พิธีมอบทุนการศึกษา the 51st Toyota Scholarship

คุณโนริอากิ ยามาชิตะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด พร้อมด้วย

คุณนินนาท ไชยธีรภิญโญ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ และคุณสุรภูมิ อุดมวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่

ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีมอบทุนการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2566 แก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ซึ่งเป็นการมอบทุนแก่นิสิตจุฬาฯ ต่อเนื่องปีที่ 51

โดยมีศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,

ผู้ช่วยอธิการบดี ดร.ชัยพร ภู่ประเสริฐ, รองศาสตราจารย์ ดร.ปกรณ์ วรานุศุภากุล ผู้ช่วยอธิการบดี

พร้อมคณาจารย์ และคณะผู้บริหารระดับสูง ร่วมแสดงความยินดี เมื่อวันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ 2567 ณ ห้องประชุม 202 อาคารจามจุรี 4

โดยมีนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ได้รับทุนการศึกษา จำนวน 2 ราย คือ
1. นางสาวพิมพ์ชนก บุญเนรมิตร นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
2. นางสาวพัชราวดี โพธา นิสิตชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น

และนายพศวีร์ ฐานบัญชา นิสิตชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น รับหน้าที่พิธีกรดำเนินพิธีการ

โครงการ 5 สายธารแห่งความดี “เราทำดีด้วยหัวใจ” 2567

เมื่อวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ กรรมการกิจการนิสิต และนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็นตัวแทนประชาคมอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ไปมอบเงินและสิ่งของบริจาค พร้อมทั้งเยี่ยมชมการดำเนินงานของสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี จ. ปทุมธานี และให้กำลังใจทั้งเจ้าหน้าที่และผู้รับบริการของสถานสงเคราะห์ รวมกับผู้แทนจากคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี และคณะเศรษฐศาสตร์ อันเป็นกิจกรรมในโครงการห้าสายธสรแห่งความดี เราทำดีด้วยหัวใจ ของสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
.
สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรีเป็นสถานที่ ๆ ให้ความช่วยเหลือคนไร้ที่พึ่งหญิงตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป ทั้งเรื่องปัจจัยสี่ อาหาร ที่พัก เครื่องใช้ที่จำเป็น การรักษาพยาบาลโดยเจ้าหน้าที่พยาบาล แพทย์ทางจิตเวชและผิวหนัง จัดทำทะเบียนประวัติ ติดต่อญาติ ให้คำปรึกษาแนะนำแก้ไขปัญหา ฟื้นฟูสภาพจิตใจ จัดทำกิจกรรมบำบัดผ่อนคลายความตึงเครียด เช่น งานหัตถกรรม ตัดเย็บ เสริมสวย และการเกษตรเพื่อให้ผู้สูงอายุมีกำลังใจและสามารถช่วยเหลือบุคคลอื่นได้ด้วย จำนวนผู้ที่อยู่ในความดูแลมีจำนวนทั้งสิ้น 438 คนต่อความดูแลของเจ้าหน้าที่ 38 คน
.
โดยมียอดเงินบริจาครวมทั้งสิ้น 91,910 บาท 
และสิ่งของบริจาค คือ 
1. น้ำยาปรับผ้านุ่มและน้ำยาซักผ้า 6 กล่อง

2. น้ำยาปรับผ้านุ่ม 2 แพ็ค และผ้าอ้อมผู้ใหญ่ 1 แพ็ค 
3. ข้าวสาร ถุงละ 5 กิโลกรัม จำนวน 2 ถุง 
4. น้ำยาปรับผ้านุ่มจำนวน 5 ลัง 
5. ชุดตรวจ ATK 500 ชุด 

ทั้งหมดนี้ ได้รับการสนับสนุนจากประชาคมอักษรศาสตร์และประชาชนทั่วไป 

งานกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ ขอขอบพระคุณผู้บริจาคทุกท่านมา ณ ที่นี้

