Student Research

Rethinking Thailand (In)justice System with Hannah Arendt

5th Arts Undergraduate Humanities Symposium

Thailand’s justice system has been in question especially since “the election” under the National Council for Peace and Order (NCPO) regime in 2019 where some Thais deemed “unfair.” In fact, it is not in decline only in the time of junta, but it has been corrupted and lived on social inequality for decades. With the lens of Hannah Arendt’s concept of “Thinking/Willing” and “Banality of Evil” on slice of prisoners’ life as illustrated in All They Could Do to Us by Prontip Munkhong and observations from the current spikes of political lawsuits, they shed light on how the system has been in decline from the lack of “thinking faculty” and in the state of “thoughtlessness.” To illustrate, this essay will use Hannah Arendt’s concept to elaborate on how law practitioners–police officers, lawyers, prosecutors, judges—are incapable of thinking beyond what the law has written and superior orders, thereby not realizing repercussions from their decision. Then it will reveal how the system drives “the prisoners” into the “stateless people” by depriving them of the basic rights to live both in prison and their life afterwards. Even if there is an attempt to implement restorative justice in Thailand, it cannot successfully reintegrate prisoners to the society when the practitioners fail to “rethink” beyond the rigid system, compliance with superior orders and law textbooks.

The Diachronic Study of European Portuguese /ɾ/: an Evidence from the Acoustics Analysis

5th Arts Undergraduate Humanities Symposium

Some studies reveal that the non-uvular rhotic in European Portuguese (EP), phonologically represented
as a tap /ɾ/, possesses a rich variety of phonetic realizations Despite its normative status however, the attested
realizations are mostly not a tap, although hypothetically, the tap must have originally been the major phonetic
realization whose occurrence decreased at the emergence of other variants. Nevertheless, no studies emphasize
the diachronic variation of this phoneme. This research thus asks: how did the phonological distribution change
diachronically? As well as what were the acoustic properties of the EP tap? This study investigated the diachronic
variation of the EP rhotic through analyzing its acoustic characteristics from speech recordings of two different
periods, 1952 and 1980. With specific objectives, three acoustic properties are concerned: 1) Intensity ratio, for
the identification of the degree of constriction change 2) NHR (Noise-to-Harmonic Ratio), for the identification
of the fricative quality of each variant 3) Duration of obstruction, for testing the prolongability of a consonant.
This study revealed four phonetic realizations: 1) Tap 2) Fricativized tap 3) Fricative 4) Approximant. The finding
suggests that the phonological distribution and the frequency of each variant did not change prominently. Instead,
the acoustic characteristics showed a gradual change during these 30 years. The major trend of change for the four
variants of EP rhotic during 1950s-1980s is revealed to be a shift towards the fricative with slightly different
acoustic characteristic from the one in 1950s which can be considered as a compromising variant between fricative
and approximant. This study is one of a few examples of how the variation of a diachronic change is investigated
and the process of sound changes is provided through the attested gradual change in each acoustic characteristic.

The Class of Bangkok”: Social Classes as a Force for Bangkok Urban Development and Urban Planning

5th Arts Undergraduate Humanities Symposium

Social class, one of the most dominant keys for societal development, as inherits in either cultural practices or cultural landscapes, which include the urban landscape. Therefore, every city in the world is developed upon differences in social class, as clearly shown in urban planning, including Bangkok. This paper explains, in terms of the urban expansion and the urban planning through historical and urban-geographical approaches, the relationship of how urban-social-class structure influences Bangkok urban development to be one of the most chaotic city in urban planning and creates many problems around. However, social class in Thai society seems to be ambiguously divided. This paper will divide social class into three main groups, based on their power in socio-economic dominances, job occupations and educations: the upper class, the middle class and the lower class. Based on evidence from historical contents, household incomes, land-used statistics, street names and others that relate, it is found that social class plays a dominant role in urban planning and development. This paper will provide a chronology of Bangkok evolution, starting from the early Bangkok period, the modernisation period, the industrialisation period and the post-industrialisation period, through the theory of “Third World City” characteristics, land speculation by the upper class, and the industrialisation process. They all together caused chaotic in urban planning such as the “Bangkok Super Block” problem and the “Urban Sprawl” phenomenon. In fact, only the upper class primarily created policies in urban development for their needs, but later they changed to serve for the middle class due to their great consuming power, leaving out the lower group at the societal margin. However, this paper only explains about Bangkok. If these relationships are used to analyse other cities, different results might be obtained.

