นิราศคำโคลง: การวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับนิราศชนิดอื่น

นิราศคำโคลง: การวิเคราะห์และเปรียบเทียบกับนิราศชนิดอื่น
วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิต ของ ศาสตราจารย์ ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ (2516)


นิราศเป็นวรรณกรรมที่สำคัญอย่างยิ่งประเภทหนึ่งซึ่งมีพัฒนาการยาวนานทั้งในด้านรูปแบบและเนื้อหาตั้งแต่สมัยอยุธยากระทั่งถึงปัจจุบัน มีทั้งนิราศที่เน้นพรรณนาอารมณ์ความรู้สึกอันเกิดจากการพลัดพราก และนิราศที่เน้นพรรณนาการเดินทาง แต่งด้วยฉันทลักษณ์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นโคลง กาพย์ห่อโคลง และกลอน

วิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตของศาสตราจารย์ ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ (2516) มุ่งศึกษาพัฒนาการของ “นิราศคำโคลง” หรือนิราศที่แต่งด้วยโคลง ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้นจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ทำให้เห็นการสืบทอดขนบและอิทธิพลของนิราศคำโคลงเรื่องสำคัญในสมัยอยุธยา อาทิ ทวาทศมาสโคลงดั้นและกำสรวลโคลงดั้นที่มีต่อนิราศคำโคลงในสมัยหลัง ทั้งได้เปรียบเทียบนิราศคำโคลงกับนิราศที่แต่งด้วยฉันทลักษณ์อื่นๆ ในด้านเนื้อหาและกลวิธีทางวรรณศิลป์ เพื่อให้เห็นความแตกต่างและเห็นลักษณะสำคัญของนิราศคำโคลงอย่างเด่นชัดมากยิ่งขึ้น ตลอดจนเห็นอิทธิพลของนิราศคำโคลงที่มีต่อนิราศชนิดอื่นด้วย

นอกจากนี้ยังได้เปรียบเทียบนิราศกับวรรณกรรมต่างประเทศที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน อาทิ วรรณคดีสันสกฤตเรื่องเมฆทูตและฤตุสํหาร สะท้อนให้เห็นลักษณะร่วมหรือความเป็นสากลในการถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกลึกซึ้งภายในจิตใจ การพรรณนาความรัก และการคร่ำครวญเพราะการพลัดพรากผ่านการสร้างสรรค์วรรณคดี

อ่านวิทยานิพนธ์ฉบับเต็มได้ ที่นี่

Facebook
Twitter