หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลและการล่าม (สายการล่าม) (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2566
Master of Arts Program in Translation and Interpretation: Interpretation
โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร 36 หน่วยกิต
ระยะเวลาการศึกษาไม่ต่ำกว่า 2 ปี ไม่เกิน 4 ปีนับจากปีการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร
แผน ข (สายการล่าม)
จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 33 หน่วยกิต
รายวิชาบังคับ 30 หน่วยกิต
รายวิชาเลือก 3 หน่วยกิต
รายวิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
รายวิชา
แผน ข (สายการล่าม)
รายวิชาบังคับ (30 หน่วยกิต)
2241641 การล่ามพูดตามจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 1 3(2-2-8) |
2241642 การล่ามพูดตามจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 2 3(2-2-8) |
2241643 การล่ามพูดตามจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ 3(2-2-8) |
2241645 การล่ามพูดพร้อมจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ 3(2-2-8) |
2241646 การล่ามพูดพร้อมจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 1 3(2-2-8) |
2241661 วาทกรรมวิเคราะห์ในการล่าม 3(3-0-9) |
2241663 การล่ามจากเอกสาร 3(2-2-8) |
2241664 การล่ามในการประชุม 3(2-2-8) |
2241665 สัมมนาการล่าม 3(3-0-9) |
2241666 การล่ามพูดพร้อมจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 2 3(2-2-8) |
รายวิชาเลือก (3 หน่วยกิต) ให้เลือกจากรายวิชาต่อไปนี้
2241611 เอกัตศึกษา 3(0-12-0)
2241660 ทักษะและความรู้พื้นฐานสำหรับล่าม 3(2-2-8)
รายวิชาการค้นคว้าอิสระ 3 หน่วยกิต
2241711 สารนิพนธ์ 3(0-12-0)
แผนการศึกษา
แผน ข (สายการล่าม)
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น
2241641 การล่ามพูดตามจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 1 3 หน่วยกิต
2241646 การล่ามพูดพร้อมจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 1 3 หน่วยกิต
2241661 วาทกรรมวิเคราะห์ในการล่าม 3 หน่วยกิต
รวม 9 หน่วยกิต
ปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย
2241643 การล่ามพูดตามจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ 3 หน่วยกิต
2241645 การล่ามพูดพร้อมจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ 3 หน่วยกิต
2241660 ทักษะและความรู้พื้นฐานสำหรับล่าม 3 หน่วยกิต
รวม 9 หน่วยกิต
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น
2241642 การล่ามพูดตามจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 2 3 หน่วยกิต
2241665 สัมมนาการล่าม 3 หน่วยกิต
2241666 การล่ามพูดพร้อมจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 2 3 หน่วยกิต
รวม 9 หน่วยกิต
ปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย
2241664 การล่ามในการประชุม 3 หน่วยกิต
2241663 การล่ามจากเอกสาร 3 หน่วยกิต
2241711 สารนิพนธ์ 3 หน่วยกิต
2241896 สอบประมวลความรู้ S / U
รวม 9 หน่วยกิต
คำอธิบายรายวิชา
2241641 การล่ามพูดตามจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 1
หลักการ ขั้นตอน การฝึกทักษะการเป็นล่ามจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยสำหรับการเจรจาต่อรองระหว่างบุคคลทั่วไป การสัมภาษณ์ และการพูดในหัวข้อทั่วไป การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหา
2241642 การล่ามพูดตามจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 2
การฝึกทักษะการเป็นล่ามพูดตามจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย สำหรับเจรจาต่อรองระหว่างบุคคลสำคัญในด้านต่างๆ ในหัวข้อต่างๆ ที่มีเนื้อหาซับซ้อน การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหา
2241643 การล่ามพูดตามจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ
หลักการ ขั้นตอน และการฝึกทักษะการเป็นล่ามพูดตามจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ สำหรับการเจรจาต่อรองระหว่างบุคคลทั่วไป การสัมภาษณ์ และการพูดในหัวข้อทั่วไป การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหา
2241645 การล่ามพูดพร้อมจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ
หลักการ ขั้นตอน การฝึกทักษะการเป็นล่ามพูดพร้อมจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหา 2241646 การล่ามพูดพร้อมจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 1 หลักการ ขั้นตอน และทักษะการล่ามพูดพร้อมจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหา
2241661 วาทกรรมวิเคราะห์ในการล่าม
มโนทัศน์พื้นฐาน ทฤษฎี และวิธีวิทยาการทางวาทกรรมวิเคราะห์ การประยุกต์ใช้ในการล่าม การฝึกวิเคราะห์และปฏิบัติงานล่ามสำหรับวามกรรมการพูดในสถานการณ์ต่างๆ
2241663 การล่ามจากเอกสาร
หลักการ ขั้นตอน และการฝึกทักษะการล่ามจากเอกสาร การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหา
2241664 การล่ามในการประชุม
การฝึกใช้เทคนิคการล่ามต่างๆ ในการประชุมในสถานการณ์สมมุติ ฝึกปฏิบัติการประเมินคุณภาพผลงานของล่ามในการประชุม
2241665 สัมมนาการล่าม
การอภิปราย วิเคราะห์ และวิจารณ์งานล่ามที่คัดสรรมา แนวทางด้านทฤษฎีและวิธีการแปลแบบต่างๆ ประเด็นเกี่ยวกับศาสตร์การล่ามที่น่าสนใจในปัจจุบัน
2241666 การล่ามพูดพร้อมจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 2
การฝึกทักษะการเป็นล่ามพูดพร้อมจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยในหัวข้อที่มีความเฉพาะทางและมีเนื้อหาซับซ้อน การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหา
2241611 เอกัตศึกษา
การค้นคว้าในหัวข้อที่ผู้ศึกษาแต่ละคนสนใจเพื่อกำหนดประเด็นทางการแปล การนำเสนอและอภิปรายประเด็นดังกล่าว
2241660 ทักษะและความรู้พื้นฐานสำหรับล่าม
ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการล่าม การล่ามรูปแบบต่าง ๆ มาตรฐานการปฏิบัติงานและจรรยาบรรณ ทรัพยากรและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง ทักษะที่จำเป็นสำหรับล่าม
2241711 สารนิพนธ์
2241896 สอบประมวลความรู้
ระบบการศึกษา
ใช้ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิต เป็นระบบทวิภาค แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ ภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย เรียนทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์
ระยะเวลาการศึกษา
ไม่ต่ำกว่า 4 ภาคการศึกษา ไม่เกิน 8 ภาคการศึกษา นับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษา ในหลักสูตร นิสิตลงทะเบียนเรียนไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิตและไม่เกิน 15 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษา
การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา
การประเมิลผลรายวิชาใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D และ F ส่วนสารนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ใช้ ดีมาก ดี ผ่าน และตก
นิสิตหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลและการล่าม (สายการล่าม) จะต้องผ่านการฝึกงาน-ปฏิบัติงานล่ามการประชุม อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา
- สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและต้องมีความรู้ทางภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในระดับดีมาก
- คุณสมบัติอื่น ๆ เป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไปหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการแปลและการล่าม พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้
กำหนดการรับสมัคร
กำหนดการรับสมัครเป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป
หลักฐานที่ใช้ในการสมัคร
- ใบสมัคร
- สำเนาใบแสดงผลการศึกษาระดับปริญญาตรี 1 ชุด
- สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ 1 ชุด
- สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
- รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
- ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ CU-TEP, TOEFL หรือ IELTS อย่างใดอย่างหนึ่ง
– หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลและการล่าม (สายการล่าม): CU-TEP 91 คะแนนขึ้นไป TOEFL iBT 93 ขึ้นไป หรือ IELTS 7.0 ขึ้นไป
อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าเล่าเรียน
หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลและการล่าม (สายการล่าม)
ค่าเล่าเรียน |
25,500 (ชาวไทย) 88,700 (ชาวต่างประเทศ) |
บาท/ภาคการศึกษา |
ค่าธรรมเนียมการศึกษา | 89,000 | บาท/ภาคการศึกษา |
รวม |
114,500 (ชาวไทย) 177,700 (ชาวต่างประเทศ) |
บาท/ภาคการศึกษา |