Lingua Canora: an Acoustic Study of Contour Tones in Thai Based on Singing Voice

5th Arts Undergraduate Humanities Symposium

Several models have been proposed concerning the acoustic nature oflexical tones, one of which being the Segmental Anchoring Hypothesis (SAH), in which tonal targets are “anchored” to specific segments, with variance in contour shape and duration. In exploration of this matter among contour tones in Thai, namely Rising and Falling tones, we have introduced musical variables and methods, as, despite the close relationship between music and language in several aspects, there has been little research in phonetics and phonology which has incorporated music as a means to help exhibit innate phonological knowledge through its constraining and accentuating power upon speech.

We composed two versions, i.e. ballad and pop-rock, of a song excerpt, controlling for musical pitch, rate/tempo, tone-melody parallel, note duration/syllabic stress, carrier syllable structure, tonal context and syllable environment, and overall naturalness in terms of a musical piece. Each test word and its preceding syllable was designed to bear pitch, with voiced onset and non-obstruent voiced coda segments, respectively, as well as long vowels as nuclei. The tonal environment, comprising phonologically level tones, namely Mid, Low, and High tones with respective offsets, and stimuli for contour tones have been integrated as a part of the lyrics provided to three native Thai-speaking female singers.

Our collected voice data indicate that tonal alignment is not affected by speech rate, supporting the notion of segmental anchoring, where contour tones are decomposable, with syllable as the tone­ bearing unit. No inter-speaker variations within the same set of environment  and stimuli were found, in part due to the rigidity of musical elements governing each phonetic realization; however, variations between different tonal contexts, even among identical stimuli, were present. Upon investigation, it was concluded that such phenomenon arises from the interaction between tonal offset-onset coarticulation and musical pitch, accounting for tonal and melodic distance. We anticipate that our research would contribute to a better understanding of the tone-bearing unit and decomposability of contour tones in Thai, along with how music could be utilized for unmasking the interwoven aspects of speech and language.

ปรับตัว ต่อรอง ยืนยัน : ฟ.ฮีแลร์กับการสร้างตัวตนคาทอลิกในประวัติศาสตร์ของชาติผ่านแบบเรียนดรุณศึกษา
(Adapt, Arrange, Affirm: F. Hilaire and the Creation of Catholic identity in Thai National History through Darunsuksa Textbook)

5th Arts Undergraduate Humanities Symposium

แบบเรียนดรุณศึกษาเป็นแบบเรียนภาษาไทยที่นับได้ว่าเป็นหนึ่งในแบบเรียนที่มีการใช้งานมาอย่างยาวนานเป็นอย่างยิ่ง หากเริ่มนับตั้งแต่ตีพิมพ์ครั้งแรกของดรุณศึกษาเล่มแรก แบบเรียนนี้ก็มีอายุร่วม 110 ปีแล้ว ภายในแบบเรียนดรุณศึกษามีแบบอ่านเขียนภาษาไทยและเรื่องสั้นฝึกอ่านสำหรับนักเรียน ความน่าสนใจของแบบเรียนนี้คือผู้แต่ง ผู้แต่งแบบเรียนนี้คือภราดาฟรองซัวส์ ตูแวเนต์ ฮีแลร์ (François TouvenetHilaire) หรือฟ.ฮีแลร์ เขาเป็นหนึ่งในห้าคณะภราดาเซนต์คาเบรียลจากประเทศฝรั่งเศสที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยเพื่อบริหารโรงเรียนอัสสัมชัญในปี พ.ศ. 2444 ฟ.ฮีแลร์เป็นผู้ที่เรียนภาษาไทยได้อย่างแตกฉานจนสามารถแต่งตำราเรียนและได้แต่งตำราเรียนดรุณศึกษาเล่มแรก ดรุณศึกษา ภาค กอ ขอ ออกมาในปี พ.ศ.2453 จากนั้นดรุณศึกษาเล่มที่สองและเล่มที่สาม ภาคกลางและภาคปลาย ได้ตีพิมพ์ออกมาในปี พ.ศ. 2463และ 2464 ตามลำดับ ความแตกต่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดระหว่างเล่มแรกกับอีกสองเล่มที่ตามมานั้น คือเรื่องสั้นอิงประวัติศาสตร์ไทยซึ่งไม่พบปรากฎในแบบเรียนเล่มแรก แต่พบในแบบเรียนสองเล่มหลัง

บทความนี้ศึกษาเรื่องสั้นอิงประวัติศาสตร์ไทยในแบบเรียนดรุณศึกษาโดยการจัดวางแบบเรียนนี้ในบริบททางประวัติศาสตร์ที่แบบเรียนนี้ถูกเขียนขึ้น บทความนี้เสนอว่าเรื่องสั้นอิงประวัติศาสตร์ไทยในแบบเรียนดรุณศึกษาเป็นความพยายามของฟ.ฮีแลร์ในการสร้างตัวตนของผู้นับถือศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกในประวัติศาสตร์ของชาติที่กำลังก่อตัวขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว ขณะเดียวกันก็เสนอว่าศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิกในฐานะศาสนาต่างชาติจะอยู่ร่วมกับสังคมไทยอย่างไร โดยอาศัยโครงเรื่องประวัติศาสตร์ของชาติโดยสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพและข้อมูลจากพระราชพงศาวดารที่ตีพิมพ์ออกมา ผสานเข้ากับข้อมูลจากเอกสารฝ่ายคาทอลิก การศึกษานี้ทำให้เห็นพลวัตในการปรับตัวของมิชชันนารีคาทอลิกในสามแง่มุมประการแรก การปรับตัวเข้าหาผู้มีอำนาจ ด้วยการเขียนประวัติศาสตร์เพื่อสนับสนุนสถาบันกษัตริย์และพลเมืองที่ดีตามอุดมการณ์ชาตินิยมของรัฐสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประการที่สอง การต่อรองสถานะของผู้นับถือคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิกในสังคมไทย ผ่านการประณามกษัตริย์ในอดีตที่เคยเบียดเบียนผู้นับถือคริสต์ศาสนาและเสนอวีรกรรมที่ผู้นับถือคริสต์ศาสนาเคยทำเพื่อชาติในอดีต และประการสุดท้าย การยืนยันความเหนือกว่าของคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก โดยมิได้วิพากษ์พระพุทธศาสนาโดยตรงแต่ใช้วิธีการกล่าวถึงข้อดีของคริสต์ศาสนาและการยกย่องคริสต์ศาสนาโดยกษัตริย์แทน แบบเรียนดรุณศึกษาจึงเป็นพื้นที่ในการเรียกร้องสถานะและบทบาทของคนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งให้โอบรับพวกเขาเข้าเป็นส่วนหนึ่งของรัฐชาติสมัยใหม่ที่กำลังก่อตัวขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว

การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์จักรวาลวิทยาในงานพุทธศิลป์ของชนชั้นนำไทยสมัยอยุธยาตอนปลายและรัตนโกสินทร์ตอนต้น

5th Arts Undergraduate Humanities Symposium

คติที่ถือเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาล นับเป็นคติจักรวาลวิทยาทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาพุทธที่ช่างในดินแดนประเทศไทยนำมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะอยู่บ่อยครั้ง เช่น งานสถาปัตยกรรม (พระมหาธาตุ พระเมรุมาศ) งานทัศนศิลป์ (จิตรกรรมฝาผนัง คติไตรภูมิ) และ งานประณีตศิลป์ (ผ้าม่านเขา พระสุเมรุของนางวันทอง) คติดังกล่าวนี้ได้รับการสืบทอดมาอย่างยาวนาน จนกระทั่งในสมัยอยุธยาตอนปลาย คติที่ถือเอาเขาพระสุเมรุเป็นศูนย์กลางของจักรวาลและเป็นองค์ประธานของวัดได้เสื่อมความนิยมลง แต่กลับ พบว่านับตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายเป็นเป็นต้นมาได้เกิดกระแสการนำ “คติมหาโพธิบัลลังก์” ซึ่งเป็นคติ จักรวาลวิทยาที่ปรากฏอยู่ในคัมภีร์พุทธศาสนาเข้ามาใช้ในการสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์มากขึ้น จนนำมาสู่ความ นิยมในการสร้างพระอุโบสถแทนที่การสร้างพระมหาธาตุที่อิงกับคติเขาพระสุเมรุมาแต่เดิม

การเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์คติจักรวาลวิทยาในการสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์ช่วงสมัยนี้สัมพันธ์อย่างยิ่งกับการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ของชนชั้นนำไทยสมัยอยุธยาตอนกลางและปลาย ที่เริ่มเห็นว่าคติจักรวาลวิทยาแบบมหาโพธิบัลลังก์สอดคล้องกับสภาพความจริงเชิงประจักษ์ในขณะนั้นมากกว่าที่จะอิงกับ “คติเขาพระ สุเมรุ” ซึ่งเป็นคติจักรวาลวิทยาที่ไม่สามารถอธิบายด้วยความจริงเชิงประจักษ์ได้มากนัก ทั้งนี้เป็นผลจากการ ติดต่อการค้าทางทะเลและความสัมพันธ์ทางการทูตในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๒๑ – ๒๓ ทำให้โลกทัศน์ทาง ภูมิศาสตร์ของชนชั้นนำไทยสมัยอยุธยาเริ่มเปลี่ยนไป ดังปรากฏการเดินทางของชนชั้นนำไทยสมัยอยุธยาที่ได้ พบเห็นดินแดนอื่น เช่น ยุโรป แอฟริกา ฯลฯ หรือ ความนิยมแผนที่โลกที่ชนชั้นนำไทยสมัยอยุธยานำมา ประดับไว้ที่บ้านเรือนตน ฯลฯ หลักฐานเหล่านี้ล้วนแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงโลกทัศน์ทางภูมิศาสตร์ของชนชั้นนำไทยในสมัยอยุธยาที่เริ่มเห็นที่ทางและภูมิศาสตร์ของตนว่าอยู่ ณ บริเวณใดของโลกกระทบโดยตรงต่อโลกทัศน์ทางจักรวาลวิทยาแบบเขาพระสุเมรุที่มีมาแต่เดิม เหตุนี้เองจึงทำให้ชนชั้นนำไทยสมัยอยุธยาเริ่มตระหนักถึงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ที่มาจากความจริงเชิงประจักษ์และเลือกที่จะเน้นคติจักรวาลวิทยาแบบมหาโพธิบัลลังก์ซึ่งสอดคล้องกับโลกทัศน์ทางภูมิศาสตร์ที่ใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากกว่าโลกทัศน์จักรวาลวิทยาแบบเขาพระสุเมรุจนนำมาสู่การสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์ที่อิงกับคติจักรวาลแบบมหาโพธิบัลลังก์มากขึ้น ดังปรากฏวัดหลายแห่งในสมัยอยุธยาตอนปลายและสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นเป็นหลักฐานจนถึงปัจจุบัน

การเข้ามาของกลุ่มทุนอินเดีย อดิตยา เบอร์ล่า (Aditya Birla)

5th Arts Undergraduate Humanities Symposium

งานวิจัยชิ้นนี้ศึกษาการเข้ามาลงทุนและการดำเนินการทางธุรกิจของกลุ่มอดิตยา เบอร์ล่า (Aditya Birla) ซึ่งเป็นกลุ่มทุนอินเดียในประเทศไทยในช่วงทศวรรษที่ 1970 (ราวพุทธศตวรรษที่ 2510) ผ่านการ อธิบายคำสัมภาษณ์ของผู้ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนของกลุ่มอดิตยา เบอร์ล่าในประเทศไทยให้เข้ากับข้อมูลที่ เผยแพร่โดยคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board Of Investment) อันเป็นบริบทแวดล้อม เพื่อสร้าง เรื่องราวประวัติศาสตร์ (Historical Narrative) ของกลุ่มทุนดังกล่าว โดยใช้บริษัทย่อย 3 บริษัทที่ก่อตั้งขึ้น ในช่วงทศวรรษดังกล่าวได้แก่ บริษัทอินโดไทยซินเทติคส์ บริษัทไทยเรยอน และบริษัทเบอร์ล่า คาร์บอน ใน การกำหนดขอบเขตของเรื่องราวที่เกิดขึ้น