ขอขอบพระคุณรูปภาพจากเพจ สถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหญิงธัญบุรี

ประกาศรับสมัครทุนอุดหนุนการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2-4 ประจำปีการศึกษา 2567 คณะอักษรศาสตร์

งานกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ เปิดรับสมัครทุนอุดหนุนการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 2-4 ประจำปีการศึกษา 2567 นิสิตที่มีความประสงค์สมัครทุนการศึกษาดังกล่าว สามารถสมัครได้ ผ่านการแสกน QR Code ที่ปรากฏในภาพสื่อประชาสัมพันธ์นี้ สมัครได้ ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ – 31 มีนาคม 2567 

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ e-mail : artschula.scholarship@gmail.com 



ค่ายอาสาพัฒนาชุมชน ยกระดับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 2566 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 19 – 24 ธันวาคม 2566 นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ร่วมกับ โรงเรียนบ้านตาดภูวง ต.คำบ่อ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร 

จัดโครงงาน “ค่ายอาสาพัฒนาชุมชน ยกระดับการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน”

Community Development Volunteer Camp, raising Education for Sustainable Development (ESD) 

ในปัจจุบันภาษาอังกฤษมีบทบาทสำคัญยิ่งต่อทุกคนในสังคม เพราะภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลางหนึ่งที่สากลโลกใช้เป็นเครื่องมือในการสื่อสารระหว่างกันโดยก้าวข้ามขีดจำกัดทางภาษาและวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน ทุกคนในสังคมจึงควรใช้ภาษาอังกฤษได้ในระดับขั้นพื้นฐานเป็นอย่างน้อย การจะทำให้ผู้เรียนเห็นถึงความสำคัญและเกิดความสนใจในการเรียนรู้ของภาษาอังกฤษ ผู้เรียนควรรู้สึกสนุกสนานและสงสัยใคร่รู้ ค่ายสอนที่จัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนจึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม

นอกจากนี้ พื้นที่บริเวณโรงเรียนบ้านตาดภูวง ต.คำบ่อ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร ที่จะไปทำการเรียนการสอนนั้นยังมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับจิตร ภูมิศักดิ์ นิสิตคณะอักษรศาสตร์ ผู้ถูกกล่าวหาว่าเป็นกลุ่มคอมมิวนิสต์และถูกลอบสังหารที่บ้านหนองกุง ต.คำบ่อ อ.วาริชภูมิ จ.สกลนคร อันนำไปสู่การเคลื่อนไหวในเหตุการณ์ 14 ตุลาฯ
ในเวลาต่อมา เนื่องจากชาวบ้านในพื้นที่มีความผูกพันกับจิตร ภูมิศักดิ์ ในฐานะสหายนักปราชญ์ เพื่อเป็นการส่งเสริมการศึกษาของนักเรียนในพื้นที่เสมือนการส่งเสริมความเป็นนักปราชญ์นี้ 

การนี้คณะอักษรศาสตร์และคณะกรรมการนิสิตอักษรศาสตร์ (ก.อศ.) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เห็นความสำคัญของการศึกษาและการรำลึกถึงบุคคลดังกล่าว จึงจัดโครงงานนี้เพื่อส่งเสริมการศึกษาของนักเรียนภายในพื้นที่ด้วยความรู้และประสบการณ์ของนิสิตอักษรศาสตร์ อีกทั้งยังเป็นการรำลึกถึงจิตร ภูมิศักดิ์ ผู้สร้างคุณูปการทางการศึกษาให้แก่ผู้คนเป็นวงกว้าง โดยมุ่งหวังให้การพัฒนาการศึกษาในครั้งนี้สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติด้วยเช่นกัน

งานชมอักษรฯ ประจำปีการศึกษา 2566

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 19 พฤศจิกายน 2566 งานกิจการนิสิต กลุ่มภารกิจงานบริการการศึกษา โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดังกมล  ณ ป้อมเพชร รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ได้จัดงาน “ชมอักษรฯ” (งานพบผู้ปกครองนิสิตใหม่) ประจำปีการศึกษา  2566 ขึ้น ในเวลา 8.30 – 12.00 น. ณ ห้อง  301 – 302  ชั้น 3 อาคารมหาจักรีสิรินธร  คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับคณะอักษรศาสตร์และแนะแนวทางการใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยของนิสิตใหม่ทุกคน รวมทั้งแนะนำหลักสูตรแต่ละสาขาวิชาให้ผู้ปกครองนิสิตใหม่ได้รับทราบถึงรายละเอียดของสาขาที่นิสิตในปกครองของตนศึกษา พร้อมชี้แจงกฎระเบียบและวินัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงสวัสดิการต่างๆ ที่นิสิตได้รับและได้มีการแนะนำหน่วยงานต่างๆ ภายในคณะฯ ภายในมหาวิทยาลัย ให้ผู้ปกครองและนิสิตใหม่ทราบ การจัดงานชมอักษรในปีการศึกษานี้ ได้รับการตอบรับและความสนใจจากผู้ปกครองเป็นอย่างมาก

โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ เป็นประธานในการเปิดโครงการ พร้อมกล่าวต้อนรับและกล่าวแสดงความยินดีกับผู้ปกครองนิสิตใหม่ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าศึกษาในปีการศึกษา 2566 ทั้งนี้ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรประภา ชวนะญาน, แนะนำหลักสูตรการเรียนการสอนในแต่ละสาขาวิชา และให้ข้อมูลแนวทางในการประกอบอาชีพหลังจากสำเร็จการศึกษา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ดังกมล  ณ ป้อมเพชร รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต ได้ขึ้นกล่าวแนะนำสิทธิประโยชน์ สวัสดิการนิสิต รางวัล การใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย ระเบียบวินัยนิสิตและการลงโทษนิสิตที่ผู้ปกครองควรทราบ และแนะนำคณะกรรมการนิสิตอักษรศาสตร์ (ก.อศ.) ปีการศึกษา 2566 ให้ผู้ปกครองทราบถึงแนวทางการจัดกิจกรรมในปีการศึกษา 2566

พร้อมกันนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกิจ พู่พวง ผู้ช่วยคณบดีคณะอักษรศาสตร์, อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต ในฐานะกรรมการคณะกรรมการกิจการนิสิตคณะอักษรศาสตร์  ได้ให้เกียรติเข้าร่วมงานชมอักษรครั้งนี้ด้วย

การขอเอกสารสำคัญทางการศึกษา

กรณีติดต่อขอเอกสารที่สำนักงานการทะเบียน
อาคารจามจุรี 6 (สนท.) ตั้งแต่เวลา 8:00 – 16:00 น. วันทำการ1. กรอกคำร้องขอใบรับรอง จท42 https://web.reg.chula.ac.th/form/jt42.pdf หรือจท42/1 https://web.reg.chula.ac.th/form/jt42-1.pdf แล้วกดคิวหมายเลข 4
– หากต้องการให้จัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์ ให้กรอกคำร้อง จท42/2 ด้วย https://web.reg.chula.ac.th/form/jt42-2.pdf2. เจ้าหน้าที่งานเอกสารฯ จะตรวจสอบ ชื่อ-นามสกุล เลขประจำตัวนิสิต เลขประจำตัวประชาชน/เลขพาสปอร์ต และสถานภาพนิสิต
– กรณีขอ CR30 ให้แนบสำเนาพาสปอร์ต/สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนด้วย3. ผู้รับบริการชำระค่าธรรมเนียมเอกสาร และค่าบริการจัดส่งทางไปรษณีย์ (ถ้ามี)4. กรณีรับเอกสารด้วยตนเอง ผู้รับบริการสามารถรอรับเอกสารได้ภายใน 30 นาที โดยต้องแสดงบัตรประจำตัวประชาชนนิสิต/บัตรประจำตัวประชาชน/พาสปอร์ตฉบับจริง เพื่อรับเอกสารที่เคาน์เตอร์หมายเลข 1 หรือมารับในวัน-เวลาอื่นที่สะดวก โดยไม่เกิน 60 วันนับจากวันที่ขอเอกสาร หากไม่ติดต่อรับภายใน 60 วัน สำนักงานการทะเบียนจะยกเลิกคำร้องและเอกสารดังกล่าว* กรณีมีแบบฟอร์มอื่นเพิ่มเติมให้สำนักงานการทะเบียนกรอกข้อมูล ลงนามรับรอง และปิดผนึกซอง เจ้าหน้าที่จะนัดหมายวันรับหรือวันจัดส่งเอกสารอีกครั้ง
* กรณีเป็นนิสิตเลขประจำตัว 7 หลัก จะได้รับเอกสารภายใน 2 วันทำการ*กรณีที่รีบใช้เอกสารฯ (เฉพาะ จท23,24,25,26 CR23,24,25,26) แนะนำให้ติดต่อขอและรอรับเอกสารได้ภายใน 30 นาที ที่สำนักงานการทะเบียน วันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 8:00-16:00 น. กรณีขอเอกสารฯ ทางเว็บไซต์1. บันทึกคำร้องออกเอกสารสำคัญฯที่ https://www5.reg.chula.ac.th/…/requ…/RequestDocEntry.jsp
– บันทึกเลขประจำตัวนิสิต และ เลขประจำตัวประชาชน
– บันทึกรหัสตัวอักษร 4 ตัว ที่ปรากฏบนหน้าจอ และกด New เพื่อเข้าสู่ระบบหน้าจอบันทึกคำร้อง
– บันทึกข้อมูล เลือกประเภทเอกสารที่ต้องการ กด Save และตรวจสอบรายการ
– กด Print เพื่อยืนยันคำขอ หน้าจอจะแจ้งรายการเอกสารและจำนวนเงินที่ต้องชำระ2. เมื่อนิสิตทำรายการและได้คำร้องแล้ว ระบบจะสร้าง QR Code และ Barcode สำหรับใช้ชำระเงินผ่าน Mobile Banking3. กรณีที่นิสิตเลือกติดต่อขอรับเอกสารด้วยตัวเอง สามารถติดต่อขอรับเอกสารได้ หลังจากสำนักงานการทะเบียนได้รับการชำระเงินแล้ว 1 วันทำการ หากไม่ติดต่อขอรับเอกสารภายใน 60 วัน นับจากวันที่ออกให้ คำร้องและเอกสารดังกล่าวจะถูกยกเลิก4. กรณีที่นิสิตเลือกให้ส่งเอกสารทางไปรษณีย์ สำนักงานการทะเบียนจะจัดส่งเอกสารที่ขอไว้ให้หลังจากได้รับการชำระเงินแล้ว 1 วันทำการ ข้อมูลเพิ่มเติม https://www.reg.chula.ac.th/…/academicdocu…/instruction/

รับสมัครทุนอุดหนุนการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย ประจำปีการศึกษา 2566

งานกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ เปิดรับสมัครทุนอุดหนุนการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย ประจำปีการศึกษา 2566 นิสิตที่มีความประสงค์สมัครทุนการศึกษาดังกล่าว สามารถสมัครได้ ผ่านการแสกน QR Code ที่ปรากฏในภาพสื่อประชาสัมพันธ์นี้ สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566

เอกสารการสมัคร

  1. คำรับรองฐานะความเป็นอยู่ครอบครัว พร้อมแนบสำเนาบัตรข้าราชการของผู้รับรอง
  2. ใบรายงานผลการศึกษาจนถึงภาคการศึกษาล่าสุด
  3. หนังสือรับรองจากอาจารย์ที่ปรึกษา
  4. รูปถ่ายสภาพบ้านและทรัพย์สินของครอบครัวผู้สมัครทุน
  5. สำเนาทะเบียนบ้านของนิสิตและผู้ปกครอง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  6. สำเนาบัตรประชาชนของนิสิต พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  7. สำเนาบัตรประชาชนของผู้ปกครอง พร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง
  8. หนังสือรับรองเงินเดือนของ บิดา มารดา ฯ (กรณีมีรายได้ประจำ)
  9. เอกสารอื่น ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา เช่น เอกสารหลักฐานการเป็นหนี้สินของครอบครัวหรือผู้ปกครอง, เอกสารการรักษาพยาบาล ใบรับรองแพทย์ ของคนในครอบครัว, ใบมรณะบัตร กรณี บิดา-มารดา เสียชีวิต

*นิสิตต้องลงนามรับรองสำเนาถูกต้อง ในเอกสารสำเนาทุกฉบับ

หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ e-mail : artschula.scholarship@gmail.com

สำนักงานวิทยทรัพยากร เปิดให้บริการช่วง 24/7 ในการสอบกลางภาค ประจำปีการศึกษา 1/2566

สำนักงานวิทยทรัพยากร เปิดให้บริการช่วง 24/7 การสอบกลางภาค ประจำปีการศึกษา 1/2566
เริ่ม 11 – 28 กันยายน 2566
 
  • หอสมุดกลาง
  • ชั้น 1 – 2: เปิดตลอด 24 ชั่วโมง
  • ชั้น 4 – 5: 08.00 – 24.00 น. (เสาร์ – อาทิตย์ เปิด 09.00 น.)
  • ชั้น 3 & 6: 08.00 – 19.00 น. (เสาร์ – อาทิตย์ 09.00 – 18.00 น.)*ชั้น 6 ปิดวันอาทิตย์
  • อาคารจามจุรี 9
  • ชั้น 1 เปิดตลอด 24 ชั่วโมง เปิดพื้นที่นั่งอ่านที่ชั้น 4-6 ถึงเที่ยงคืน
  • CUX @ จามจุรี 10
  • จันทร์ – อาทิตย์: 12.00 – 20.00 น.
 
ปล. ขอความร่วมมือนิสิตทุกท่านไม่สำรองที่นั่งนะคะ ขอบคุณค่ะ

ประชาสัมพันธ์การให้บริการยืมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop)

ประชาสัมพันธ์การให้บริการยืมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Laptop)
.
โดยนิสิตที่สามารถยืมเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาได้จะต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
  1. เป็นนิสิตทุกชั้นปีที่ขาดแคลนทุนทรัพย์หรือนิสิตทั่วไปที่ไม่มีอุปกรณ์ที่ใช้ในการเรียน
  2. เป็นนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนในปีการศึกษาปัจจุบัน
  3. รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตของคณะหรือผู้ที่รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิตมอบหมายจะเป็นผู้พิจารณาอนุมัติ
  4. นิสิตที่ได้รับการอนุมัติสามารถไปรับเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาได้ที่สํานักงานวิทยทรัพยากร (หอสมุดกลาง)
 
ทั้งนี้ นิสิตสามารถสมัครขอใช้บริการยืมฯ ผ่าน Application CU NEX ได้ตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม 2566 เป็นต้นไป

ประกาศคณะอักษรศาสตร์ เรื่อง รายนามผู้ได้รับรางวัลคะแนนยอดเยี่ยมเสื้อครุยคณะ และผู้ได้รับเหรียญรางวัล หลักสูตรปริญญาบัณฑิต ประจำปีการศึกษา 2565

ขอแสดงความยินดีกับนิสิตผู้ได้รับรางวัลคะแนนยอดเยี่ยมเสื้อครุยคณะ และผู้ได้รับเหรียญรางวัล หลักสูตรปริญญาบัณฑิต คณะอักษรศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2565

นิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมใจปลูกป่าที่ จ.น่าน

โครงการจุฬาฯ สามัคคี ฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืน จ.น่าน เมื่อวันที่ 26 – 29 กรกฎาคม 2566 ณ พื้นที่สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต.ไหล่น่าน อ.เวียงสา จ.น่าน
.
การปลูกป่าเพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศและพื้นที่สีเขียวอย่างยั่งยืนที่ จ.น่านในครั้งนี้ เป็นการปลูกป่าโดยใช้ 3 วิธีการคือ
  1. การใช้กล้าไม้ที่มีราเอคโตไมคอร์ไรซา ซึ่งส่งเสริมการเจริญเติบโตและเพิ่มอัตราการรอดของต้นไม้ โดยราเอคโตไมคอร์ไรซาจะสร้างดอกเห็ด สามารถนำไปบริโภคและเป็นแหล่งรายได้ของชาวบ้าน
  2. ใช้ไบโอพอลิเมอร์ชีวภาพ (Biopolymer) ช่วยในการอุ้มน้ำ ชะลอการระเหยของน้ำพอลิเมอร์ชีวภาพที่ผสมกับดินที่ใช้ปลูก จะช่วยอุ้มน้ำเพื่อชะลอการไหลและช่วยเก็บรักษาน้ำ แร่ธาตุและสารอาหารไว้ในบริเวณที่มีการปลูกต้นไม้
  3. การปลูกป่าไล่ระดับ และการปลูกป่าแบบมิยาวากิ (Miyawaki Method) ซึ่งคิดค้นโดย Prof.Dr.Akira Miyawaki ทำให้สภาพป่าฟื้นตัวได้เร็วกว่าการปลูกแบบดั้งเดิม
 
การปลูกต้นไม้ให้อะไรมากกว่าที่คิด เป็นที่ทราบกันดีว่าต้นไม้ช่วยผลิตออกซิเจน ประโยชน์ของต้นไม้ยังช่วยดักจับฝุ่นและมลพิษในอากาศ ช่วยดูดซับความร้อนจากบรรยากาศและช่วยให้อุณหภูมิลดลง นอกจากนี้ต้นไม้ยังมีศักยภาพในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อีกด้วย
โครงการปลูกป่าโดยนิสิตจุฬาฯ ณ พื้นที่สถานีวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยีไหล่น่าน จุฬาฯ ต.ไหล่น่าน อ.เวียงสา จ.น่าน ในครั้งนี้จึงเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ปลูกจิตสำนึกของนิสิตจุฬาฯ ในการบำเพ็ญประโยชน์ เพื่อฟื้นฟูระบบนิเวศของป่าในจังหวัดน่านซึ่งประสบปัญหาป่าเสื่อมโทรม ซึ่งจะมีส่วนช่วยเพิ่มพื้นที่สีเขียวให้ป่าน่านอุดมสมบูรณ์และสร้างความยั่งยืนสืบไป

GenEd Fair 2023 Learning with GenEd: Unlock The Limits to Create Your Own Future

GenEd Fair 2023 Learning with GenEd: Unlock The Limits to Create Your Own Future
ระหว่างวันที่ 10-11 สิงหาคม 2566
เวลา 10:00-16:00 น.
ณ ศาลาพระเกี้ยว จุฬา ฯ


ภายในงานพบกับ 
  • ข้อมูลการปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอน GenEd ภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2566
  • แนะนำรายวิชา GenEd สำหรับนิสิต
  • แนะนำแพลตฟอร์มออนไลน์ CU Neuron
  • บูธต่าง ๆ จากหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย
  • แขกรับเชิญสุดพิเศษ
  • กิจกรรม GenEd Talks & CUVIP Workshops
  • รายวิชา GenEd ที่สามารถรับนิสิตเพิ่มได้
  • ของรางวัลพิเศษมากมาย
สามารถติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ : http://www.fair.gened.chula.ac.th
Back to Top