งานด้านวิจัย
ศูนย์วิจัยภาษาและวรรณคดีไทย
ประวัติความเป็นมา
ศูนย์วิจัยภาษาและวรรณคดีไทย เป็นหน่วยงานของภาควิชาภาษาไทย ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยดําเนินการจัดตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2526 เพื่อทําหน้าที่รับผิดชอบการสืบทอด ส่งเสริม และเผยแพร่ความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีไทย ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สําคัญของชาติด้วยเห็นว่า ภาควิชาภาษาไทยเป็นหน่วยงานที่มีความพร้อมและศักยภาพในด้านบุคลากร ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญ ที่จะสืบสานและทะนุบํารุงความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีของชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พันธกิจ
- เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิด และเผยแพร่งานค้นคว้าทางภาษาและวรรณคดีไทยโดยจัดประชุม อบรม สัมมนา และออกวารสารเป็นประจํา
- ศึกษา ค้นคว้า และวิจัยเพื่อสืบทอดและส่งเสริมความรู้ด้านภาษาและวรรณคดีไทย
- จัดทําวารสารภาษาและวรรณคดีไทย ตั้งแต่ปีพุทธศักราช 2526 เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านภาษาไทย วรรณคดีไทย วรรณกรรมไทย คติชนวิทยา รวมทั้งศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ภาษาศาสตร์ มานุษยวิทยา การเรียนการสอนภาษาไทย และภาษาต่างประเทศที่สัมพันธ์กับภาษาไทย
หน่วยปฏิบัติการวิจัยไทยวิทรรศน์เพื่อการศึกษาภาษาวรรณคดีและคติชนไทย
Thaivithat Research Unit for Thai Language, Literature and Folklore
ประวัติความเป็นมา
“ไทยวิทรรศน์” เป็นหน่วยปฏิบัติการวิจัย (Research Unit) ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยซึ่งภาควิชาภาษาไทยก่อตั้งขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 2561 โดยมี
รองศาสตราจารย์ดร.ณัฐพร พานโพธิ์ทอง เป็นหัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัย มีระยะเวลาดําเนินงาน 3 ปีคือระหว่างปี 2561 ถึง 2563 มีพันธกิจสําคัญใน
การพัฒนางานวิจัยภาษา วรรณคดี และคติชนไทยให้ก้าวทันศาสตร์ที่มีการพัฒนาอยู่เสมอในโลกวิชาการ เพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงด้านความเป็นไทยให้แก่สังคมไทยและสังคมโลก
พันธกิจ
- สร้าง “องค์ความรู้เรื่องไทย” ในมิติที่สัมพันธ์กับปริบทสังคมวัฒนธรรมไทย สังคมโลก และ/หรือ โลกวิชาการ
- การศึกษาข้อมูลภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมไทยโดยเชื่อมโยงให้เห็นปฏิสัมพันธ์กับปริบทสังคมไทย และ/หรือ สังคมโลก
- การศึกษาเปรียบเทียบข้อมูลภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมไทยกับวัฒนธรรมอื่น
- การศึกษาภาษา วรรณคดี และวัฒนธรรมไทยโดยประยุกต์ใช้แนวคิด ทฤษฎีใหม่ในโลกวิชาการ
สร้างองค์ความรู้ด้านภาษา วรรณคดี และคติชนไทยเพื่อเป็นแหล่งอ้างอิงให้แก่สังคมและเพื่อนําไปประยุกต์ใช้ให้เป็นประโยชน์ในวงกว้าง
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ หน่วยปฏิบัติการวิจัยไทยวิทรรศน์เพื่อการศึกษาภาษาวรรณคดีและคติชนไทย