อ.ม. สายการแปลและการล่าม (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2566

หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการแปลและการล่าม (สายการแปลและการล่าม) (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2566

Master of Arts Program in Translation and Interpretation: Translation and Interpretation

โครงสร้างหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                             36       หน่วยกิต

ระยะเวลาการศึกษาไม่ต่ำกว่า  2  ปี ไม่เกิน 4 ปีนับจากปีการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร

แผน ก แบบ ก 2 (สายการแปลและการล่าม)

จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน   24       หน่วยกิต

รายวิชาบังคับ                               15       หน่วยกิต

รายวิชาเลือก                                9        หน่วยกิต

จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์     12       หน่วยกิต

แผน ข (สายการแปลและการล่าม)

จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน     33       หน่วยกิต

รายวิชาบังคับ                                 15       หน่วยกิต

รายวิชาเลือก                                  18       หน่วยกิต

รายวิชาการค้นคว้าอิสระ               3        หน่วยกิต

รายวิชา รายวิชาบังคับ      (15 หน่วยกิต) แผน ก แบบ ก 2 (สายการแปลและการล่าม) และแผน ข (สายการแปลและการล่าม) ต้องเรียนรายวิชาบังคับ 15 หน่วยกิต
2241621 ศาสตร์การแปล 3(3-0-9)
2241624 ทักษะภาษาไทยสำหรับนักแปล 3(3-0-9)
2241631 การฝึกแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 3(2-2-8)
2241647 วาทกรรมวิเคราะห์ในการแปลและการล่าม 3(3-0-9)
2241648 สัมมนาการแปลและการล่าม 3(3-0-9)

รายวิชาเลือก      ให้เลือกจากรายวิชาต่อไปนี้ แผน ก แบบ ก 2 (สายการแปลและการล่าม) เรียนรายวิชาเลือกให้ครบ 9 หน่วยกิต แผน ข (สายการแปลและการล่าม) เรียนรายวิชาเลือกให้ครบ 18 หน่วยกิต

2241611 เอกัตศึกษา                                                                                   3(0-12-0)
2241623 ทรัพยากรการแปลและการทำประมวลศัพท์                                    3(3-0-9)
2241627  การแปลและวัฒนธรรมศึกษา                                                        3(3-0-9)
2241628  การแปลเพื่อการสื่อสารมวลชน                                                     3(2-2-8)
2241629   เทคโนโลยีการแปล                                                                     3(2-2-8)
2241632  การฝึกแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ                           3(2-2-8)
2241634  การแปลต้นฉบับสำหรับสื่อภาพและเสียง                                       3(2-2-8)
2241635  การแปลในงานธุรกิจ                                                                     3(2-2-8)
2241636  การแปลเอกสารกฎหมาย                                                              3(2-2-8)
2241637  การแปลงานวรรณกรรม                                                                 3(2-2-8)
2241639  การประเมินและบรรณาธิกรงานแปล                                               3(2-2-8)
2241640  เรื่องคัดเฉพาะในการแปล                                                              3(3-0-9)
2241641  การล่ามพูดตามจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 1                  3(2-2-8)
2241643  การล่ามพูดตามจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ                      3(2-2-8)
2241645  การล่ามพูดพร้อมจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ                    3(2-2-8)
2241646   การล่ามพูดพร้อมจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 1                3(2-2-8)
2241681  หลักเทศานุวัตน์เบื้องต้น                                                                 3(3-0-9)

 

วิทยานิพนธ์ (แผน ก แบบ ก2)    12 หน่วยกิต
2241811 วิทยานิพนธ์        12 (0-48-0)
รายวิชาการค้นคว้าอิสระ (แผน ข)    3 หน่วยกิต
2241711 สารนิพนธ์             3(0-12-0)

อนึ่ง นิสิตที่มีสิทธิ์สอบประมวลความรู้ นิสิตจะต้องลงทะเบียนเรียนรายวิชามาแล้วไม่น้อยกว่า 33 หน่วยกิต และต้องสอบผ่านรายวิชา 2241621 ศาสตร์การแปล โดยได้รับการประเมินผลไม่ต่ำกว่า C

แผนการศึกษา

แผน ก แบบ ก2 (สายการแปลและการล่าม)

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น

2241647  วาทกรรมวิเคราะห์ในการแปลและการล่าม                  3 หน่วยกิต

2241624  ทักษะภาษาไทยสำหรับนักแปล                                 3 หน่วยกิต

2241631  การฝึกแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย       3 หน่วยกิต

รวม               9 หน่วยกิต

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย

2241621  ศาสตร์การแปล                                                         3 หน่วยกิต

รายวิชาเลือก                                                                             6 หน่วยกิต

รวม               9 หน่วยกิต

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น

2241648  สัมมนาการแปลและการล่าม                                   3 หน่วยกิต

รายวิชาเลือก                                                                           3 หน่วยกิต

2241811  วิทยานิพนธ์                                                           3 หน่วยกิต

รวม               9 หน่วยกิต

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย

2241811   วิทยานิพนธ์                                                       9 หน่วยกิต

รวม               9 หน่วยกิต

 

แผน ข (สายการแปลและการล่าม)

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาต้น

2241647  วาทกรรมวิเคราะห์ในการแปลและการล่าม                  3 หน่วยกิต

2241624  ทักษะภาษาไทยสำหรับนักแปล                                 3 หน่วยกิต

2241631  การฝึกแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย        3 หน่วยกิต

รวม               9 หน่วยกิต

ปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย

2241621  ศาสตร์การแปล                                                        3 หน่วยกิต

รายวิชาเลือก                                                                             6 หน่วยกิต

รวม               9 หน่วยกิต

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาต้น

2241648  สัมมนาการแปลและการล่าม                                 3 หน่วยกิต

รายวิชาเลือก                                                                         6 หน่วยกิต

รวม               9 หน่วยกิต

ปีที่ 2 ภาคการศึกษาปลาย

รายวิชาเลือก                                                                        6 หน่วยกิต

2241711  สารนิพนธ์                                                           3 หน่ายกิต

2241896  สอบประมวลความรู้                                              S/U

รวม               9 หน่วยกิต

คำอธิบายรายวิชา

2241611        เอกัตศึกษา

การค้นคว้าในหัวข้อที่ผู้ศึกษาแต่ละคนสนใจเพื่อกำหนดประเด็นทางการแปล การนำเสนอและอภิปรายประเด็นดังกล่าว

2241621         ศาสตร์การแปล

กระบวนการ   บทแปล  และปรากฏการณ์ต่างๆในการแปล  ตามมิติภาษาศาสตร์  การสื่อสาร     ปริชานวิทยา  และสังคมวัฒนธรรม  การฝึกนักแปล  หลักและแนวทางการแปล

2241623         ทรัพยากรการแปลและการทำประมวลศัพท์

ปริทัศน์ทรัพยากรประเภทต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับนักแปล   แหล่งทรัพยากร มโนทัศน์และวิธีวิทยาการในการทำประมวลศัพท์  การฝึกสร้างประมวลศัพท์จากคลังข้อมูลเฉพาะด้าน

2241624         ทักษะภาษาไทยสำหรับนักแปล

ทักษะภาษาไทยในด้านการใช้คำ ประโยค ระดับภาษา และวัจนลีลา  การสรรคำ การหลากคำ และการบัญญัติศัพท์ในการแปล  การวิเคราะห์และแก้ไขข้อบกพร่องในการใช้ภาษาไทยในงานแปล

2241627        การแปลและวัฒนธรรมศึกษา

ทฤษฎีการแปลและวัฒนธรรมศึกษา วิธีวิทยาการวิจัยทางการแปลและวัฒนธรรมศึกษา การวิเคราะห์ตัวบทคัดสรร

2241628     การแปลเพื่อการสื่อสารมวลชน

การวิเคราะห์ ตีความ และแปลต้นฉบับประเภทต่าง ๆ สำหรับสื่อเพื่อการสื่อสารมวลชน การประเมินคุณภาพและบรรณาธิกรบทแปล

