หลักสูตรปริญญาเอก

หลักสูตรอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2561)

1. โครงสร้างหลักสูตร

แบบ 1.1
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิตที่มีประสบการณ์การวิจัยและมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 66 หน่วยกิต

  • จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน 
  • จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 66 หน่วยกิต 

นิสิตอาจต้องเรียนรายวิชาเพิ่มเติมตามความเห็นของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ทั้งนี้โดยประเมินผลเป็น   S / U และไม่นับหน่วยกิตให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร

แบบ 1.2
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาบัณฑิตที่มีประสบการณ์การวิจัยและมีผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 78 หน่วยกิต

  • จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน  – หน่วยกิต
  • จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 78 หน่วยกิต

นิสิตอาจต้องเรียนรายวิชาเพิ่มเติมตามความเห็นของคณะกรรมการบริหารหลักสูตร
ทั้งนี้โดยประเมินผลเป็น   S / U และไม่นับหน่วยกิตให้เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร

แบบ 2.1
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญามหาบัณฑิต

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 66 หน่วยกิต

  • จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน  18 หน่วยกิต
    • รายวิชาเลือก 18 หน่วยกิต
  • จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต
แบบ 2.2
สำหรับผู้สำเร็จการศึกษาปริญญาบัณฑิต

จำนวนหน่วยกิตตลอดหลักสูตร 78 หน่วยกิต

  • จำนวนหน่วยกิตรายวิชาเรียน  30 หน่วยกิต
    • รายวิชาบังคับ 12 หน่วยกิต
    • รายวิชาเลือก 18 หน่วยกิต
  • จำนวนหน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 48 หน่วยกิต

2. แผนการศึกษา

แบบ 1.1

ปีการศึกษาภาคการศึกษาต้นภาคการศึกษาปลาย
ปีที่ 1วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
ปีที่ 2วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
ปีที่ 3วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิต

แบบ 1.2

ปีการศึกษาภาคการศึกษาต้นภาคการศึกษาปลาย
ปีที่ 1วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
ปีที่ 2วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
ปีที่ 3วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิต
ปีที่ 4วิทยานิพนธ์ 6 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 6 หน่วยกิต

แบบ 2.1

ปีการศึกษาภาคการศึกษาต้นภาคการศึกษาปลาย
ปีที่ 1รายวิชาเลือก 9 หน่วยกิตรายวิชาเลือก 9 หน่วยกิต
ปีที่ 2วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต
ปีที่ 3วิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 12 หน่วยกิต

แบบ 2.2

ปีการศึกษาภาคการศึกษาต้นภาคการศึกษาปลาย
ปีที่ 1รายวิชาบังคับ 12 หน่วยกิตรายวิชาเลือก 12 หน่วยกิต
ปีที่ 2รายวิชาเลือก 6 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิต
วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิต
ปีที่ 3วิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 9 หน่วยกิต
ปีที่ 4วิทยานิพนธ์ 6 หน่วยกิตวิทยานิพนธ์ 6 หน่วยกิต

3. คำอธิบายรายวิชา

รหัสวิชาชื่อวิชาคำอธิบายรายวิชา
2201606ภาษากับวรรณกรรมไทย (3 นก.) ความสัมพันธ์ระหว่างภาษาไทยกับวรรณกรรมไทย การใช้วัจนลีลาศาสตร์เชิงวรรณศิลป์วิเคราะห์วรรณกรรมไทย
2201607ภาษากับวัฒนธรรมไทย (3 นก.) โลกทัศน์และวัฒนธรรมในภาษาไทย
2201609อรรถวิเคราะห์ (3 นก.) การวิเคราะห์ความหมายของคำและประโยคในภาษาไทยตามแนวทฤษฎีทางความหมาย
2201610วิวิธวิธีวิจัยภาษาไทย (3 นก.) ทฤษฎีภาษาศาสตร์ นิรุกติศาสตร์ การสื่อสาร และคติชนวิทยาที่ใช้วิจัยภาษาไทย
2201611การศึกษาภาษาไทยถิ่น (3 นก.) ความเหมือนและความต่างระหว่างภาษาไทยถิ่นต่างๆ การเขียนแผนที่ภาษาถิ่น
2201612ภาษาไทเชิงประวัติและภาษาไทเปรียบเทียบ (3 นก.) ภาษาไทเชิงประวัติ การสืบสร้างภาษาไทดั้งเดิมและการเปรียบเทียบภาษาตระกูลไท
2201616คติชนประยุกต์ (3 นก.)ความหมายและความเป็นมาของคติชนประยุกต์ ประเด็นทางสังคมและวัฒนธรรมจากมุมมองเชิงทฤษฎีและระเบียบวิธีคติชนวิทยา การประยุกต์ใช้ทฤษฎีและระเบียบวิธีคติชนวิทยาเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคมและวัฒนธรรม
2201620โครงสร้างของประโยคในภาษาไทย (3 นก.)การวิเคราะห์หมวดคำชนิดต่างๆ ส่วนประกอบและโครงสร้างของวลีและประโยคชนิดต่างๆ
2201622การเขียนขั้นสูง (3 นก.) การวิเคราะห์และฝึกเขียนงานเขียนประเภทต่างๆ การใช้ภาษาไทยเพื่อนำเสนอในสื่อรูปแบบต่างๆ
2201623การอ่านตีความขั้นสูง (3 นก.) หลักและวิธีการอ่านตีความตัวบทประเภทต่างๆ เพื่อวินิจสาร
2201624การพูดขั้นสูง (3 นก.) ทักษะการพูดในที่ชุมนุมชน การเตรียมและกล่าวคำกล่าวแบบต่างๆ การนำเสนอรายงาน
2201626สัทศาสตร์และสัทวิทยาภาษาไทย (3 นก.) การวิเคราะห์ระบบเสียงภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีสัทวิทยาสำนักต่างๆ
2201630ภาษาของประเทศใกล้เคียง (3 นก.) ระบบไวยากรณ์และระบบการเขียนของภาษาใดภาษาหนึ่งต่อไปนี้ : ภาษาเขมร ลาว มอญ มลายู พม่า จีนกลาง
เวียดนาม ความสัมพันธ์ของภาษาดังกล่าวกับภาษาไทย
2201631ภาษาไทยกับการแปรทางสังคม (3 นก.) ภาษาย่อยของภาษาไทยที่แปรตามปัจจัยทางสังคม และการใช้ทำเนียบภาษาของไทยที่แปรตามสถานการณ์
การใช้
2201632ปริจเฉทในภาษาไทย (3 นก.) การวิเคราะห์ปริจเฉทแบบต่างๆในภาษาไทยตามแนวทฤษฎีปริจเฉทวิเคราะห์
2201637ระบบคำภาษาไทย (3 นก.) การวิเคราะห์ระบบคำภาษาไทยโดยใช้ทฤษฎีภาษาศาสตร์
2201655ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ (3 นก.) ทฤษฎีการวิจารณ์วรรณคดีตะวันออกและตะวันตกเพื่อศึกษาการวิจารณ์วรรณคดีไทย
2201660วรรณกรรมชนชาติไท (3 นก.) พื้นฐานสังคมวัฒนธรรมของคนไท องค์ความรู้และลักษณะของคติชนและวรรณกรรมของชนชาติไท บทบาท
หน้าที่ และการถ่ายทอดคติชนและวรรณกรรมในสังคมวัฒนธรรมของชนชาติไท
2201661วรรณคดีพุทธศาสนาพากย์ไทย (3 นก.) วรรณคดีพุทธศาสนาที่แปลมาจากภาษาบาลี สันสกฤต และที่แต่งขึ้นในประเทศไทย
2201663ฉันทลักษณ์ไทย (3 นก.)รูปแบบและวิวัฒนาการของบทเพลงพื้นบ้านและวรรณคดีไทย และความสัมพันธ์ของคำประพันธ์กับเนื้อหา
2201664วรรณคดีไทยเฉพาะสมัย (3 นก.) วรรณคดีไทยสมัยใดสมัยหนึ่ง ลักษณะร่วมทางจารีตวรรณคดีของสมัยดังกล่าว ทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา
การใช้ภาษา รวมทั้งกลวิธีการแต่ง
2201665วรรณคดีไทยเฉพาะประเภท (3 นก.) วรรณคดีไทยประเภทใดประเภทหนึ่ง ความสัมพันธ์และพัฒนาการภายในกลุ่ม ความหลากหลายทั้งในด้านรูปแบบ เนื้อหา แนวคิด และการแสดงออก
2201666วรรณคดีเอกของไทย (3 นก.) การวิเคราะห์วรรณคดีไทยที่ได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศจากวงการวรรณคดี
2201668วรรณคดีไทยสัมพันธ์ (3 นก.) ประเด็นศึกษาเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีไทยกับวรรณคดีชาติอื่น หรือความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดี
ไทยกับศาสตร์สาขาอื่นๆ
2201669ทฤษฎีสื่อกับการศึกษาวรรณกรรมไทย (3 นก.)กรอบแนวคิดต่างๆ ของทฤษฎีสื่อ ได้แก่ การศึกษาภาพถ่าย ภาพยนตร์ และสื่อดิจิทัลอื่นๆ การประยุกต์ใช้กรอบแนวคิดของทฤษฎีสื่อในการวิเคราะห์วรรณกรรมไทย
2201671การศึกษาวรรณกรรมไทยเชิงสังคมและวัฒนธรรม (3 นก.) วิเคราะห์วรรณกรรมไทยในแง่สังคมและวัฒนธรรมในบริบททางสังคมและวัฒนธรรมของผู้แต่งและผู้อ่าน
2201680ทฤษฎีคติชนวิทยา (3 นก.) ประวัติความเป็นมาของการศึกษาคติชนวิทยา ทฤษฎีต่างๆที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคติชน บทบาทและหน้าที่
ของคติชนในบริบททางสังคมและวัฒนธรรม
2201681วรรณคดีท้องถิ่นเปรียบเทียบ (3 นก.) การเปรียบเทียบวรรณคดีท้องถิ่นต่างๆ ในด้านที่มา เนื้อหา รูปแบบ ความคิดเห็น และการแสดงออกทางวัฒนธรรม
2201683การวิจัยภาคสนามทางคติชนวิทยา (3 นก.) วิธีวิทยาการวิจัย และการปฏิบัติการภาคสนามทางคติชนวิทยา
2201705วิธีวิทยาการวิจัย (3 นก.) วิธีวิทยาการวิจัยเพื่อศึกษาภาษาไทย วรรณคดีไทย และคติชนวิทยา การวิเคราะห์และอภิปรายตัวอย่างงานวิจัยที่ดี
เพื่อประยุกต์ใช้ในการออกแบบงานวิจัยของนิสิต
2201719ภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง (3 นก.)แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง ได้แก่ การรับภาษาที่สอง การถ่ายโอนทางภาษา การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม ประเด็นทางภาษาและวรรณกรรมไทยที่เป็นประโยชน์ต่อการเรียนภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง
2201720สัมมนาภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง (3 นก.)ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับภาษาไทยในฐานะภาษาที่สอง
2201721สัมมนาภาษาไทยปัจจุบัน (3 นก.) การวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน
2201725สัมมนาภาษาต่างประเทศที่สัมพันธ์กับภาษาไทย (3 นก.)การวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับศัพท์และถ้อยคำสำนวนภาษาต่างประเทศในภาษาไทย การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยที่เกิดจากอิทธิพลของภาษาต่างประเทศ
2201731สัมมนาภาษาไทยสมัยต่างๆ (3 นก.) การวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับภาษาไทยสมัยต่างๆ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยถึงรัตนโกสินทร์ เน้นสมัยใดสมัยหนึ่งเป็นพิเศษ
2201751สัมมนาวรรณคดีไทยต่างสมัย (3 นก.) การวิเคราะห์และอภิปรายวรรณคดีไทยประเภทเดียวกัน หรือเรื่องเดียวกันที่แต่งต่างสมัย
2201752 สัมมนาวรรณกรรมไทยปัจจุบัน (3 นก.) การวิเคราะห์และอภิปรายมิติต่างๆ ของวรรณกรรมไทยปัจจุบัน ทั้งกวีนิพนธ์ นวนิยาย เรื่องสั้น สารคดีและรูปแบบงานวรรณศิลป์ร่วมสมัยอื่นๆ
2201753สัมมนาวรรณคดีไทยที่มาจากวรรณคดีต่างประเทศ (3 นก.) การวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับที่มา รูปแบบ เนื้อหา แนวคิด และคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ของวรรณคดีไทยที่แปลหรือนำเค้าเรื่องมาจากวรรณคดีต่างประเทศ
2201772สัมมนานวนิยายและเรื่องสั้น (3 นก.) การวิเคราะห์และอภิปรายมิติต่างๆ ของการสร้างงาน การเสพงาน และการประเมินค่าของนวนิยายและเรื่องสั้นไทยร่วมสมัย
2201782สัมมนาคติชนสมัยใหม่ (3 นก.) การวิเคราะห์และอภิปรายข้อมูลคติชนสมัยใหม่ที่ปรากฏในสื่อประเภทต่างๆ
2201783การวิเคราะห์ภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์ (3 นก.) การวิเคราะห์ถ้อยคำและการปฏิสัมพันธ์แบบต่างๆในภาษาไทยตามแนววัจนปฏิบัติศาสตร์
2201784สัมมนาภาษาสื่อสารมวลชน (3 นก.) การวิเคราะห์และอภิปรายเกี่ยวกับภาษาไทยที่ปรากฏในสื่อประเภทต่างๆ
2201787วรรณคดีของประเทศใกล้เคียง (3 นก.) ประวัติและพัฒนาการวรรณคดีของประเทศใดประเทศหนึ่งต่อไปนี้ ลาว เขมร พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย เวียดนาม จีน อินเดีย ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณคดีของประเทศดังกล่าวกับวรรณคดีไทย
2201788คติชนกับวรรณคดีไทย (3 นก.) ความสัมพันธ์ระหว่างคติชนกับวรรณคดีไทย ได้แก่ วรรณคดีราชสำนัก วรรณคดีท้องถิ่น และวรรณกรรมปัจจุบัน
2201790วัจนปฏิบัติศาสตร์ภาษาระหว่างกลางและวัจนปฏิบัติศาสตร์ระหว่างวัฒนธรรมกับการศึกษาภาษาไทย (3 นก.) แนวคิดที่เกี่ยวข้องกับวัจนปฏิบัติศาสตร์ภาษาระหว่างกลางและวัจนปฏิบัติศาสตร์ระหว่างวัฒนธรรม วิธีการเก็บข้อมูล หัวข้อวิจัย การประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ภาษาไทย
2201835สัมมนาคติชนกับวรรณกรรมท้องถิ่น (3 นก.) ความสัมพันธ์ระหว่างคติชนประเภทต่างๆ กับวรรณกรรมท้องถิ่นภาคต่างๆของไทย
2201836 สัมมนาวรรณคดีเฉพาะแบบ (3 นก.) ลักษณะของวรรณคดีเฉพาะแบบใดแบบหนึ่ง ประวัติและวิวัฒนาการของวรรณคดีแบบนั้นๆ แนวความคิดของกวีแบบแผนของคำประพันธ์ที่ใช้ อิทธิพลของวรรณคดีเฉพาะแบบ
2201837สัมมนาวรรณคดีพุทธศาสนา (3 นก.) วรรณคดีสำคัญทางพุทธศาสนา ตั้งแต่สมัยเริ่มแรกจนปัจจุบัน ทั้งฉบับภาษาสันสกฤต บาลี ไทย และฉบับแปลเป็นภาษาอังกฤษ ทั้งนิกายมหายานและหีนยาน
2201838 สัมมนาวรรณกรรมพื้นบ้านไทย (3 นก.) ลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะของวรรณกรรมพื้นบ้าน ความสัมพันธ์ระหว่างวรรณกรรมพื้นบ้านกับวรรณคดีไทยและสังคมไทย
2201839สัมมนางานวิจัยคติชนไทย (3 นก.) สถานภาพและทิศทางของงานวิจัยคติชนประเภทต่างๆ ของไทยทั้งในรูปของบทความวิจัย และงานวิจัยวิทยานิพนธ์
2201840สัมมนาทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์ (3 นก.)ทฤษฎีวรรณคดีวิจารณ์และการใช้ทฤษฎีต่างๆ ในการวิจารณ์วรรณคดีไทย
2201841งานภาคสนามเพื่อการวิจัยทางคติชนวิทยา (3 นก.) การออกแบบและพัฒนาโครงการวิจัยคติชน วิธีวิทยาการวิจัยภาคสนาม การเขียนรายงานวิจัยทางคติชนวิทยา
2201842วรรณคดีกับสังคมไทย (3 นก.) ลักษณะและคุณค่าของวรรณคดีไทยและความเกี่ยวข้องกับสังคมไทย
2201843สัมมนาวรรณคดีชาดก (3 นก.) วรรณคดีนิบาตชาดกและชาดกประเภทอื่น ในด้านเนื้อหา รูปแบบ คุณค่า และอิทธิพลที่มีต่อวรรณคดีไทย
2201844ประเด็นศึกษาพิเศษทางคติชนวิทยา (3 นก.)ประเด็นศึกษาพิเศษ หรือแนวโน้มทางคติชนวิทยา ความสำคัญและพลวัตของข้อมูลทางคติชนหรือคติชนวิทยา
2201845สัมมนาทฤษฎีคติชนวิทยา (3 นก.)ทฤษฎีคติชนวิทยา และการนำมาปรับใช้กับการศึกษาคติชนในสังคมไทย
2201846 การศึกษาวรรณคดีไทยในเชิงมานุษยวิทยา (3 นก.) วรรณคดีไทยในมิติต่างๆ โดยใช้แนวคิดทางมานุษยวิทยา
2201847 สัมมนาคติชนเปรียบเทียบ (3 นก.) การเปรียบเทียบคติชนประเภทต่างๆ หรือคติชนในวัฒนธรรมต่างๆ ความสัมพันธ์ระหว่างคติชนกับศิลปะประเภทอื่นๆ
2201848สัมมนาภาษากับคติชน (3 นก.) ความสัมพันธ์ระหว่างภาษากับคติชนในลักษณะต่างๆ
2201849 เทวปกรณ์ของอินเดียที่สัมพันธ์กับวรรณคดีไทย (3 นก.)เทวปกรณ์อินเดียที่มีความสัมพันธ์กับวรรณคดีไทยและวัฒนธรรมไทย
2201851สัมมนาคติชนสมัยใหม่และวัฒนธรรมประชานิยม (3 นก.) ลักษณะและบทบาทหน้าที่ของคติชนสมัยใหม่และวัฒนธรรมประชานิยม
2201852สัมมนาคติชนเฉพาะประเภท (3 นก.)รูปแบบ เนื้อหา และบทบาทหน้าที่ในสังคมของคติชนประเภทใดประเภทหนึ่งหรือหลายประเภท
2201853สัมมนาวรรณคดีสุโขทัย (3 นก.) ลักษณะและคุณค่าของวรรณคดีไทยที่แต่งในสมัยสุโขทัย ตลอดจนความสัมพันธ์กับสังคม
2201854สัมมนาบทประพันธ์ของบุคคลสำคัญ (3 นก.)ผลงานทางด้านการประพันธ์ของบุคคลสำคัญของไทย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 จนถึงปัจจุบัน
2201855สัมมนาวรรณคดีรัตนโกสินทร์ (3 นก.) ลักษณะและคุณค่าของวรรณคดีที่แต่งในสมัยรัตนโกสินทร์ ตลอดจนความสัมพันธ์กับสังคม
2201856สัมมนาวรรณคดีอยุธยา (3 นก.) ลักษณะและคุณค่าของวรรณคดีไทยที่แต่งในสมัยอยุธยา ตลอดจนความสัมพันธ์กับสังคม
2201857สัมมนาตำนานกับพิธีกรรม (3 นก.) แนวคิดและทฤษฎีทางคติชนวิทยาและมานุษยวิทยาเกี่ยวกับตำนานและพิธีกรรม งานวิจัยทั้งของต่างประเทศและของไทยที่เกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างตำนานกับพิธีกรรม
2201858มานุษยวิทยาศาสนา (3 นก.) แนวคิดและทฤษฎีทางมานุษยวิทยาเกี่ยวกับกำเนิด พัฒนาการ และบทบาทหน้าที่ของระบบความเชื่อและศาสนาในสังคม
2201859สัมมนาคติชนและวรรณกรรมชนชาติไท (3 นก.)รูปแบบ เนื้อหา และบทบาทหน้าที่ของคติชนและวรรณกรรมท้องถิ่นในวัฒนธรรมของชนชาติไทกลุ่มต่างๆ
2201860จารึกและอักษรไทย (3 นก.)ลักษณะและประวัติอักษร มอญ พม่า ลาว สิงหล และไทยโบราณ และอักขรวิธีแบบต่าง ๆ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
2201862สัมมนาภาษาไทยปัจจุบัน (3 นก.)ปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับลักษณะภาษาไทยและการใช้ภาษาไทยในปัจจุบัน
