สำนักงานวิทยทรัพยากร เปิดให้บริการช่วง 24/7 ในการสอบกลางภาค ประจำปีการศึกษา 1/2566

สำนักงานวิทยทรัพยากร เปิดให้บริการช่วง 24/7 การสอบกลางภาค ประจำปีการศึกษา 1/2566
เริ่ม 11 – 28 กันยายน 2566
 
  • หอสมุดกลาง
  • ชั้น 1 – 2: เปิดตลอด 24 ชั่วโมง
  • ชั้น 4 – 5: 08.00 – 24.00 น. (เสาร์ – อาทิตย์ เปิด 09.00 น.)
  • ชั้น 3 & 6: 08.00 – 19.00 น. (เสาร์ – อาทิตย์ 09.00 – 18.00 น.)*ชั้น 6 ปิดวันอาทิตย์
  • อาคารจามจุรี 9
  • ชั้น 1 เปิดตลอด 24 ชั่วโมง เปิดพื้นที่นั่งอ่านที่ชั้น 4-6 ถึงเที่ยงคืน
  • CUX @ จามจุรี 10
  • จันทร์ – อาทิตย์: 12.00 – 20.00 น.
 
ปล. ขอความร่วมมือนิสิตทุกท่านไม่สำรองที่นั่งนะคะ ขอบคุณค่ะ

ประชาสัมพันธ์การให้บริการยืมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop)

ประชาสัมพันธ์การให้บริการยืมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop)
.
โดยนิสิตที่สามารถยืมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาได้จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
  1. เป็นนิสิตทุกชั้นปีที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือนิสิตทั่วไปที่ไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน
  2. เป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษาปัจจุบัน
  3. รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตของคณะหรือผู้ที่รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตมอบหมายจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
  4. นิสิตที่ได้รับการอนุมัติสามารถไปรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาได้ที่สํานักงานวิทยทรัพยากร (หอสมุดกลาง)
 
ทั้งนี้ นิสิตสามารถสมัครขอใช้บริการยืมฯ ผ่าน Application CU NEX ได้ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป

ประกาศคณะอักษรศาสตร์ เรื่อง รายนามผู้ได้รับรางวัลคะแนนยอดเยี่ยมเสื้อครุยคณะ และผู้ได้รับเหรียญรางวัล หลักสูตรปริญญาบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2565

ขอแสดงความยินดีกับนิสิตผู้ได้รับรางวัลคะแนนยอดเยี่ยมเสื้อครุยคณะ และผู้ได้รับเหรียญรางวัล หลักสูตรปริญญาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565

นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมใจปลูกป่าที่ จ.น่าน

โครงการจุฬาฯ สามัคคี ฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน จ.น่าน เมื่อวันที่ 26 – 29 กรกฎาคม 2566 ณ พื้นที่สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต.ไหล่น่าน อ.เวียงสา จ.น่าน
.
การปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนที่ จ.น่านในครั้งนี้ เป็นการปลูกป่าโดยใช้ 3 วิธีการคือ
  1. การใช้กล้าไม้ที่มีราเอคโตไมคอร์ไรซา ซึ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มอัตราการรอดของต้นไม้ โดยราเอคโตไมคอร์ไรซาจะสร้างดอกเห็ด สามารถนำไปบริโภคและเป็นแหล่งรายได้ของชาวบ้าน
  2. ใช้ไบโอพอลิเมอร์ชีวภาพ (Biopolymer) ช่วยในการอุ้มน้ำ ชะลอการระเหยของน้ำพอลิเมอร์ชีวภาพที่ผสมกับดินที่ใช้ปลูก จะช่วยอุ้มน้ำเพื่อชะลอการไหลและช่วยเก็บรักษาน้ำ แร่ธาตุและสารอาหารไว้ในบริเวณที่มีการปลูกต้นไม้
  3. การปลูกป่าไล่ระดับ และการปลูกป่าแบบมิยาวากิ (Miyawaki Method) ซึ่งคิดค้นโดย Prof.Dr.Akira Miyawaki ทำให้สภาพป่าฟื้นตัวได้เร็วกว่าการปลูกแบบดั้งเดิม
 
การปลูกต้นไม้ให้อะไรมากกว่าที่คิด เป็นที่ทราบกันดีว่าต้นไม้ช่วยผลิตออกซิเจน ประโยชน์ของต้นไม้ยังช่วยดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศ ช่วยดูดซับความร้อนจากบรรยากาศและช่วยให้อุณหภูมิลดลง นอกจากนี้ต้นไม้ยังมีศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย
โครงการปลูกป่าโดยนิสิตจุฬาฯ ณ พื้นที่สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน จุฬาฯ ต.ไหล่น่าน อ.เวียงสา จ.น่าน ในครั้งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ปลูกจิตสำนึกของนิสิตจุฬาฯ ในการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าในจังหวัดน่านซึ่งประสบปัญหาป่าเสื่อมโทรม ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ป่าน่านอุดมสมบูรณ์และสร้างความยั่งยืนสืบไป

GenEd Fair 2023 Learning with GenEd: Unlock The Limits to Create Your Own Future

GenEd Fair 2023 Learning with GenEd: Unlock The Limits to Create Your Own Future
ระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม 2566
เวลา 10:00-16:00 น.
ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬา ฯ


ภายในงานพบกับ 
  • ข้อมูลการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอน GenEd ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566
  • แนะนำรายวิชา GenEd สำหรับนิสิต
  • แนะนำแพลตฟอร์มออนไลน์ CU Neuron
  • บูธต่าง ๆ จากหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
  • แขกรับเชิญสุดพิเศษ
  • กิจกรรม GenEd Talks & CUVIP Workshops
  • รายวิชา GenEd ที่สามารถรับนิสิตเพิ่มได้
  • ของรางวัลพิเศษมากมาย
สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.fair.gened.chula.ac.th

กิจกรรมต้อนรับนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2566

กิจกรรมต้อนรับนิสิตใหม่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปีการศึกษา 2566
วันที่ 3 สิงหาคม 2566 ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Starts from 03 สิงหาคม 2566 to 03 สิงหาคม 2566
Register on 15 กรกฎาคม 2566 until 02 สิงหาคม 2566
 
ลงทะเยีนได้ที่
ณ หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
 
กำหนดการกิจกรรมต้อนรับนิสิตใหม่ ปีการศึกษา 2566
รอบที่ 1
  • 9.00-9.30 น. นิสิตเข้าหอประชุมจุฬาฯ
  • 9.30 น. เริ่มกิจกรรม
– วีดิทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัย และวีดิทัศน์ท่านอธิการกล่าวต้อนรับนิสิตใหม่
– นิสิตใหม่ร่วมปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– พิธีกรพิเศษกล่าวต้อนรับนิสิตใหม่
– ละครเวทีแนะนำสถานที่และบริการที่สนับสนุนด้านการเรียนและการใช้ชีวิต
ในมหาวิทยาลัย จากคณะนิเทศศาสตร์
– การขับร้องบทเพลงมหาวิทยาลัยและบทเพลงพิเศษโดย CU Chorus
– บทเพลงมหาจุฬาลงกรณ์
  • 10.30 น. นิสิตรายแถวออกจากหอประชุมเพื่อรับของที่ระลึก
 
รอบที่ 2
  • 11.00 – 11.30 น. นิสิตเข้าหอประชุมจุฬาฯ
  • 11.30 น. เริ่มกิจกรรม
– วีดิทัศน์แนะนำมหาวิทยาลัย และวีดิทัศน์ท่านอธิการกล่าวต้อนรับนิสิตใหม่
– นิสิตใหม่ร่วมปฏิญาณตนเป็นนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
– พิธีกรพิเศษกล่าวต้อนรับนิสิตใหม่
– ละครเวทีแนะนำสถานที่และบริการที่สนับสนุนด้านการเรียนและการใช้ชีวิต
ในมหาวิทยาลัย จากคณะนิเทศศาสตร์
– การขับร้องบทเพลงมหาวิทยาลัยและบทเพลงพิเศษโดย CU Chorus
– บทเพลงมหาจุฬาลงกรณ์
  • 12.30 น. นิสิตรายแถวออกจากหอประชุมเพื่อรับของที่ระลึก
 
การแต่งกาย
นิสิตแต่งกายด้วยชุดนิสิตหรือชุดสุภา

การลงทะเบียนเรียนรายวิชาการศึกษาทั่วไป สำหรับนิสิตคณะอักษรศาสตร์

การลงทะเบียนเรียนรายวิชาการศึกษาทั่วไป สำหรับนิสิตคณะอักษรศาสตร์ตามที่มหาวิทยาลัยมีนโยบายปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาศึกษาทั่วไป ตั้งแต่ปีการศึกษา 2566 เป็นต้นไป นิสิตระดับปริญญาตรีทุกชั้นปีสามารถเลือกลงทะเบียนเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปที่เป็นรหัสของคณะที่นิสิตสังกัตได้แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขของคณะที่นิสิตสังกัดนั้นข้อกำหนดการลงทะเบียนเรียนรายวิชาการศึกษาทั่วไป สำหรับนิสิต คณะอักษรศาสตร์ รายละเอียดดังนี้

https://drive.google.com/file/d/1x3oY7droNV_63v9Jc6n3pgpDRqBFX2Ko/view?usp=drivesdk






รับสมัครทุนโครงการนำร่องส่งเสริมความรู้พื้นฐานวิชาบริหารธุรกิจ การเงิน และบัญชี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566

รับสมัครทุนโครงการนำร่องส่งเสริมความรู้พื้นฐานวิชาบริหารธุรกิจ การเงิน และบัญชี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566 จำนวน 10 ทุน ทุนละ 5,000 บาท ซึ่งได้รับการสนับสนุนโดย บริษัท เอ็กซอนโมบิล จำกัด (ExxonMobil Limited)

ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ เปิดรับสมัคร ตำแหน่ง Content Creator 5 คน

ถ้าคุณ คือ นิสิตป.ตรี จุฬาฯ ที่มีไอเดียสร้างสรรค์ และชอบเล่น/ส่อง TikTok 📱🎤
ศูนย์สื่อสารองค์กร จุฬาฯ เปิดรับสมัคร ตำแหน่ง Content Creator 5 คน*
มาร่วมสร้างสรรค์ Chula TikTok และสื่อประชาสัมพันธ์ของจุฬาฯ กัน
📌เริ่มปฏิบัติงาน ก.ค. – ก.ย. 66
*งานนี้มีค่าตอบแทนรายชั่วโมงให้ด้วยนะ
ดูรายละเอียดและสมัครได้เลยที่ https://bit.ly/3NB1yzx
ตั้งแต่วันนี้ – 30 มิ.ย.66
👉 ดู Chula TikTok ที่ https://bit.ly/3XhcZQk
สอบถามเพิ่มเติมทักไลน์ @chulalongkorn.u ได้เลย

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ ทอดพระเนตรการแสดงโขนการกุศล ตอน “พระรามตามกวาง – ลักสีดา และตอนยกรบ” จัดโดย อ.บ. 41 ภาควิชาศิลปการละคร และงานกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ

เมื่อวันเสาร์ที่ 17 มิถุนายน 2566 เวลา 14.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประธานรุ่น อ.บ. 41 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ เพื่อทรงเป็นประธานในการแสดงรอบปฐมทัศน์การแสดงโขนการกุศล ตอนพระรามตามกวาง – ลักสีดา และตอนยกรบ” โดย คณะโขนนายพิเชษฐ ณ ศูนย์ศิลปการละครสดใส พันธุมโกมล อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
เนื่องในวาระครบรอบ 50 ปีที่อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่น 41 ได้เข้าศึกษาที่คณะอักษรศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2566 นี้ กองทุนอักษรศาสตรบัณฑิต รุ่น 41 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ งานกิจการนิสิต กลุ่มภารกิจงานบริการการศึกษา และภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดกิจกรรมเพื่อจัดหาเงินทุนการศึกษาให้แก่นิสิตอักษรศาสตร์ที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และประสบเหตุ โดยบริจาคให้กับเงินทุนอักษรศาสตร์ จุฬาฯ 100 ปี และมูลนิธิมหาจักรีสิรินธรเพื่อคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในกองทุนบรมราชกุมารีของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ
.
นอกจากการแสดงรอบปฐมทัศน์ เวลา 14.00 น. แล้ว ยังมีการแสดงในรอบปกติ เวลา 18.00 น. ด้วย
.
คณะอักษรศาสตร์ ขอกราบขอบพระคุณอักษรศาสตรบัณฑิต รุ่น 41 ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นอย่างสูง ที่ได้กรุณาจัดกิจกรรมดังกล่าวขึ้นเพื่อจัดหาทุนการศึกษาให้แก่นิสิตและสมทบทุนมูลนิธิมหาจักรีสิรินธรเพื่อคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ และขอกราบขอบพระคุณท่านผู้ชมการแสดงทุกท่านที่ได้มีส่วนร่วมในการระดมทุนเพื่อสนับสนุนการศึกษาของนิสิตและการดำเนินงานของคณะอักษรศาสตร์
Back to Top