กิจกรรมวิชาการ,  ข่าว/กิจกรรมประชาสัมพันธ์

ข้อแนะนำในการสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้

ข้อแนะนำสำหรับท่านที่สนใจสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกของสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต/ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาบาลี-สันสกฤต และพุทธศาสนศึกษา

ท่านสามารถค้นหลักสูตรที่เปิดรับสมัคร ในเว็บไซต์ของบัณฑิตวิทยาลัย

https://www.register.gradchula.com/apply/register

ด้วยรหัส

3222 ปริญญาโท (สมัครด้วยวุฒิป. ตรี)

3223 ปริญญาเอก (สมัครด้วยวุฒิป. โท ทำวิทยานิพนธ์ล้วน 60 หน่วยกิต *เหมาะสำหรับผู้ที่มีพื้นฐานตรงกับแขนงวิชาและประสบการณ์การวิจัยแล้ว)

3224 ปริญญาเอก (สมัครด้วยวุฒิป. ตรี ทำวิทยานิพนธ์ล้วน 72 หน่วยกิต *มีความรู้ตรงกับแขนงที่จะเรียน ต้องมีแผนการศึกษาวิจัยที่ค่อนข้างแน่ชัด และพอจะมีประสบการณ์การวิจัย หรือ มีความสามารถทางวิชาการดี)

3225 ปริญญาเอก (สมัครด้วยวุฒิป. โท มีคอร์สเวิร์ค และวิทยานิพนธ์ *การเรียนคอร์สเวิร์คช่วยปรับพื้นฐาน และสร้างความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ในการทำวิจัย)

3226 ปริญญาเอก (สมัครด้วยวุฒิป. ตรี มีคอร์สเวิร์ค และวิทยานิพนธ์ *การเรียนคอร์สเวิร์คช่วยปรับพื้นฐาน และสร้างความรู้ที่จะเป็นประโยชน์ในการทำวิจัย)

สิ่งสำคัญในการสอบ
1. ผลคะแนนภาษาอังกฤษ ที่ตรงตามที่บัณฑิตวิทยาลัยกำหนด
2. แผนการวิจัย/ หัวข้อการวิจัย ที่แสดงให้กรรมการสอบเห็นศักยภาพทางวิชาการของท่าน

ข้อแนะนำ
หนังสือที่ควรอ่านเพื่อเป็นความรู้ในการสอบ

ด้านภารตวิทยา วรรณคดีบาลี สันสกฤต เช่น ภารตวิทยา (กรุณา-เรืองอุไร กุศลาสัย) อินเดียมหัศจรรย์ (งานแปลจาก The Wonder that was India) ประวัติวรรณคดีบาลีในอินเดียและลังกา (สุภาพรรณ ณ บางช้าง) Handbook of Pali Literature (Oskar von Hinüber) ประวัติวรรณคดีสันสกฤต (ผู้แต่ง เช่น จำลอง สารพัดนึก, มณีปิ่น พรหมสุทธิรักษ์ เป็นต้น) History of Indian Literature (M. Winternitz) เป็นต้น

ด้านพุทธศาสนศึกษา เช่น กาลานุกรมพระพุทธศาสนาในอารยธรรมโลก, พุทธธรรม (ป.อ. ปยุตโต) ประวัติพุทธศาสนา (ควรเป็นเล่มที่ปรับปรุงใหม่) พุทธศาสนามหายาน (สุมาลี มหณรงค์ชัย) History of Indian Buddhism (E. Lamotte) The foundation of Buddhism (Rupert Gethin) The World of Buddhism (H. Bechert and R. Gombrich) A concise History of Buddhism (A. Skilton) เป็นต้น

วิชาที่จะสอบ

1. ข้อสอบร่วมแขนง : ความรู้ด้านภารตวิทยา
2. ข้อสอบวิชาเฉพาะแขนง :
แขนงภาษาบาลีและสันสกฤต: ความรู้ด้านประวัติศาสตร์วรรณคดีบาลี/สันสกฤต และ บทคัดสรรจากวรรณคดีบาลีหรือสันสกฤต หรือ ภาษาบาลีสันสกฤตในภาษาไทยเชิงภาษาศาสตร์ (ให้เลือกทำ)
แขนงพุทธศาสนศึกษา: ประวัติและอารยธรรมพุทธศาสนา และ แนวคิดสำคัญในพุทธศาสนา

หากท่านพร้อมแล้ว อย่ารอช้ารีบสมัครนะคะ