จากการศึกษาพบว่า การที่กลุ่มอดิตยา เบอร์ล่า (Aditya Birla) เข้ามาลงทุนในประเทศไทยในช่วง ทศวรรษที่ 1970 นั้น ไม่ได้เกี่ยวข้องกับนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาลอินเดีย แต่เป็นเพราะเหตุผล เกี่ยวกับความใกล้ชิดทางวัฒนธรรมและปัจจัยทางเศรษฐกิจภายในของประเทศไทยคือการพัฒนาตัวเองเป็น ประเทศอุตสาหกรรม (Industrialization) โดยการส่งเสริมการลงทุนของภาคเอกชนทั้งในและนอกประเทศ เองต่างหากที่สามารถดึงดูดให้กลุ่มทุนดังกล่าวเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ในขณะเดียวกันกลุ่มทุนดึงกล่าวยัง ศึกษาบริบทเศรษฐกิจไทยเพื่อดำเนินกิจการที่สามารถตอบสนองเข้ากับความต้องการของประเทศไทยใน ช่วงเวลาดังกล่าวอีกด้วย โดยจะเห็นผ่านการลงทุนในกิจการ 3 บริษัทย่อยของกลุ่มทุนอดิตยา เบอร์ล่า คือ เส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยเรยอง และคาร์บอนแบล็คที่จะอธิบายพัฒนาการของประเทศไทยจากการปรับ โครงสร้างเศรษฐกิจเป็นประเทศอุตสาหกรรมและเป็นประเทศอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกตามลำดับ ดังนั้น การศึกษาเกี่ยวกับลงทุนของกลุ่มทุนอินเดียในประเทศไทยดังกล่าวนั้น จึงช่วยอธิบายบริบททางเศรษฐกิจของ ประเทศไทยในช่วงเวลาที่กำลังพัฒนาตัวเองเป็นประเทศอุตสาหกรรม และในขณะเดียวกันก็ยังสามารถขยาย ขอบเขตการศึกษาการเข้ามาของกลุ่มทุนอินเดียในไทยในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่โดยทั่วไปแล้วจะเริ่ม ศึกษาในช่วงทศวรรษที่ 1990 แต่จากการศึกษาดังกล่าวสามารถย้อนช่วงเวลาของการศึกษาขึ้นไปได้ถึง 20 ปี คือในช่วงทศวรรษที่ 1970 นั่นเอง

การขยายความหมายของคําว่า เก่ง ในภาษาไทย
(Semantic Extension of /kèŋ/ in Thai)

5th Arts Undergraduate Humanities Symposium

ปัจจุบัน คําว่า เก่ง ปรากฏในปริบททางวากยสัมพันธ์ที่หลากหลาย คําว่า เก่ง ที่ปรากฏในปริบททาง วากยสัมพันธ์ที่หลากหลายดังกล่าวแสดงนัยทางความหมายที่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีการศึกษาชิ้นใดที่ นําเสนอนัยทางความหมายและรูปแบบการขยายความหมายของคําว่า เก่ง โดยละเอียด บทความชิ้นนี้จึงมี วัตถุประสงค์เพื่อระบุความหมายทั้งหมดของคําว่า เก่ง ที่พบในภาษาไทยปัจจุบันพร้อมทั้งวิเคราะห์รูปแบบการ ขยายความหมายของคําดังกล่าวจากนัยทางความหมายดั้งเดิมสู่นัยทางความหมายต่างๆ ที่ระบุได้ในการศึกษาครั้ง นี้ผู้ศึกษาเก็บรวบรวมข้อมูลจากคลังข้อมูลภาษาไทยแห่งชาติในพระบรมราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีและจากทวิตเตอร์ในช่วงปี พ.ศ.2560 – พ.ศ.2562 ผลการศึกษาพบว่า คําว่า เก่ง มีนัยทาง ความหมายทั้งหมด 3 ความหมายดังนี้ 1.) กลุ่มความหมายแสดงสภาวะความรู้สึก ได้แก่ เก่ง ที่หมายถึง ‘กล้า’ 2.) กลุ่มความหมายแสดงความเชี่ยวชาญ ได้แก่ เก่ง ที่หมายถึง ‘เชี่ยวชาญ’ และ 3.) กลุ่มความหมายแสดงความถี่ ได้แก่ เก่ง ที่หมายถึง ‘บ่อย’ ผู้วิจัยพบว่า การขยายความหมายของคําว่า เก่ง เริ่มจากการขยายความหมายจาก แวดวงทางความหมายที่แสดงสภาวะสู่แวดวงทางความหมายที่แสดงความเชี่ยวชาญและแวดวงทางความหมายที่ แสดงความถี่ตามลําดับด้วยกลไกทางปริชานนามนัย

อัตลักษณ์เควียร์แวมไพร์จากยุควิกตอเรียนสู่ปัจจุบันผ่านตัวละครแวมไพร์หญิง “Carmilla”
(Queer vampire identity from the Victorian era to the present through female vampire character “Carmilla”)

5th Arts Undergraduate Humanities Symposium

เว็บซีรีส์เรื่อง “Carmilla” (2014) ดัดแปลงมาจากนวนิยายเรื่อง Carmilla โดย Joseph Sheridan Le Fanu นวนิยายแนวกอธิกที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 1872 โดยตัวละครหลักของเรื่อง “Carmilla” (2014) เป็นแวม ไพร์หญิงเลสเบี้ยนที่อยู่ในยุคปัจจุบัน โดยบริบทและสถานที่เฉพาะอย่างมหาวิทยาลัยไซลาสในเรื่องทำให้ตัวละคร Carmilla ไม่ถือว่าเป็นภัยคุกคาม และสามารถแสดงอัตลักษณ์เควียร์แวมไพร์ได้อย่างไม่ถูกจำกัด ต่าง จากในนวนิยายต้นฉบับ Carmilla ที่อยู่ในยุควิกตอเรียน ซึ่งตัวละครแวมไพร์หญิงมีลักษณะเป็น “หญิงร้าย” ผู้มีความปรารถนาทางเพศอย่างแรงกล้า อีกทั้งยังมีลักษณะเป็นเลสเบี้ยน เนื่องจากลักษณะการดูดเลือด อันสื่อถึง oral sex หรือ queer sex จึงต้องถูกกำจัดเพื่อรักษาไว้ซึ่งบรรทัดฐานของสังคม ความแตกต่าง ของชะตากรรมตัวละครคาร์มิลลาในซีรีส์ Carmilla (2014) และนวนิยายต้นฉบับ Carmilla (1872) แสดงให้ เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของบริบทและค่านิยมในยุคปัจจุบันต่อเควียร์ ในนวนิยาย ต้นฉบับ Carmilla (1872) คาร์มิลลามีลักษณะเป็นแวมไพร์ผู้ล่อลวง (seductive) ล่อลวงเหยื่อหญิงสาวไร้เดียงสาอย่าง ลอร่าให้ตกหลุมรักเธอ ซึ่งผิดไปจากค่านิยมยุควิกตอเรียน ที่เคร่งครัดกับโครงสร้างทางสังคม โดยเฉพาะบทบาทของชายหญิง สุดท้ายคาร์มิลลาจึงถูกชายที่มียศศักดิ์กำจัดโดยการตอกลิ่มเข้าที่หัวใจ ตัด ศีรษะ และเผาร่าง ทว่าในซีรีส์ดัดแปลง “Carmilla” (2014) ตัวละครคาร์มิลลาแม้จะเป็นแวมไพร์แต่กลับมี ลักษณะเป็นเหยื่อ น่าเห็นอกเห็นใจ และรักกับลอร่าในตอนจบ แต่การยอมรับนี้อาจเป็นการยอมรับภายใต้ เงื่อนไข คือ ถูกจำกัดสถานที่อยู่เพียงภายในมหาวิทยาลัยไซลาส ซึ่งเป็นพื้นที่เควียร์ (queer space) เหมือนกับกลุ่มเควียร์ในปัจจุบันที่ได้รับการยอมรับแต่เป็นการยอมรับภายใต้เงื่อนไขว่าต้องอยู่ภายใน บรรทัดฐานของสังคม

เทียบไทยในนางนพมาศ: พิเคราะห์ยุคสมัยภาษาในตํารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์

5th Arts Undergraduate Humanities Symposium

เมื่อ “พระธรรม” คืออํานาจ : การปรับใช้พุทธศาสนสุภาษิตเพื่อปลูกฝังค่านิยมทางการเมืองในพระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิตในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

5th Arts Undergraduate Humanities Symposium

Faculty of Arts, Chulalongkorn University