2201863สัมมนาภาษาไทยสมัยเก่า (3 นก.)ปัญหาภาษาที่ปรากฏในจารึก และเอกสารที่แต่งในสมัยสุโขทัย อยุธยาและรัตนโกสินทร์
2201864สัมมนาภาษาต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับภาษาไทย (3 นก.)ลักษณะคำภาษาต่างประเทศที่มีใช้ในภาษาไทย
2201865ภาษาไทยวิเคราะห์ (3 นก.)โครงสร้างภาษาไทย และอภิปรายปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการวิเคราะห์โครงสร้างภาษาไทย
2201866วิวัฒนาการของภาษาไทย (3 นก.)การเปลี่ยนแปลงของภาษาไทยในด้านต่างๆ ตั้งแต่สมัยสุโขทัยมาจนปัจจุบัน
2201867ภาษาไทยกับสังคมไทย (3 นก.)ความสัมพันธ์ของภาษาไทยกับสังคมไทยและการแปรของภาษาตามปัจจัยทางสังคม
2201868พจนานุกรม (3 นก.)เปรียบเทียบหลักการทางพจนานุกรมแบบต่างๆ เปรียบเทียบพจนานุกรมภาษาไทยกับพจนานุกรมภาษาต่างประเทศ
2201869สัมมนาภาษาตระกูลไท (3 นก.)ลักษณะภาษาไทถิ่นต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศ
2201870สัมมนาภาษาไทเปรียบเทียบ (3 นก.)เปรียบเทียบภาษาไทถิ่นต่างๆ ทั้งในและนอกประเทศเพื่อสืบสร้างภาษาดั้งเดิม
2201871สัมมนาการปฏิสัมพันธ์ในภาษาไทย (3 นก.)ลักษณะการปฏิสัมพันธ์ในภาษาไทย แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้วิเคราะห์การปฏิสัมพันธ์ ปัจจัยสังคมวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้อง
2201873การศึกษาพิเศษทางภาษาศาสตร์ภาษาไทย (3 นก.)ประเด็นศึกษาเกี่ยวกับการวิเคราะห์ภาษาไทยตามทฤษฎีภาษาศาสตร์
2201879การศึกษาพิเศษทางคติชนวิทยา 1 (3 นก.)หัวข้อคัดสรรเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องเกี่ยวกับคติชนวิทยา
2201880การศึกษาพิเศษทางคติชนวิทยา 2 (3 นก.)หัวข้อคัดสรรเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องเกี่ยวกับคติชนวิทยา
2201884สัมมนาวรรณกรรมไทยปัจจุบัน (3 นก.)รูปแบบของวรรณกรรมไทยปัจจุบัน จำแนกประเภทตามลักษณะเนื้อหาและแนวความคิด วิเคราะห์ลักษณะเฉพาะ แนวโน้ม และอิทธิพลต่างประเทศที่มีต่อวรรณกรรมไทยปัจจุบัน พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างสังคมกับวรรณกรรมไทยปัจจุบัน การประเมินคุณค่า และปัญหาการส่งเสริมการแต่งวรรณกรรม
2201885การศึกษาพิเศษทางภาษาไทย (3 นก.)กำหนดหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องเกี่ยวกับภาษาไทยและศึกษาค้นคว้าอย่างละเอียดลึกซึ้ง
2201886การศึกษาพิเศษทางวรรณคดีไทย 1 (3 นก.)กำหนดหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดีไทย ให้นิสิตศึกษาค้นคว้า
2201887การศึกษาพิเศษทางวรรณคดีไทย 2 (3 นก.)กำหนดหัวข้อเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือหลายเรื่องเกี่ยวกับวรรณคดีไทย ให้นิสิตศึกษาค้นคว้า
2201894สัมมนาวิทยานิพนธ์ระดับดุษฎีบัณฑิต (S/U)โครงร่างวิทยานิพนธ์ด้านภาษาไทยและวรรณคดีไทย การนำเสนอความก้าวหน้าในการทำวิทยานิพนธ์
2201897การสอบวัดคุณสมบัติ (S/U)
2201828วิทยานิพนธ์ (48 นก.)(สำหรับหลักสูตรแบบ 2.1 และ 2.2)
2201832วิทยานิพนธ์ (66 นก.)(สำหรับหลักสูตรแบบ 1.1)
2201834วิทยานิพนธ์ (78 นก.)(สำหรับหลักสูตรแบบ 1.2)

แชร์หน้านี้: