1. โครงสร้างหลักสูตร
ภาควิชาภาษาไทยเปิดสอนวิชาเฉพาะสาขาวิชาภาษาไทย แบบวิชาเอกเดี่ยวและแบบวิชาเอก-โท สำหรับนิสิตที่เลือกเรียนเป็นวิชาเอก และเปิดสอนเป็นวิชาโท สำหรับนิสิตที่เรียนวิชาเอกสาขาอื่นทั้งในคณะและนอกคณะที่เลือกเรียนเป็นวิชาโท ดังนี้
โปรแกรมปกติ
แบบเอกเดี่ยว 66 หน่วยกิต
วิชาบังคับ 27 หน่วยกิต
- วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
- วิชาบังคับเลือก 6 หน่วยกิต
วิชาเลือก 39 หน่วยกิต
- วิชาเลือกในสาขา 21 หน่วยกิต
- วิชาเลือกนอกสาขา 18 หน่วยกิต
แบบเอก-โท 66 หน่วยกิต
วิชาเอก 48 หน่วยกิต
- วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
- วิชาบังคับเลือก 6 หน่วยกิต
- วิชาเลือก 21 หน่วยกิต
วิชาโท 18 หน่วยกิต
นิสิตเอกสาขาวิชาภาษาไทยที่เลือกเรียนแบบวิชาเอก – โท ต้องเลือกเรียนวิชาโทสาขาอื่นจากในคณะหรือนอกคณะ 18 หน่วยกิต
วิชาโทสำหรับนิสิตวิชาเอกสาขาอื่นทั้งในคณะและนอกคณะ 18 หน่วยกิต
- วิชาบังคับ – หน่วยกิต
- วิชาเลือก 18 หน่วยกิต
โปรแกรมเกียรตินิยม
แบบเอกเดี่ยว 66 หน่วยกิต
วิชาบังคับ 27 หน่วยกิต
- วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
- วิชาบังคับเลือก 6 หน่วยกิต
วิชาเลือก 39 หน่วยกิต
- วิชาเลือกในสาขา 21 หน่วยกิต
- วิชาเลือกนอกสาขา 18 หน่วยกิต
แบบเอก-โท 66 หน่วยกิต
วิชาเอก 48 หน่วยกิต
- วิชาบังคับ 27 หน่วยกิต
- วิชาบังคับ 21 หน่วยกิต
- วิชาบังคับเลือก 6 หน่วยกิต
- วิชาเลือก 21 หน่วยกิต
วิชาโท 18 หน่วยกิต
2. แผนการศึกษา
โปรแกรมปกติ
ปีที่ 2 | |
ภาคการศึกษาต้น (9 หน่วยกิต) | ภาคการศึกษาปลาย (12 หน่วยกิต) |
ปีที่ 3 | |
ภาคการศึกษาต้น (12 หน่วยกิต) | ภาคการศึกษาปลาย (12 หน่วยกิต) |
ปีที่ 4 | |
ภาคการศึกษาต้น (12 หน่วยกิต) | ภาคการศึกษาปลาย (9 หน่วยกิต) |
โปรแกรมเกียรตินิยม
ปีที่ 2 | |
ภาคการศึกษาต้น (9 หน่วยกิต) | ภาคการศึกษาปลาย (12 หน่วยกิต) |
ปีที่ 3 | |
ภาคการศึกษาต้น (12 หน่วยกิต) | ภาคการศึกษาปลาย (15 หน่วยกิต) |
ปีที่ 4 | |
ภาคการศึกษาต้น (10 หน่วยกิต) | ภาคการศึกษาปลาย (8 หน่วยกิต) |
3. คำอธิบายรายวิชา
รหัสวิชา | ชื่อวิชา | คำอธิบายรายวิชา |
---|---|---|
2201201 | ลักษณะภาษาไทย (3 นก.) | ลักษณะของภาษาไทยด้านเสียง คำ และประโยค ความสัมพันธ์ระหว่างองค์ประกอบเหล่านั้น |
2201210 | ภาษาไทยอุดมศึกษา (3 นก.) | การอ่านจับประเด็นสำคัญของข้อความ การออกเสียง การสะกดคำ การเลือกใช้ถ้อยคำ การเรียบเรียงความคิดและนำเสนออย่างเหมาะสม |
2201214 | ภาษาสื่อสารมวลชน (3 นก.) | โครงสร้าง รูปแบบ และพัฒนาการของสื่อมวลชนประเภทต่างๆ ลักษณะภาษาไทยที่ปรากฏในสื่อต่างๆ |
2201215 | การเล่นทางภาษาในภาษาไทย (3 นก.) | รูปแบบต่าง ๆ ของการเล่นทางภาษาในภาษาไทยจากมุมมองทางด้านคติชนวิทยา ภาษาศาสตร์ และวรรณคดี |
2201230 | วิวัฒนาการอักษรและอักขรวิธีไทย (3 นก.) | วิวัฒนาการและการเปลี่ยนแปลงของอักษรและอักขรวิธีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงปัจจุบันความแตกต่างของอักษรและอักขรวิธีของภาษาไทยกับภาษาอื่นที่เกี่ยวข้อง |
2201251 | วิวัฒนาการวรรณคดีไทย (3 นก.) | วิวัฒนาการวรรณคดีไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ในด้านผู้แต่ง รูปแบบ เนื้อหา และแนวคิด ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีไทยกับบริบท ทางสังคมวัฒนธรรม การวิเคราะห์วรรณคดีที่เลือกมาศึกษา |
2201252 | วิวัฒนาการวรรณกรรมไทย (3 นก.) | วิวัฒนาการวรรณกรรมไทยตั้งแต่ปลายสมัยรัชกาลที่ 3 จนถึงปัจจุบันในด้านรูปแบบ เนื้อหา และแนวคิด การวิเคราะห์ วรรณกรรมที่เลือกมาศึกษา |
2201253 | วรรณคดีไทยกับสื่อร่วมสมัย (3 นก.) | การประยุกต์ใช้วรรณคดีไทยในสื่อร่วมสมัยประเภทต่างๆ |
2201260 | ลิลิต นิราศ และเพลงยาว (3 นก.) | ลักษณะและวิวัฒนาการของวรรณคดีลิลิต นิราศ และเพลงยาว ตั้งแต่สมัยอยุธยาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การวิเคราะห์ผลงานคัดสรร |
2201264 | วรรณคดีนิทาน (3 นก.) | วรรณคดีนิทานที่เป็นลายลักษณ์อักษรทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ที่มา พัฒนาการ ลักษณะเด่น บทบาท และคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ การวิเคราะห์ วรรณคดีนิทานที่เลือกมาศึกษา |
2201266 | วรรณคดีคำสอน (3 นก.) | การสอนจริยธรรมในวรรณคดีไทย วรรณคดีคำสอนของไทยและวรรณคดี คำสอนของต่างประเทศที่แปลเป็นภาษาไทย การวิเคราะห์วรรณคดีคำสอนที่เลือกมาศึกษา |
2201274 | พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (3 นก.) | พระราชประวัติและพระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา และลีลา การวิเคราะห์พระราชนิพนธ์บางเรื่อง |
2201275 | งานสุนทรภู่ (3 นก.) | ประวัติและงานของสุนทรภู่ ทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา และลีลา การวิเคราะห์ผลงานบางเรื่อง |
2201303 | การศึกษางานวิจัยภาษาไทยเชิงภาษาศาสตร์ (3 นก.) | ทฤษฎีภาษาศาสตร์ด้านแบบแผนนิยมและหน้าที่นิยม งานวิจัยทางภาษาไทย ที่นำทฤษฎีดังกล่าวมาประยุกต์ใช้ |
2201304 | ภาษาไทยในมุมมองแบบลักษณ์ภาษา (3 นก.) | ลักษณะภาษาไทยทางด้านระบบเสียง ระบบไวยากรณ์ และคลังศัพท์ เปรียบเทียบกับภาษาต่าง ๆ ทั่วโลก สากลลักษณ์ภาษากับลักษณะภาษาไทย การใช้โปรแกรมวอลส์เพื่อการค้นหาแบบภาษาด้านต่าง ๆ ของภาษาไทย |
2201314 | ลีลาในภาษาไทย (3 นก.) | ลักษณะลีลาภาษาที่ใช้ในภาษาไทยปัจจุบัน ลีลาภาษาแบบต่าง ๆ วัจนลีลา ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ภาษาไทยมีลีลาแบบต่าง ๆ |
2201315 | การศึกษาภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง (3 นก.) | ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการศึกษาภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับการศึกษา |
2201316 | ภาษาไทยกับการสื่อสารองค์กร (3 นก.) | ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารองค์กรในสถานการณ์ต่างๆ การเลือกใช้ลีลา รูปแบบ และช่องทางการสื่อสารเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ |
2201320 | ภาษาบาลีและสันสกฤตที่สัมพันธ์กับภาษาไทย 1 (3 นก.) | ประวัติภาษาบาลีและสันสกฤต ลักษณะและโครงสร้างภาษาบาลีและสันสกฤตเปรียบเทียบกับภาษาไทย คำยืมภาษาบาลี-สันสกฤตในภาษาไทย |
2201324 | การสร้างคำและการบัญญัติศัพท์ (3 นก.) | ลักษณะคำไทย วิธีการสร้างคำของภาษาไทย การประสมคำ การแปลงคำ และการซ้ำคำ การบัญญัติศัพท์ |
2201326 | ภาษาเขมรที่สัมพันธ์กับภาษาไทย (3 นก.) | คำเขมรที่ปรากฏในภาษาไทยและคำไทยที่ปรากฏในภาษาเขมร คำที่เขมร และไทยยืมมาจากภาษาบาลีและสันสกฤต ลักษณะทางไวยากรณ์ และทางภาษาด้านอื่นๆ ที่แสดงความสัมพันธ์ของภาษาทั้งสอง |
2201335 | แบบเรียนภาษาและวรรณคดีไทย (3 นก.) | ประวัติและพัฒนาการแบบเรียนภาษาไทย ลักษณะและแนวคิด เกี่ยวกับภาษาและวรรณคดีไทยที่พบในแบบเรียน |
2201336 | อักษรไทยเหนือและไทยอีสาน (3 นก.) | ประวัติและลักษณะตัวอักษรไทยที่ใช้อยู่ในภาคเหนือและภาคอีสาน การฝึกอ่านและเขียนตัวอักษรไทยแบบต่าง ๆ |
2201337 | ภาษาในบริบทสังคมและวัฒนธรรมไทย (3 นก.) | ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาไทยกับบริบททางสังคมวัฒนธรรมไทยในแง่มุมต่างๆ แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาและวัฒนธรรม รวมทั้งชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร ภาษากับเพศสภาวะ ภาษากับอุดมการณ์ |
2201351 | การอ่านและแต่งคำประพันธ์ไทย 1 (3 นก.) | การอ่านและแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์และกลอนชนิดต่าง ๆ |
2201352 | วิวัฒนาการร้อยกรอง (3 นก.) | รูปแบบ เนื้อหา ความคิด และกลวิธีการประพันธ์ของร้อยกรองไทย ตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน |
2201353 | วรรณกรรมวิจารณ์ (3 นก.) | ความเป็นมาของการวิจารณ์วรรณกรรม ทฤษฎีหลักและแนวทางการศึกษา วรรณกรรมไทยปัจจุบัน การฝึกวิจารณ์และประเมินค่าวรรณกรรม |
2201362 | วรรณคดีพระราชหัตถเลขา (3 นก.) | พระราชหัตถเลขา ประกาศ และพระบรมราชาธิบายในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา ลีลา และคุณค่า การวิเคราะห์พระราชนิพนธ์บางเรื่อง |
2201364 | วรรณคดีกับการแสดง (3 นก.) | ลักษณะและความเป็นมาของวรรณคดีการแสดงของไทย ความสัมพันธ์ระหว่างการแสดงกับตัวบท การวิเคราะห์วรรณคดีการแสดงบางเรื่อง |
2201370 | พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช (3 นก.) | พระราชนิพนธ์ประเภทต่างๆ ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา และลีลาภาษา การวิเคราะห์พระราชนิพนธ์คัดสรร |
2201372 | พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (3 นก.) | พระราชประวัติและพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา และลีลา การวิเคราะห์พระราชนิพนธ์บางเรื่อง |
2201373 | งานเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป (3 นก.) | ประวัติและงานของเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ในด้านรูปแบบ เนื้อหา และลีลา การวิเคราะห์ผลงานบางเรื่อง |
2201374 | พระนิพนธ์พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ (3 นก.) | พระประวัติและพระนิพนธ์ของพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา และลีลา การวิเคราะห์พระนิพนธ์บางเรื่อง |
2201385 | การศึกษาวัฒนธรรมวรรณศิลป์ไทย (3 นก.) | การสร้างและการเสพวรรณคดีไทยในสมัยต่างๆ การประเมินค่าวรรณคดีไทย บริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับการสร้าง การเสพ และการประเมินค่าวรรณคดีในวัฒนธรรรมวรรณศิลป์ไทย |
2201393 | วรรณกรรมกับสังคม (3 นก.) | ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมกับสังคมและผลกระทบที่มีต่อกัน การวิเคราะห์วรรณกรรมไทยที่มีความสัมพันธ์กับสังคมอย่างเด่นชัด |
2201394 | คติชนวิทยา (3 นก.) | ความหมาย ความสำคัญ และการแบ่งประเภทของคติชน รูปแบบ และบทบาทหน้าที่ของคติชนประเภทต่าง ๆ แนวทางและวิธีการศึกษาที่เน้นการเก็บข้อมูลภาคสนาม |
2201396 | นิทานพื้นบ้าน (3 นก.) | การจำแนกประเภทนิทานพื้นบ้าน ระเบียบวิธีทางคติชนในการเก็บข้อมูลภาคสนาม และแนวคิดทฤษฎีในการวิเคราะห์นิทานพื้นบ้าน บทบาทของนิทานพื้นบ้านในสังคม และความสัมพันธ์กับศิลปะไทยแขนงต่าง ๆ |
2201400 | การศึกษาอิสระ (เงื่อนไขรายวิชา: รายวิชาที่คณะอนุญาตให้เรียน) (3 นก.) | การค้นคว้าหัวข้อที่เกี่ยวกับภาษา วรรณคดี หรือวัฒนธรรมไทยตามความสนใจของแต่ละบุคคล การนำเสนอผลงานวิจัยในรูปบทความวิชาการหรือบทความวิจัย |
2201401 | การวิเคราะห์ภาษาไทย (3 นก.) | การวิเคราะห์ภาษาไทยในประเด็นปัญหาเรื่องเสียง คำ และวากยสัมพันธ์ |
2201402 | มุมมองทางสังคมวัฒนธรรมของการสื่อสารภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง (3 นก.) | มุมมองและประเด็นทางสังคมวัฒนธรรมที่สำคัญต่อการสื่อสารภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง |
2201414 | ศิลปะการใช้ภาษาไทย (3 นก.) | การใช้ภาษาไทยอย่างมีศิลปะ การเลือกใช้และการสรรคำ การร้อยเรียงถ้อยคำ การใช้โวหารเปรียบเทียบ การวิเคราะห์และตีความลักษณะภาษาที่เป็นวรรณศิลป์ จากวรรณคดีและวรรณกรรมทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง |
2201425 | ศัพทมูลวิทยาภาษาไทย (3 นก.) | ศัพทมูลวิทยา การสัมผัสภาษา การเปลี่ยนแปลงทางเสียง คำยืมภาษาถิ่น และคำยืมภาษาต่างประเทศในภาษาไทย |
2201431 | ภาษาไทยถิ่น (3 นก.) | การจำกัดความ “ภาษาถิ่น” หลักในการศึกษาภาษาถิ่น และลักษณะของภาษาไทยถิ่นต่าง ๆ |
2201432 | ศิลปะการเขียนร้อยแก้ว (3 นก.) | องค์ประกอบและกลวิธีในการสร้างงานเขียนที่ดี การเขียนสร้างสรรค์ประเภทร้อยแก้วแบบต่าง ๆ ในภาษาไท |
2201433 | ศิลปะการเล่าเรื่อง (3 นก.) | องค์ประกอบของการเล่าเรื่อง การประยุกต์ใช้กลวิธีการเล่าเรื่องเพื่อสร้างสรรค์งานเขียนร้อยแก้วภาษาไทยประเภทต่างๆ ทั้งในสื่อสิ่งพิมพ์และสื่อสังคม |
2201435 | ภาษาไทยสมัยต่าง ๆ (3 นก.) | ลักษณะภาษาไทยสมัยสุโขทัย สมัยอยุธยา และสมัยรัตนโกสินทร์ |
2201447 | สัมมนาเรื่องภาษาไทย (3 นก.) | หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาษาไทย โดยเน้นประเด็นความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับสังคมและวัฒนธรรม |
2201451 | การอ่านและแต่งคำประพันธ์ไทย 2 (3 นก.) | การอ่านและแต่งคำประพันธ์ประเภทโคลงและฉันท์ชนิดต่าง ๆ |
2201460 | สัมมนาเรื่องวรรณคดีไทย (3 นก.) | หัวข้อที่น่าสนใจเกี่ยวกับวรรณคดีไทย |
2201464 | วรรณคดีท้องถิ่น (3 นก.) | วรรณคดีมุขปาฐะและวรรณคดีลายลักษณ์ของท้องถิ่นต่างๆ ทั้งในด้านประวัติความเป็นมา รูปแบบ การประพันธ์ เนื้อหา ความคิด ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีท้องถิ่นกับสังคมวัฒนธรรมท้องถิ่นและวรรณคดีไทย |
2201472 | พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว (3 นก.) | พระราชประวัติและพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา และลีลา การวิเคราะห์พระราชนิพนธ์บางเรื่อง |
2201473 | พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส (3 นก.) | พระประวัติและพระนิพนธ์ในสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ในด้านรูปแบบ เนื้อหา และลีลา การวิเคราะห์พระนิพนธ์บางเรื่อง |
2201482 | นวนิยายและเรื่องสั้น (3 นก.) | นวนิยายและเรื่องสั้นแนวต่าง ๆ ของไทยในด้านรูปแบบ เนื้อหา และความคิด การวิเคราะห์ผลงานที่เลือกมาศึกษา |
2201484 | วรรณคดีสันสกฤตที่สัมพันธ์กับวรรณคดีไทย (3 นก.) | วรรณคดีสันสกฤตที่สัมพันธ์กับวรรณคดีไทย ความเชื่อของพราหมณ์ และฮินดูในวรรณคดีสันสกฤตและวรรณคดีไทย การวิเคราะห์วรรณคดีที่เลือกมาศึกษา |
2201485 | แนวทางการศึกษาวรรณคดีและวรรณกรรมไทย (3 นก.) | การศึกษาวรรณคดีไทยและวรรณกรรมไทยโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี และแนวทางต่างๆ ด้านวรรณคดีและวรรณกรรมวิจารณ์ |
2201489 | วรรณคดีไทยที่สัมพันธ์กับวรรณคดีบาลีและสันสกฤต (3 นก.) | วรรณคดีไทยที่แปลหรือนำเค้าเรื่องมาจากวรรณคดีบาลีและสันสกฤต รูปแบบ เนื้อหา แนวคิด และคุณค่าด้านวรรณศิลป์ |
2201591 | เอกัตศึกษา 1 (เงื่อนไขรายวิชา: รายวิชาที่คณะอนุญาตให้เรียน) (3 นก.) | การศึกษาอย่างลึกซึ้งในหัวข้อที่น่าสนใจทางภาษา วรรณคดี หรือวัฒนธรรมไทยหัวข้อใดหัวข้อหนึ่งหรือหลายหัวข้อ |
2201592 | เอกัตศึกษา 2 (เงื่อนไขรายวิชา: รายวิชาที่คณะอนุญาตให้เรียน) (3 นก.) | การศึกษาอย่างลึกซึ้งในหัวข้อที่น่าสนใจทางภาษา วรรณคดี หรือวัฒนธรรมไทย หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งหรือหลายหัวข้อ |
2201593 | เอกัตศึกษา 3 (เงื่อนไขรายวิชา: รายวิชาที่คณะอนุญาตให้เรียน) (3 นก.) | การศึกษาอย่างลึกซึ้งในหัวข้อที่น่าสนใจทางภาษา วรรณคดี หรือวัฒนธรรมไทย หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งหรือหลายหัวข้อ |
2201594 | เอกัตศึกษา 4 (เงื่อนไขรายวิชา: รายวิชาที่คณะอนุญาตให้เรียน) (3 นก.) | การศึกษาอย่างลึกซึ้งในหัวข้อที่น่าสนใจทางภาษา วรรณคดี หรือวัฒนธรรมไทย หัวข้อใดหัวข้อหนึ่งหรือหลายหัวข้อ |
2201597 | ปริญญานิพนธ์ 1 (4 นก.) | การศึกษาค้นคว้าและนำเสนอผลการวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวกับภาษา วรรณคดี หรือวัฒนธรรมไทย |
2201598 | ปริญญานิพนธ์ 2 (4 นก.) | การศึกษาค้นคว้าและนำเสนอผลการวิจัยในหัวข้อที่เกี่ยวกับภาษา วรรณคดี หรือวัฒนธรรมไทย |