2241629       เทคโนโลยีการแปล

โปรแกรมช่วยแปลประเภทต่าง ๆ การสร้างคลังข้อมูลภาษา การจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้านการแปล การบรรณาธิกรบทแปลหลังผ่านเครื่องมือช่วยแปล

2241631        การฝึกแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย

การฝึกวิเคราะห์และตีความต้นฉบับประเภทต่างๆ ที่เป็นภาษาต่างประเทศที่คัดสรรมา    การเลือกรูปแบบการแปลที่เหมาะสม   กระบวนการในการแปลเป็นภาษาไทย   และการประเมินคุณค่าบทแปล

2241632        การฝึกแปลจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ

การฝึกวิเคราะห์และตีความต้นฉบับประเภทต่างๆ ที่เป็นภาษาไทย    การเลือกรูปแบบการแปลที่เหมาะสม   กระบวนการในการแปลเป็นภาษาต่างประเทศที่คัดสรรมา   และการประเมินคุณค่าบทแปล

2241634        การแปลต้นฉบับสำหรับสื่อภาพและเสียง

การฝึกวิเคราะห์ตัวบทประเภทสื่อภาพและเสียง ได้แก่ บทบรรยายภาพยนตร์ บทเพลง และการ์ตูน กระบวนการแปลเพื่อทำบทบรรยายใต้ภาพและบทพากย์ การฝึกการประเมินคุณภาพและการตรวจแก้บทแปล

2241635         การแปลในงานธุรกิจ

การฝึกวิเคราะห์  ตีความ และแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารประเภทต่างๆ ในงานธุรกิจ การฝึกประเมินคุณค่าและบรรณาธิกรบทแปล

2241636         การแปลเอกสารกฎหมาย

การฝึกวิเคราะห์  ตีความ และแปลต้นฉบับที่เป็นเอกสารประเภทต่างๆ ในทางกฎหมาย การฝึกประเมินคุณค่าและบรรณาธิกรบทแปล

2241637        การแปลงานวรรณกรรม

การฝึกวิเคราะห์  ตีความ และแปลต้นฉบับที่เป็นวรรณกรรมประเภทต่างๆ ทั้งคลาสสิค สมัยใหม่ และร่วมสมัย การฝึกประเมินคุณค่าและบรรณาธิกรบทแปล

2241639         การประเมินและบรรณาธิกรงานแปล

การประเมินโดยเปรียบเทียบบทแปลภาษาไทยกับต้นฉบับภาษาต่างประเทศที่คัดสรรในแง่ความเที่ยงตรงของอรรถสาระและเจตนา  การประเมินความเหมาะสมของระดับภาษาที่ใช้ในบทแปล   การประเมินความเหมาะสมของการเลือกคำ  และรูปวากยสัมพันธ์  การฝึกบรรณาธิกรงานแปลภาษาไทย

2241640         เรื่องคัดเฉพาะในการแปล

หัวข้อที่น่าสนใจทางทฤษฎีและวิธีวิทยาการแปล

2241641        การล่ามพูดตามจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 1

หลักการ  ขั้นตอน  การฝึกทักษะการเป็นล่ามจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทยสำหรับการเจรจาต่อรองระหว่างบุคคลทั่วไป  การสัมภาษณ์ และการพูดในหัวข้อทั่วไป  การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหา

2241643        การล่ามพูดตามจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ

หลักการ  ขั้นตอน  และการฝึกทักษะการเป็นล่ามพูดตามจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ  สำหรับการเจรจาต่อรองระหว่างบุคคลทั่วไป  การสัมภาษณ์ และการพูดในหัวข้อทั่วไป การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหา

2241645        การล่ามพูดพร้อมจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ

หลักการ  ขั้นตอน  การฝึกทักษะการเป็นล่ามพูดพร้อมจากภาษาไทยเป็นภาษาต่างประเทศ  การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหา

2241646      การล่ามพูดพร้อมจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย 1

หลักการ  ขั้นตอน  และทักษะการล่ามพูดพร้อมจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย  การวิเคราะห์ปัญหาและการแก้ปัญหา

