การหารือความร่วมมือระหว่างคณะอักษรศาสตร์กับ Heidelberg University

เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 รศ.ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ คณะอักษรศาสตร์ ผศ.ดร.กัญญา วัฒนกุล ผู้อำนวยการศูนย์ไทยศึกษา ผศ.ดร.เกียรติ เทพช่วยสุข ผู้อำนวยการศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศ ผศ.ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ หัวหน้าสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ให้การต้อนรับ Prof. Dr. Guido Sprenger และ Dr. Benjamin Baumann จาก Heidelberg University สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี นส. ประภาวดี บุญช่วยเกื้อกูล กงสุล สถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และนส. ปทิตตา พรหมสาขา ณ สกลนคร เจ้าหน้าที่ Thailand Foundation กระทรวงการต่างประเทศ การมาเยือนครั้งนี้ได้รับการประสานงานและการสนับสนุนจากสถานกงสุลใหญ่ ณ นครมิวนิก และ Thailand Foundation โดยเป็นการหารือความร่วมมือระหว่างคณะอักษรศาสตร์กับ Heidelberg University […]

พิธีเปิดศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัลและงานประชุม Thailand Digital Humanities Forum 2024

เมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ.2567 ผู้รักษาการรองอธิการบดี รศ.ดร.มาโนช โลหเตปานนท์ ดร.ภาวดี อังค์วัฒนะ รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคนฯ​ (บพค.) คุณสุภามาส ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ร่วมเป็นประธานในการเปิดศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัลและงานประชุม Thailand Digital Humanities Forum 2024 ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เทคโนโลยีดิจิทัลได้เข้ามามีอิทธิพลต่อสังคมโลกในวงกว้าง พัฒนาการอินเตอร์เน็ตทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดด คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตระหนักถึงความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงในโลกดิจิทัลดังกล่าว การจัดตั้งศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัลจึงเป็นความพยายามที่จะตอบรับความท้าทายที่เกิดจากอิทธิพลของเทคโนโลยีดิจิทัลในโลกปัจจุบันและความตั้งใจที่จะสำรวจบทบาทและจุดยืนของมนุษยศาสตร์ในกระแสการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัลจะเป็นพื้นที่ที่ให้คณาจารย์และนิสิตคณะอักษรศาสตร์ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสะท้อนย้อนคิด การปรับตัว และการเรียนรู้ความรู้ใหม่ๆ ที่จะเกิดจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษยศาสตร์กับเทคโนโลยีดิจิทัล นอกจากนี้คณะฯ ยังสนับสนุนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างคณะต่างๆ ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รวมถึงการร่วมมือกับสถาบันอื่นทั้งในประเทศและต่างประเทศ ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัลนี้จะเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน การวิจัย และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์ดิจิทัล คณะอักษรศาสตร์ขอขอบคุณบริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ที่สนับสนุนงบประมาณการจัดตั้งศูนย์ดังกล่าวขึ้น นอกจากการเปิดศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัลแล้ว ยังเป็นการประชุมสรุปผลโครงการการวิจัยต่างๆ ที่คณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับอาจารย์และผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยต่างๆ […]

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่นางสาวภัทรวัลลิ์ โพธิ์อาศัย นิสิตสังกัดวิชาเอกภาษาฝรั่งเศส ชั้นปีที่ 4 ชนะการประกวดโครงการนักศึกษาฝึกงานของบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด

ทางเชฟรอนได้จัดงานมอบทุนให้เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่นางสาวภัทรวัลลิ์ โพธิ์อาศัย นิสิตสังกัดวิชาเอกภาษาฝรั่งเศส ชั้นปีที่ 4 ชนะการประกวดโครงการนักศึกษาฝึกงานของบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้รับทุนการศึกษา 50,000 บาทจากโครงการชื่อ “Item Portal” ทางเชฟรอนได้จัดงานมอบทุนให้เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 ที่ผ่านมา

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พรสรรค์ วัฒนางกูร ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขามนุษยศาสตร์ ประจำปี 2566

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ศาสตราจารย์กิตติคุณ ดร.พรสรรค์ วัฒนางกูร อดีตอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา สาขามนุษยศาสตร์ ประจำปี 2566

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่คุณมนัสชยา ธารีศัพท์ ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรสายปฏิบัติการ “คนดี ศรีจุฬาฯ” ประจำปี 2567

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่คุณมนัสชยา ธารีศัพท์ เจ้าหน้าที่ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรสายปฏิบัติการ “คนดี ศรีจุฬาฯ” กองทุนเพื่อการพัฒนาบุคลากร ประจำปี 2567

คณะอักษรศาสตร์จัดงาน “ด้วยรักและผูกพัน สานสัมพันธ์อักษรศาสตร์” เพื่อแสดงมุทิตาจิตแด่บุคลากรคณะอักษรศาสตร์ เนื่องในโอกาสเกษียณอายุงานและอายุราชการ ประจำปี 2567

เมื่อวันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567 คณะอักษรศาสตร์จัดงาน “ด้วยรักและผูกพัน สานสัมพันธ์อักษรศาสตร์” เพื่อแสดงมุทิตาจิตแด่บุคลากรคณะอักษรศาสตร์ เนื่องในโอกาสเกษียณอายุงานและอายุราชการ ประจำปี 2567 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในปี 2567 นี้ มีบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ เกษียณอายุงานและอายุราชการ จำนวน 4 ท่าน คือ รองศาสตราจารย์ ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล จากภาควิชาภาษาศาสตร์ รองศาสตราจารย์ปรีมา มัลลิกะมาส จากภาควิชาภาษาอังกฤษ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุรีย์ ชุณหเรืองเดช จากภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาจีน และ อาจารย์ ดร.ใกล้รุ่ง อามระดิษ จากภาควิชาภาษาไทย กิจกรรมในงานประกอบด้วยการร้องเพลงประสานเสียง การร้องเพลงโอเปร่า และการแสดงจากคณาจารย์และเจ้าหน้าที่ของภาควิชา และหลักสูตรต่าง ๆ ทำให้บรรยากาศในงานเต็มไปด้วยความรัก ความทรงจำที่ดี และความอบอุ่นที่ชาวอักษรศาสตร์มอบให้แด่ผู้เกษียณฯ ทุกท่าน

ภาควิชาภาษาไทยร่วมกับฝ่ายกิจการนิสิต จัดพิธีถวายสักการะเนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เมื่อวันศุกร์ที่ 20 กันยายน 2567 เวลา 16.30 น. ภาควิชาภาษาไทย ร่วมกับฝ่ายกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีถวายสักการะ เนื่องในวันคล้ายวันพระบรมราชสมภพ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ โถงศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ อาคารมหาวชิราวุธ

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่รองศาสตราจารย์ ดร.นววรรณ พันธุเมธา ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พุทธศักราช 2567

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่รองศาสตราจารย์ ดร.นววรรณ พันธุเมธา อดีตอาจารย์ภาควิชาภาษาไทย อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 29 และอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ดีเด่น ปี 2550 ราชบัณฑิตสำนักศิลปกรรม ประเภทวิชาวรรณศิลป์ สาขาวิชาภาษาไทย ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พุทธศักราช 2567

คณะอักษรศาสตร์ร่วมถวายพวงมาลาเนื่องในวันมหิดล ณ พระสถูปเจดีย์แห่งราชสกุลมหิดล วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร

วันอังคารที่ 24 กันยายน 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ธีรวัฒน์ ธีรพจนี รองคณบดี (รับผิดชอบงานวางแผนและประกันคุณภาพ) พร้อมด้วยผู้ช่วยคณบดี และหัวหน้างานต่าง ๆ ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมถวายพวงมาลา เนื่องในวันมหิดล ณ พระสถูปเจดีย์แห่งราชสกุลมหิดล วัดปทุมวนารามราชวรวิหาร