
LanguageAndCulture ep.6 “เป๊ะแต่เด็ก: เทคนิคสร้างรากฐานภาษาอังกฤษของลูกให้แข็งแรง”
📌 “เป๊ะแต่เด็ก: เทคนิคสร้างรากฐานภาษาอังกฤษของลูกให้แข็งแรง” อา. 7 มิ.ย. เวลา 10.00 น. (เปลี่ยนเวลาใหม่ ไม่เหมือนทุก ๆ ep. นะคะ) ⏰
อยากให้ลูกหลานเป๊ะๆ ปังๆ ต้องมาฟัง #LanguageAndCulture ep.6
.
คราวนี้เรามาศึกษาโลกของภาษากันบ้างค่ะ สำหรับ ep. นี้ คุณพ่อ คุณแม่ คุณครูสอนภาษาอังกฤษเตรียมตัวกันให้ดีนะคะ เพราะเราจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับการสอนภาษาอังกฤษแบบ Phonics และ Structured Literacy ให้มากขึ้น มาดูกันว่าการสอนภาษาอังกฤษโดยให้ความสำคัญกับพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กแต่ละวัยช่วยสร้างรากฐานทางด้านภาษาของเด็ก ๆ ได้อย่างไร?
.
ผู้ปกครองและคุณครูหลายท่านอาจจะเคยได้ยินว่าการสอน Phonics เป็นการสอนออกเสียง ทำให้เด็กออกเสียงภาษาอังกฤษได้ถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้น แต่จริง ๆ แล้ว การสอน phonics มีความสำคัญอย่างไร? เหมาะกับเด็กวัยไหน? และสามารถนำไปใช้ได้อย่างไรบ้าง?
.
ชวนกันมาเป๊ะโดย อ.เกียรติภูมิ นันทานุกูล (อ.บูม) อดีตอาจารย์พิเศษภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้เคยอยู่เบื้องหลังสื่อการศึกษาต่าง ๆ เช่น โทรทัศน์ครู, DLIT, และ TED-Ed Thai ปัจจุบัน อ.เกียรติภูมิ กำลังศึกษาต่อด้าน Speech-Language Pathology ณ MGH Institute of Health Professions เมืองบอสตัน ให้บริการการฝึกพูด การเรียนอ่านเขียนแก่เด็กชาวอเมริกัน
.
ผู้สนใจร่วมสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ QR Code ในภาพหรือ click shorturl.at/klnUV เพื่อลงทะเบียนค่ะ ทางเราจะส่ง Link สำหรับเข้าฟังการบรรยายกลับไปทาง email เปิดรับสมัครถึงวันเสาร์ที่ 6 มิ.ย. 63 เวลา 18.00 น.
.
***กรุณา Download application Zoom ไว้ล่วงหน้ากันด้วยนะคะ
**ในครั้งนี้ทางศูนย์บริการวิชาการ จะถ่ายทอดการบรรยายผ่าน LIVE Facebook อีกช่องทางด้วยนะคะ แต่หากใครต้องการร่วมพูดคุย ถามตอบ ขอให้ลงทะเบียนเพื่อรับ Link เข้ากลุ่มฟังบรรยายผ่าน Zoom นะคะ
#AcademicServiceCenterAksornChula
#LanguageAndCulture
#ชวนคุยชวนฟัง
#AcademicService
#ศูนย์บริการวิชาการอักษรฯจุฬาฯ


You May Also Like

นิสิตในรายวิชา “ประวัติวรรณคดีลาตินอเมริกา” ได้ร่วมฟังเสวนาหัวข้อ “La ilusión del discurso indigenista en el Perú en la década de 1920, más allá de la emergencia”
September 8, 2020
กิจกรรมเสวนาออนไลน์ Dramaturg Drama-talk Season 2 EP.1 Design หัวข้อ “งานวิจัยเชิงสร้างสรรค์”
July 7, 2020