2241681        หลักเทศานุวัตน์เบื้องต้น

ขั้นตอนการแปลและกระบวนการเทศานุวัตน์  การแปลภาษาอัตโนมัติ  และการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยแปล การบริหารโครงการแปลและการควบคุมคุณภาพงานแปลในกระบวนการเทศานุวัตน์

2241711        สารนิพนธ์

2241811        วิทยานิพนธ์

2241896        สอบประมวลความรู้

หมายเหตุ  วิชาที่มีสัญลักษณ์ * คือ วิชาบังคับ ทุกภาคการศึกษาเปิดรายวิชา : 2241711 สารนิพนธ์  2241811 วิทยานิพนธ์  และ 2241896 สอบประมวลความรู้ วิชาเลือกที่เปิดสอนแล้วในแต่ละภาคการศึกษาจะไม่เปิดซ้ำอีกในภาคการศึกษาถัดไป

 

การสอบประมวลความรู้ ประกอบด้วย การสอบภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ

ภาคทฤษฎี : 2241621 TRAN STUD ภาคปฏิบัติ เลือกสอบ 2 วิชา จาก 3 วิชานี้ :

  1. 2241635 TRAN BUSINESS
  2. 2241637 TRAN LIT
  3. การล่ามพูดตาม

 

ระบบการศึกษา

ใช้ระบบการศึกษาแบบหน่วยกิต เป็นระบบทวิภาค แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษา ได้แก่ ภาคการศึกษาต้นและภาคการศึกษาปลาย เรียนทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์

 ระยะเวลาการศึกษา

ไม่ต่ำกว่า 4 ภาคการศึกษา ไม่เกิน 8 ภาคการศึกษา นับจากภาคการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษา ในหลักสูตร นิสิตลงทะเบียนเรียนไม่ต่ำกว่า 9 หน่วยกิตและไม่เกิน 15 หน่วยกิต ในแต่ละภาคการศึกษา  

การวัดผลและการสำเร็จการศึกษา

การประเมิลผลรายวิชาใช้สัญลักษณ์ A B+ B C+ C D+ D และ F ส่วนสารนิพนธ์หรือวิทยานิพนธ์ใช้ ดีมาก ดี ผ่าน และตก

 คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษา

  1. สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่าและต้องมีความรู้ทางภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในระดับดีมาก
  2. คุณสมบัติอื่นๆ เป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไปหรือคณะกรรมการบริหารหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการแปลและการล่าม พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้

กำหนดการรับสมัคร

กำหนดการรับสมัครเป็นไปตามประกาศของบัณฑิตวิทยาลัยซึ่งจะประกาศให้ทราบเป็นปี ๆ ไป

หลักฐานที่ใช้ในการสมัคร

  1. ใบสมัคร
  2. สำเนาใบแสดงผลการศึกษาระดับปริญญาตรี 1 ชุด
  3. สำเนาบัตรประชาชนหรือบัตรข้าราชการ 1 ชุด
  4. สำเนาทะเบียนบ้าน 1 ชุด
  5. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป
  6. ผลการทดสอบภาษาอังกฤษ CU-TEP, TOEFL หรือ IELTS อย่างใดอย่างหนึ่ง และผลการทดสอบภาษาญี่ปุ่น (๋JLPT) อย่างน้อยระดับ N2

– หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลและการล่าม (สายการแปลและการล่าม): CU-TEP 45 คะแนนขึ้นไป TOEFL iBT 45 ขึ้นไป หรือ IELTS 4.0 ขึ้นไป

อัตราค่าธรรมเนียมการศึกษาและค่าเล่าเรียน

หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลและการล่าม (สายการแปลและการล่าม)

ค่าเล่าเรียน

25,500 (ชาวไทย)

88,700 (ชาวต่างประเทศ)

บาท/ภาคการศึกษา
ค่าธรรมเนียมการศึกษา 30,000 บาท/ภาคการศึกษา
รวม

55,500 (ชาวไทย)

118,700 (ชาวต่างประเทศ)

บาท/ภาคการศึกษา