ปัจจุบันภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการเรียนการสอนใน 2 ระดับ ดังนี้

ระดับบัณฑิตศึกษา

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์พัฒนาและรับผิดชอบการเรียนการสอนในระดับบัณฑิตศึกษาใน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตร M.A. in Information Studies และ Ph.D. in Information Studies ทั้งสองหลักสูตร จัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ และมีการทำวิทยานิพนธ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของหลักสูตร

Master of Arts in Information studies (English Program)

Last revision: 2018

About this program:
M.A. in Information Studies introduces various issues in information, data, and knowledge management and organization from diverse perspectives. This program aims to enhance post-graduate learners with competencies, skills, mindset, and networks to become critical and efficient information professionals.

Admission:
Please check the admission information on the program website below.

For more information:
https://www.arts.chula.ac.th/libsci/ma-phd/

Doctor of Philosophy in Information Studies (English Program)

Last revision: 2018

About this program:
This doctoral program in Information Studies aims to develop learners to become leaders in information-, data-, and knowledge-oriented society. This program offers a wide variety of learning pathways in order to facilitate learners’ academic and professional goals .

Admission:
Please check the admission information on the program website below.

More information:
https://www.arts.chula.ac.th/libsci/ma-phd/

ระดับปริญญาตรี

ปัจจุบันภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับผิดชอบการเรียนการสอนใน 2 วิชาเอก ในหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต ได้แก่ วิชาเอกสารสนเทศศึกษา และวิชาเอกเทคโนโลยีภาษาและสารสนเทศ

หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต วิชาเอกสารสนเทศศึกษา (Bachelor of Arts in Information Studies)

ปรับปรุงล่าสุด: พ.ศ. 2561

ข้อมูลทั่วไป:
หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต วิชาเอกสารสนเทศศึกษา มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ทักษะ และความสามารถในการจัดการสารสนเทศ ข้อมูล และความรู้ในบริบทต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การรับเข้าศึกษา:
ผู้สนใจที่ศึกษาจะต้องสอบเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิตตามกระบวนการรับเข้าของคณะอักษรศาสตร์ก่อน นิสิตจะต้องทำการเลือกวิชาเอกในปีที่ 2 (ยกเว้นนิสิตที่เข้าศึกษาในโครงการรับตรงพิเศษ เช่น จุฬาฯชนบท นิสิตจะสามารถเลือกวิชาเอกได้เมื่อสอบเข้าศึกษา) และเริ่มเรียนวิชาเอกในภาคต้นของทุกปีการศึกษา

ข้อมูลเพิ่มเติม:
https://www.arts.chula.ac.th/libsci/curriculum/BAIS2018/

หลักสูตร พ.ศ. 2557: https://www.arts.chula.ac.th/libsci/curriculum/BAIS2014/

หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีภาษาและสารสนเทศ (Bachelor of Arts in Language and Information Technology)

ปรับปรุงล่าสุด: พ.ศ. 2561

ข้อมูลทั่วไป:
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์และภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันพัฒนาหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต วิชาเอกเทคโนโลยีภาษาและสารสนเทศ มุ่งเน้นพัฒนาบุคลากรเพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการของประเทศในการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยบูรณาการความรู้ ทักษะ และความเชี่ยวชาญทั้งทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและภาษาศาสตร์ มาใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ของเครื่องและเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์

การรับเข้าศึกษา:
ผู้สนใจที่ศึกษาจะต้องสอบเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิตตามกระบวนการรับเข้าของคณะอักษรศาสตร์ก่อน นิสิตจะต้องทำการเลือกวิชาเอกในปีที่ 2 (ยกเว้นนิสิตที่เข้าศึกษาในโครงการรับตรงพิเศษ เช่น จุฬาฯชนบท นิสิตจะสามารถเลือกวิชาเอกได้เมื่อสอบเข้าศึกษา) และเริ่มเรียนวิชาเอกในภาคต้นของทุกปีการศึกษา

ข้อมูลเพิ่มเติม:
https://www.arts.chula.ac.th/ling/curriculum/langtech/

วิชาโท

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์จัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาโทสำหรับนิสิตในและนอกคณะอักษรศาสตร์ อีก 3 วิชาโท ได้แก่ สารสนเทศศึกษา บรรณาธิการศึกษา และมนุษยศาสตร์ดิจิทัล รวมทั้งยังมีการเปิดเรียนรายวิชาศึกษาทั่วไปสำหรับนิสิตภาคปกติและภาคภาษาอังกฤษอีกด้วย

หลักสูตรอื่น ๆ

นอกจากนี้คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ยังมีส่วนร่วมในการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรสหสาขาวิชาต่าง ๆ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แก่​ หลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต​ สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม​ (ภาษาอังกฤษ)​ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตและวิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจเทคโนโลยีและการจัดการนวัตกรรม และ หลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการแปลและการล่าม

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 02-218-4817 โทรสาร 02-218-4818 อีเมล์