อ.ม. สายการแปล (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2566

หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาการแปลและการล่าม (สายการแปล) (หลักสูตรปรับปรุง) พ.ศ. 2566 Master of Arts Program in Translation and Interpretation: Translation โครงสร้างหลักสูตร จำนวนหน่วยกิตรวมตลอดหลักสูตร                             36       หน่วยกิต ระยะเวลาการศึกษาไม่ต่ำกว่า  2  ปี ไม่เกิน 4 ปีนับจากปีการศึกษาแรกที่รับเข้าศึกษาในหลักสูตร แผน ก แบบ …

สรุปกำหนดการสอบ-ส่งสารนิพนธ์ ปีการศึกษา 2566

กำหนดการการสอบและส่งสารนิพนธ์ ปีการศึกษา 2566 สำหรับนิสิตรุ่น 18 ภาคการศึกษาต้น ภาคการศึกษาปลาย การดำเนินงาน รอบที่ 1: 26 มิถุนายน – 7 กรกฎาคม 2566 (เวลา 23.59 น.) รอบที่ 2: 21 – 26 กรกฎาคม 2566 (เวลา 23.59 น.) รอบที่ …

การดำเนินงานสารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์

การดำเนินงานสารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ วันสุดท้ายของการส่งวิทยานิพนธ์/สารนิพนธ์ฉบับสมบูรณ์ในระบบ iThesis คือ ภาคการศึกษาต้น  ปีการศึกษา 2566: วันศุกร์ที่ 15 ธันวาคม 2566 ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2566: วันศุกร์ที่ 19 กรกฎาคม 2567   เอกสารเกี่ยวกับการดำเนินงานสารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ + คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบ  ที่ SR & THESIS คู่มือการดำเนินงานสารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ คู่มือ SR & THESIS อินโฟกราฟฟิกสรุปการสอบและส่งสารนิพนธ์และวิทยานิพนธ์ …

เอกสารสำหรับนิสิตปริญญาโท สาขาวิชาการแปลและการล่าม

เอกสารสำหรับนิสิตปริญญาโท สาขาวิชาการแปลและการล่าม  ที่ https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1lJzksZ1sosDitEWD7iUb9BUjlUyXv0Pz เอกสารสำหรับนิสิตใหม่ปริญญาโท สาขาวิชาการแปลและการล่าม (สายการแปล)  ที่ https://drive.google.com/drive/u/0/folders/1uHEohE1hhJUFr6E3O3n_Krei8kHSNQiA    

Transla Talk ครั้งที่ 5

TranslaTalk ครั้งที่ 5 ในหัวข้อ “ถึงเวลาหรือยังที่เราต้องมี ‘มาตรฐานล่าม’ ” งานนี้ทางศูนย์การแปลและการล่ามฯ ได้รับเกียรติจากวิทยากรที่จะมาร่วมพูดคุยด้วยถึง 3 ท่านด้วยกัน ได้แก่ ผศ.ดร.หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คุณปกรณ์ กฤษประจันต์ และคุณทัศนีย์ กีรติรัตน์วัฒนา จากสมาคมนักแปลและล่ามแห่งประเทศไทย ปัจจุบัน ผศ.ดร.หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการล่ามภาษาสเปน-อังกฤษ-ไทย และยังเป็นรองคณบดีคณะอักษรศาสตร์ (ฝ่ายวิจัย) อาจารย์ยังเคยได้รับรางวัลล่ามดีเด่น รางวัลสุรินทราชา ซึ่งถือเป็นรางวัลที่ทรงเกียรติอย่างมากในสายการแปลและการล่าม …

TranslaTalk ครั้งที่ 4

TranslaTalk ครั้งที่ 4 ในหัวข้อ “จะต้องมีอีกกี่เวอร์ชั่น : ชวนคุยเรื่องการแปล Animal Farm (ซึ่งถี่พอๆกับรัฐประหารไทย)” โดย ผศ. ดร.กฤติยา รัตนกานตะดิลก จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในการเสวนาครั้งนี้อาจารย์จะมาชวนเราพูดคุยถึงความน่าสนใจในการแปลเรื่อง Animal Farm เป็นภาษาไทยซ้ำแล้วซ้ำเล่าจนมีไม่รู้กี่สำนวน เบื้องหลังการแปลซ้ำนั้นมีความน่าสนใจอย่างไร ความแตกต่างของแต่ละเวอร์ชั่นได้สร้างแรงกระเพื่อมอะไรให้กับสังคมหรือไม่ หรือมีหลายเวอร์ชั่นเก๋ๆ ไปแค่นั้น?

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การแปล การล่าม และสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง การแปล การล่าม และสื่อสารข้ามวัฒนธรรม หน่วยปฏิบัติการวิจัยการแปล การล่ามและสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการแปลกับวัฒนธรรม การล่ามในบริบทกฎหมาย มาตรฐานวิชาชีพของนักแปล ตลอดจนภาษาศาสตร์คลังข้อมูลด้านการแปล เพื่อให้เข้าใจความสัมพันธ์ระหว่างการสื่อสารกับการแปลและการล่ามในบริบทสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ โดยแบ่งงานวิจัยออกเป็นสามกลุ่ม ได้แก่ การแปล การล่าม และสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ตัวอย่างหัวข้อการวิจัย เช่น การแปลกับวัฒนธรรม การแปลและวรรณกรรมวิจารณ์ ความต้องการนักแปลและล่ามในตลาดแรงงานไทย และภาษาศาสตร์คลังข้อมูลด้านการแปล งานวิจัย / ผลงานเชี่ยวชาญ ทรงศักดิ์ หมัดสะและ. (2563). …

TranslaTalk ครั้งที่ 3

TranslaTalk ครั้งที่ 3 ในหัวข้อ “ถ้าการเมืองดี วรรณกรรมไทยจะไปเวทีโลก : ตีแผ่การแปลวรรณกรรมไทยผ่านมุมสังคมศาสตร์” โดย อาจารย์ ดร.กรญาณ์ เตชะวงค์เสถียร จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล ในการเสวนาครั้งนี้อาจารย์จะมาชวนเราพูดคุยถึง “การแปลวรรณกรรมไทย” ในแง่มุมสังคมศาสตร์ เริ่มจากภาพรวมของการแปลวรรณกรรมไทยให้เป็นภาษาต่างประเทศ ประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับกระบวนการแปล บทบาทขององค์กรจากท้ังภาครัฐและเอกชนกับการแปลวรรณกรรมไทย แล้วการเมืองจะเกี่ยวกับการแปลวรรณกรรมอย่างไร? และความเป็นไปได้ของวรรณกรรมไทยกับความฝันที่จะเดินเข้าสู่เวทีโลกอย่างดาวเด่นนั้น จะมีโอกาสจะเป็นไปได้หรือไม่?

TranslaTalk ครั้งที่ 2

TranslaTalk ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ “แปลรักซีรีส์ไทยให้โดนใจแม่(ยก)จีน : ความอลหม่านของการแปลซับและบทพากย์” โดย อาจารย์ ดร.จูยิน แซ่จาง จากสถาบันภาษา มหาวิทยาลัยบูรพา ในการเสวนาครั้งนี้อาจารย์จะมาชวนเราคุยถึงเรื่องบันเทิงๆ อย่างกระแสซีรีส์ไทยในประเทศจีน การแปลซับไตเติลหรือการพากย์ซีรีส์จากช่องทางทางการและช่องทางของแฟนซับแม่ยกจีนนั้นมีความอลหม่านหรือนัยทางการเมืองแฝงอยู่ ยังไม่นับความน่าสนใจของการแปลเสียงตัวละคร LGBTQ+ เมื่อการเมืองทางวัฒนธรรมของจีนมีแนวโน้มจะควบคุมภาพแทนของคนกลุ่มนี้อีกด้วย

[:th]Transla Talk 1[:]

TranslaTalk ครั้งที่ 1

TranslaTalk ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “มองการเมืองในการแปลผ่านซับไตเติลของนายกฯ” โดย อาจารย์ ดร.ณรงเดช พันธะพุมมี อาจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาโท สาขาวิชาภาษาและการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม จากสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล อาจารย์จะกล่าวถึงประเด็นการแปลว่ามีบทบาทอย่างไรในแง่ของการสื่อสารทางการเมืองอย่างการแปลซับไตเติลคำพูดของนายกฯ ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่ว่าจะเป็นการพูดในรายการ คืนความสุขให้ประชาชน หรือ การให้สัมภาษณ์ของนายกฯ ผ่านรายการของช่อง Al Jazeera