนในไทยแปลเรื่อง แก้วจอมแก่น […]

พระราชนิพนธ์บทกวี

พระราชนิพนธ์บทกวี ความคิดคำนึง พระราชนิพนธ์ระหว่าง พ.ศ.๒๕๑๔-๒๕๑๙ รวบรวมพระราชนิพนธ์บทร้อยกรองเป็นภาษาฝรั่งเศส และทรงประพันธ์เป็นภาษาไทยเทียบเคียงตามฉันทลักษณ์ผรั่งเศส จรัสศรี วัชราภัย ได้ถอดความเป็นภาษาอังกฤษ ทิพสุดาสุนทรเวช ถอดความเป็นภาษาเยรมัน มีคำแปลป็นภาษาจีน รวมบทพระราชนิพนธ์ ที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชนิพนธ์ระหว่าง พ.ศ.๒๕๑๔-๒๕๑๙ ขณะทรงศึกษาวิชาฝรั่งเศส ณโรงเรียนจิตรลดา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเกี่ยวกับธรรมชาติ สัตว์ พืช ดอกไม้ แมงมุม ดิน รุ่งอรุณ ฯลฯ บทกวีเหล่านี้สะท้อนทัศนคติที่ทรงชื่นชมธรรมชาติและเข้าใจความเป็นไปของโลก วรรณวาร เป็นสมุดบันทึก และ รวบรวมภาพจิตรกรรมฝีพระหัตถ์ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มีบทกลอน อยู่ภายใต้ภาพจิตรกรรม กาลเวลาที่ผ่านเลย พระราชนิพนธ์ร้อยกรองและเพลงไทยพระราชนิพนธ์ 60 บท ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งได้จัดแบ่งเป็น 6 กลุ่ม คือ บทร้อยกรองที่มีแก่นเรื่องหลากหลาย 20 บท, บทร้อยกรองอวยพรวันวิสาขบูชา 8 บท, บทร้อยกรองอวยพรวันปีใหม่ 3 […]

พระราชนิพนธ์บันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ

พระราชนิพนธ์บันทึกการเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ ทวีปเอเชีย กัมพูชา เขมรสามยก พ.ศ.2535-2536 เสด็จฯ เยือนประเทศกัมพูชา รวม 3 ครั้ง ดังนี้ ครั้งที่ (1) วันที่ 25 – 27 สิงหาคม 2535ครั้งที่ (2) วันที่ 8 มกราคม 2536ครั้งที่ (3) 12 – 18 มกราคม 2536 ครั้งที่ (1) วันที่ 25 – 27 สิงหาคม 2535เสด็จพระราชดำเนิน ประทับเรือนรับรองจัมกามอน กรุงพนมเปญ ทอดพระเนตรพระราชวังหลวง วัดพระแก้ว พระที่นั่งเขมรินทร์ ทอดพระเนตรพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ โบราณสถาน เมืองอุดงค์ หอสมุดแห่งชาติ และเสด็จฯ กลับประเทศไทย ครั้งที่ (2) วันที่ 8 มกราคม 2536เสด็จพระราชดำเนินโดยเรือรบหลวงกระบุรี […]

พระราชนิพนธ์วิทยานิพนธ์ วิชาการ บทความ

พระราชนิพนธ์วิทยานิพนธ์ วิชาการ บทความ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลีและสันสกฤต ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2524 วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งศึกษาความเปลี่ยนแปลงทางความหมายของศัพท์ “บารมี” ด้วยวิธีการ 2 อย่าง คือ การศึกษาวิธีการประกอบคำศัพท์ และศึกษาคำศัพท์ที่อยู่ในคำแวดล้อม (Context) ทีปรากฎในคัมภีร์ จารึกพบที่ปราสาทพนมรุ้ง วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาจารึกภาษาตะวันออก มหาวิทยาลัยศิลปากร มุ่งศึกษาจารึกและศิลปะของปราสาท เพื่อจะได้ข้อมูลที่จะช่วยคลี่คลายปัญา และได้เรื่องราวที่น่าสนใจด้านอื่นๆ เช่น ประวัติ อายุการสร้างปราสาท ศาสาของผู้สร้างศาสนสถาน เรื่องราวของชุมชนที่อยู่บริเวณโดยรอบ ความสัมพันธ์ของชุมชนในอดีตต่อปราสาทและต่อชุมชนในปัจจุบัน ในการวิจัย เจาะลึกเพียงด้านจารึก ส่วนประวัติศาสตร์ศิลปะศึกษาเพียงสังเขป เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจถึงเรื่องราวและมองเห็นความสำคัญของปราสาท การพัฒนานวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทยสำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร วิทยานิพนธ์นี้ มุ่งเสนอนวัตกรรมเสริมทักษะการเรียนการสอนภาษาไทย สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อใช้ประกอบการเรียนการสอนให้เกิดผลดี ช่วยให้ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดและประสบการณ์ของตนแก่ผู้อื่น และสามารถเข้าใจความรู้สึกและประสบการณ์ของผู้อื่นได้ ซึ่งจะสร้างความต้องการค้นคว้า ความใฝ่รู้อันเป็นประโยชน์ในการสร้างความคิดที่จะใช้พัฒนาชาติ บ้านเมืองต่อไปได้ […]