Search
Close this search box.

โครงการช้างเผือก

โครงการรับบุคคลผู้มีความสามารถพิเศษด้านภาษาและวรรณคดีไทยเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรี

หลักการของโครงการ

ภาควิชาภาษาไทยดำเนินการรับบุคคลผู้มีความสามารถพิเศษด้านภาษาและวรรณคดีไทยเข้าศึกษาในหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มาตั้งแต่ปีการศึกษา 2533 จวบจนถึงปัจจุบัน  ผู้ได้รับการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาในโครงการจะได้รับทุนอุดหนุนการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและได้เข้าร่วมกิจกรรมและโครงการอบรมต่างๆ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านวิชาการด้านภาษาไทย วรรณคดีไทย และคติชนวิทยา ตลอดจนพัฒนาทักษะด้านวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินการรับบุคคลเข้าศึกษาในโครงการ แบ่งเป็น 3 ช่วง ดังนี้

(ต่อมาภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็น “โครงการรับนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรภาษาและวรรณคดีไทยโดยวิธีรับตรง”)

– ระยะเวลาดำเนินการ: ปีการศึกษา 2533-2542 และ ปีการศึกษา 2546-2555

– วัตถุประสงค์หลักของโครงการ:

มุ่งสร้างบัณฑิตระดับปริญญาตรี สาขาภาษาไทยซึ่งมีความรู้ความสามารถพิเศษด้านภาษาและวรรณคดีไทยเพื่อสืบสานองค์ความรู้เรื่องไทยอันเป็นมรดกภูมิปัญญาของชาติ

เป็นส่วนหนึ่งของโครงการยุทธศาสตร์สู่ความเป็นเลิศด้านศิลปะไทย สำนักบริหารวิชาการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

  – ระยะเวลาดำเนินการ: ปีการศึกษา 2556-2562   

– วัตถุประสงค์หลักของโครงการ:

มุ่งสร้างบัณฑิตทั้งในระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก สาขาภาษาไทยให้เป็นผู้มีความเป็นเลิศด้านภาษาและวรรณคดีไทยที่ครอบคลุมรอบด้านและเป็นผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพให้แก่สังคมไทยและสังคมโลก เพื่อสืบสานองค์ความรู้เรื่องไทยอันเป็นมรดกภูมิปัญญาของชาติ 

โครงการรับนักเรียนเข้าศึกษาในหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย ทั้งในรอบที่ 1 แฟ้มสะสมผลงาน (Portfolio) และ รอบที่ 2 โควตา (Quota) ที่มีการสอบข้อเขียน โดยมีสำนักบริหารกิจการนิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นหน่วยงานบริหารโครงการ                             

– ระยะเวลาดำเนินการ: ปีการศึกษา 2563 ถึงปัจจุบัน                                               

– วัตถุประสงค์หลักของโครงการ:

 มุ่งสร้างบัณฑิตระดับปริญญาตรี สาขาภาษาไทยให้เป็นผู้มีความเป็นเลิศด้านภาษาและวรรณคดีไทย เป็นผู้นำทางวิชาการและวิชาชีพในด้านอักษรศาสตร์ทั้งในระดับสังคมไทยและสังคมโลก เพื่อสืบสานองค์ความรู้เรื่องไทย

ดูรายละเอียดการรับสมัครเข้าศึกษาได้ที่ การรับสมัคร

ผลสัมฤทธิ์

ตั้งแต่เริ่มดำเนินโครงการในปีการศึกษา 2533  จนถึงปีการศึกษา 2563 ได้สร้างบัณฑิตสาขาวิชาภาษาไทยจำนวน 28 รุ่น 

สร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความชำนาญทางภาษาและวรรณคดีไทยเป็นไปตามเป้าหมาย และมีบัณฑิตสำเร็จการศึกษาระดับเกียรตินิยมอันดับหนึ่งและเกียรตินิยมเป็นจำนวนมาก

มีบัณฑิตจำนวนหนึ่งมีผลการเรียนในระดับ “ดีเด่น” ส่งผลให้ได้รับทุนการศึกษาเพื่อไปศึกษาต่อระดับสูงในต่างประเทศและในประเทศ อาทิ

   – ได้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล แผนกอักษรศาสตร์  

   – ได้รับพระราชทานทุน “สิริกิติ์บรมราชินีนาถ” 

   – ได้รับทุนรัฐบาลไทยให้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก (ต่างประเทศ)   

   – ได้รับทุนเพื่อศึกษาต่อระดับสูงในประเทศ อาทิ

  • ทุนอุดหนุนการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเพื่อเฉลิมฉลองวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมายุครบ72 พรรษา
  • ทุนปริญญาเอกกาญจนาภิเษก สกว.
  • ทุนพัฒนาอาจารย์ UDC
  • ทุนโครงการเครือข่ายเชิงกลยุทธ์เพื่อการผลิตและพัฒนาอาจารย์ในสถาบันอุดมศึกษา

บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในโครงการฯ ได้ทำงานเป็นอาจารย์ภาษาไทยในสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ  ทั้งของภาครัฐและเอกชน  เช่น

  • ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ภาควิชาภาษาและคติชน คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • ภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • ภาควิชาภาษาไทย สำนักศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • ภาควิชาภาษาไทย คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • ภาควิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • ภาควิชาสื่อสารมวลชนและสื่อสารการแสดง คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตย์
  • ภาควิชามนุษยศาสตร์ กองวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
  • โรงเรียนนายเรืออากาศนวมินทกษัตริยาธิราช


บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษาในโครงการได้ประกอบอาชีพในวงการต่างๆ ที่ใช้ความรู้ด้านภาษาไทย
เช่น บรรณาธิการและกองบรรณาธิการ พิธีกร  ผู้ประกาศข่าว  ผู้สื่อข่าว นักเขียน ผู้สร้างคอนเทนต์ (content creator) หัวหน้าฝ่ายงานสื่อสารองค์กรและงานประชาสัมพันธ์  ฯลฯ จะเห็นได้ว่าโครงการได้ผลิตบัณฑิตผู้มีความรู้ทางด้านภาษาและวรรณคดีไทยเพื่อออกไปรับใช้สังคมในภาคส่วนต่างๆ อย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ นิสิตและบัณฑิตภาควิชาภาษาไทย ยังได้รับรางวัลด้านการวิจัย และรางวัลจากการประกวดแข่งขันทั้งในระดับนานาชาติ ระดับชาติ และระดับมหาวิทยาลัย

นิสิตในโครงการได้รับทุนอุดหนุนการวิจัยและรางวัลงานวิจัย เช่น

  • ทุนมหาบัณฑิต สกว.
  • ทุนประชาธิปก-รำไพพรรณี
  • ทุนจุฬาฯ 100 ปี
  • ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่สกอ.-สกว.
  • ทุนมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ
  • รางวัลผลงานวิจัยดีเด่นระดับชาติ พ.ศ. 2548
  • รางวัลผลงานวิจัยดีเด่น กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช พ.ศ. 2545
  • รางวัลดุษฎีบัณฑิต คปก. ดีเด่น ของ สกว. ปี 2554 และ ปี 2558
    • รางวัล 2010 TRF-CHE-SCOPUS Young Researcher Award สาขา Humanities & Social Sciences โดย   สกว. สกอ. ร่วมกับ SCOPUS พ.ศ. 2553
  • รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยดีเยี่ยมประเภทโปสเตอร์ จาก สกว. พ.ศ. 2553
  • รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัยดีเยี่ยมประเภทบรรยาย จาก สกว. พ.ศ. 2553
  • รางวัลนักวิจัยรุ่นเยาว์ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประจำปี 2558


นิสิตในโครงการได้รับรางวัลในการประกวดความสามารถต่าง ๆ
เช่น

  • การประกวดชิงรางวัลเงินทุนภูมิพล
  • การประกวดการอ่านออกเสียงภาษาไทยมาตรฐานระดับอุดมศึกษา เนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ
  • การประกวดอ่านฟังเสียงชิงถ้วยพระราชทานตามโครงการธนชาต
  • การประกวดสุนทรพจน์ “ถวายงานผ่านภาษา” จัดโดยสมาคมนิสิตเก่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • การประกวดผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์ จัดโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
  • การประกวดเรียงความเยาวชน “ลูกโลกสีเขียว” จัดโดย บริษัท ปตท.จำกัด มหาชน
  • การประกวดเรื่องสั้นตามโครงการ “ลายลักษณ์วรรณศิลป์”  จัดโดยหออัครศิลปิน กรมส่งเสริมวัฒนธรรรม
  • การประกวดการเขียนสารคดีจัดโดยนิตยสารสารคดี
  • การประกวดเรียงความหัวข้อ “ความสำคัญของการสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติ” จัดโดย ศุมา สถาบันภาษาและวัฒนธรรม  
  • การประกวดบทกลอนรำลึกพระคุณครู เนื่องในพิธีไหว้ครูของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • การประกวดเขียนบทวิจารณ์วรรณกรรมและเรื่องสั้นตามโครงการภาษาไทยสัญจร สถาบันภาษาไทยสิรินธร
  • การประกวดบทวิจารณ์วรรณกรรมในโครงการ “ดวงใจวิจารณ์” จัดโดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.)

แชร์หน้านี้: