วิชาโทภาษาเขมร (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)
1. โครงสร้างหลักสูตร
จำนวนหน่วยกิตรวมวิชาโทสำหรับนิสิตที่เรียนวิชาเอกสาขาอื่นทั้งในคณะและนอกคณะ 18 หน่วยกิต
โดยแบ่งเป็น
- วิชาบังคับ 6 หน่วยกิต
- วิชาเลือก 12 หน่วยกิต
2. คำอธิบายรายวิชา
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | คำอธิบายรายวิชา |
---|---|---|
2244101 | ภาษาเขมร 1 (3 นก.) | การออกเสียงภาษาเขมร อักษรและอักขรวิธี ศัพท์และรูปประโยคพื้นฐาน ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนเบื้องต้น |
2244102 | ภาษาเขมร 2 (3 นก.) | ทักษะการฟัง พูด อ่าน และเขียนภาษาเขมร เน้นศัพท์และสำนวนเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ และวัฒนธรรมของชาวกัมพูชา |
2244151 | ปริทัศน์วัฒนธรรมเขมร (3 นก.) | สังคมและวัฒนธรรมเขมร เน้นขนบธรรมเนียมประเพณี พิธีกรรม และศิลปะแขนงต่างๆ ตั้งแต่สมัยโบราณถึงปัจจุบัน |
2244211 | สนทนาภาษาเขมร (3 นก.) | การฟังและการพูดภาษาเขมรในสถานการณ์ต่างๆ การให้ข้อมูล และการแสดงความคิดเห็นในหัวข้อที่กำหนด |
2244221 | การอ่านภาษาเขมร (3 นก.) | การอ่านงานเขียนประเภทต่างๆ เพื่อความเข้าใจ ศัพท์ สำนวน และวัจนลาที่ใช้ในบทคัดสรร |
2244291 | จารึกภาษาเขมร (3 นก.) | ระบบการเขียนภาษาเขมรโบราณ ลักษณะภาษาเขมรโบราณ สังคมและวัฒนธรรมเขมรโบราณ |
2244341 | การแปลเขมร-ไทย (3 นก.) | หลักเบื้องต้นในการแปลภาษาเขมรเป็นภาษาไทย ฝึกแปลร้อยแก้วประเภทต่างๆ |
2244361 | ประวัติวรรณคดีเขมร (3 นก.) | ประวัติวรรณคดีเขมรตั้งแต่สมัยแรกเริ่มถึงสมัยปัจจุบัน การอ่าน และวิเคราะห์บทคัดสรรจากวรรณคดีเขมรที่สำคัญในแต่ละสมัย |
2244381 | ภาษาและวัฒนธรรมเขมรถิ่นไทย (3 นก.) | ลักษณะและพลวัตของภาษาเขมรถิ่นไทย วัฒนธรรมเขมรถิ่นไทยด้านวรรณกรรม ประเพณี พิธีกรรม และศิลปะการแสดง ปัจจัยทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมที่ส่งผลต่อการธำรงอยู่และพลวัตของภาษาและวัฒนธรรมเขมรถิ่นไทย |
2244411 | ไวยากรณ์เขมร (3 นก.) | ลักษณะและโครงสร้างภาษาเขมร สัทวิทยา อักษรและอักขรวิธี วิทยหน่วยคำ วากยสัมพันธ์ ทำเนียบภาษา และถ้อยคำสำนวนในภาษาเขมร |
2244461 | นวนิยายเขมรสมัยใหม่ (3 นก.) | กำเนิดและพัฒนาการนวนิยายเขมรสมัยใหม่ บริบททางการเมือง สังคม และวัฒนธรรม ลักษณะเด่นของนวนิยายประเภทต่างๆ การวิเคราะห์และวิจารณ์นวนิยายคัดสรร |
2201326 | ภาษาเขมรที่สัมพันธ์กับภาษาไทย (3 นก.) | คำเขมรที่ปรากฏในภาษาไทยและคำไทยที่ปรากฏในภาษาเขมร คำที่เขมรและไทยยืมมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ลักษณะทางไวยากรณ์และทางภาษาด้านอื่นๆที่แสดงความสัมพันธ์ของภาษาทั้งสอง |