Search
Close this search box.

การรับสมัครป.เอก

รายละเอียดการรับสมัครฯ ปีการศึกษา 2568

ภาควิชา ภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์
สาขาวิชา ภาษาไทย (ภาษาไทย/วรรณคดีไทย/คติชนวิทยา)
หลักสูตร อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต

  • รหัสหลักสูตรแบบที่1(1) 4 3 8 3 สําหรับผู้สําเร็จปริญญาโท
  • รหัสหลักสูตรแบบที่2(1) 4 3 8 5 สําหรับผู้สําเร็จปริญญาโท


จำนวนนิสิตที่คาดว่าจะรับ
 สายละ 2 คน


คุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร

แบบที่ 1 (1) สายภาษาไทย หรือ สายวรรณคดีไทย หรือ สายคติชนวิทยา (ทําวิทยานิพนธ์ไม่เรียน
รายวิชา)

  1. สําเร็จปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย วรรณคดีไทย การสอนภาษาไทย ภาษาบาลี-สันสกฤต จารึกภาษาไทย ภาษาศาสตร์ วรรณคดีเปรียบเทียบ มานุษยวิทยา ไทยศึกษา วัฒนธรรมศึกษา ศิลปกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ หรือ สาขาวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ)
  2. ได้แต้มเฉลี่ยสะสมตลอดหลักสูตร ไม่ต่ํากว่า 3.50
  3. มีผลงานวิจัยหรือบทความวิจัยที่พิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการรวมไม่น้อยกว่า 3 เรื่อง ทั้งนี้ไม่รวมวิทยานิพนธ์ และผลงานที่ดัดแปลงจากวิทยานิพนธ์
  4. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้


แบบที่ 2 (1) สายภาษาไทย หรือ สายวรรณคดีไทย หรือ สายคติชนวิทยา (เรียนรายวิชา)

  1. สําเร็จปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย วรรณคดีไทย การสอนภาษาไทย ภาษาบาลี-
    สันสกฤต จารึกภาษาไทย ภาษาศาสตร์ วรรณคดีเปรียบเทียบ มานุษยวิทยา ไทยศึกษา วัฒนธรรมศึกษา ศิลปกรรมศาสตร์ นิเทศศาสตร์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ตามดุลยพินิจของคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ)
  2. คณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ พิจารณาแล้วเห็นสมควรให้มีสิทธิ์สมัครเข้าศึกษาได้


สําหรับผู้สมัครที่สําเร็จระดับอนุปริญญา/เทียบเท่ามาก่อน แล้วจึงมาเรียนต่อในระดับปริญญาตรีหลักสูตร 2 ปี ผู้สมัครต้องนําใบคะแนนรายวิชา (Transcript) ในระดับอนุปริญญา/เทียบเท่า ส่งเป็นเอกสารประกอบการสมัครด้วย


การสมัครสอบ
รับสมัครตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 – วันที่ 31 มีนาคม 2568
  • ผู้สมัครต้องระบุในใบสมัครว่า สมัครเรียนในสายภาษาไทย (แบบที่ 1(1) หรือ แบบที่ 2(1)) หรือสายวรรณคดีไทย (แบบที่ 1(1) หรือ แบบที่ 2(1)) หรือสายคติชนวิทยา (แบบที่ 1(1) หรือ แบบที่ 2(1))
  • ผู้สมัครเรียนสายภาษาไทยต้องสอบวิชาภาษาไทย ผู้สมัครเรียนสายวรรณคดีไทยต้องสอบวิชาวรรณคดีไทย ผู้สมัครเรียนสายคติชนวิทยาต้องสอบวิชาคติชนวิทยา
  • ผู้สมัครแบบที่ 1(1) ต้องส่งผลงานวิจัยทางไปรษณีย์ลงทะเบียน*มาที่ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 12 อาคารบรมราชกุมารี ถนนพญาไท แขวงวังใหม่ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330” ภายในวันที่ 31 มีนาคม 2568 และส่งโครงร่างวิทยานิพนธ์ที่ประสงค์จะทำวิทยานิพนธ์ในหลักสูตรนี้ ภายในวันที่ 19 เมษายน 2568 ทางอีเมล thaidept@chula.ac.th 

    *ขอความกรุณาส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด

  • ผู้สมัครแบบที่ 2 (1) ต้องส่งโครงร่างวิทยานิพนธ์ที่ประสงค์จะทำวิทยานิพนธ์ในหลักสูตรนี้ภายในวันที่ 19 เมษายน 2568 ทางอีเมล thaidept@chula.ac.th 

หมายเหตุ : โครงร่างวิทยานิพนธ์ของผู้สมัครทั้งแบบที่ 1(1) และแบบที่ 2(1) ประกอบด้วย ชื่อวิทยานิพนธ์ ความเป็นมาของปัญหา ประเด็นคำถามหลักของการวิจัย วัตถุประสงค์ของการวิจัย สมมติฐานของการวิจัย ขอบเขตข้อมูลและวิธีการเก็บข้อมูล แนวคิดทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และรายการอ้างอิง 

กำหนดการจัดสอบ

 *ดูประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์ได้ที่เว็บไซต์ภาควิชาภาษาไทย (https://www.arts.chula.ac.th/thai/) วันที่ 6 พฤษภาคม 2568

คะแนนสอบภาษาอังกฤษ

ผู้ที่ไม่มีผลสอบภาษาอังกฤษ (CU-TEP) ดูรายละเอียดได้จากประกาศ เรื่อง การทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษ และสมัครได้ที่ www.atc.chula.ac.th

ส่งผลการทดสอบความรู้ความสามารถทางภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่ภาควิชาภาษาไทย ภายในวันที่ 8 พฤษภาคม 2568 หากไม่มีคะแนนภาษาอังกฤษตามเกณฑ์ไม่รับเข้าศึกษา


การประกาศผล
  • ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน 4 เมษายน 2568 ที่ บัณฑิตวิทยาลัย หรือ www.grad.chula.ac.th
  • ประกาศผลการสอบคัดเลือก 21 พฤษภาคม 2568 ที่ บัณฑิตวิทยาลัย หรือ www.grad.chula.ac.th


หากผู้สมัครมีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ์สมัคร
ติดต่อได้ที่ คุณสรรพพร เรไรวรรณ อีเมล : thaidept@chula.ac.th โทร. 0-2218-1871 
หรือที่ Website : www.grad.chula.ac.th

ขั้นตอนการรับสมัคร

รับสมัครตั้งแต่

1 กุมภาพันธ์ 2568 –
31 มีนาคม 2568

ประกาศรายชื่อ
ผู้มีสิทธิ์สอบข้อเขียน
4 เมษายน 2568

สอบข้อเขียน
 19 เมษายน 2568

ประกาศรายชื่อ
ผู้มีสิทธิ์สอบสัมภาษณ์
6 พฤษภาคม 2568

สอบสัมภาษณ์
13 พฤษภาคม 2568

ประกาศผลการสอบคัดเลือก
21 พฤษภาคม 2568

ส่งผลสอบภาษาอังกฤษ
ภายใน 8 พฤษภาคม 2568

แชร์หน้านี้: