ขอเชิญชมนิทรรศการ “รัตนแห่งจุฬาฯ” จากพรรณไม้ สู่นวัตกรรม เพื่อความยั่งยืน

ในโอกาสที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุ ๗๐ พรรษา วันที่ ๒ เมษายน ๒๕๖๘ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ศูนย์การค้าสามย่านมิตรทาวน์ และหน่วยงานพันธมิตร ขอเชิญชมนิทรรศการ “รัตนแห่งจุฬาฯ” จากพรรณไม้ สู่นวัตกรรม เพื่อความยั่งยืน ที่จัดขึ้นเพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการอนุรักษ์พืชพรรณไทยและการพัฒนาพรรณไม้ ด้วยนวัตกรรมเพื่อเพิ่มมูลค่าอย่างสร้างสรรค์ และร่วมรับฟังการเสวนาในหัวข้อต่างๆ โดยวิทยากรทั้งจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและภาคเอกชน ตลอดระยะเวลาจัดงานมีบูธจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์จากโครงการในพระราชดำริ ซึ่งต่างนำผลิตภัณฑ์ที่น่าสนใจมาจัดแสดง อาทิ พืชผักผลไม้ปลอดสารพิษของโครงการหลวง สินค้าที่ระลึกของมูลนิธิมหาจักรีสิรินธร เพื่อคณะอักษรศาสตร์ฯ เครื่องจักสานและผ้าทอมือของภัทรพัฒน์ ผลิตภัณฑ์ผักผลไม้แปรรูปของดอยคำ กาแฟดอยตุงและแมคคาเดเมียของมูลนิธิแม่ฟ้าหลวง หนังสือภาพถ่ายฝีพระหัตถ์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๖๗) ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) และผลิตภัณฑ์นวัตกรรมจากพรรณไม้และดอกไม้ เช่น ขนมทองม้วนดอกไม้ น้ำวุ้นดอกไม้ จากร้านดอกไม้บ้านเรา ชาดอกไม้นานาชนิดพร้อมชงจากร้าน […]

ขอเชิญรับฟังการบรรยายย้อนหลัง ในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ตัวตนคนอิตาเลียนในภาพยนตร์อเมริกันแนวตลกอลเวง กับทรรศนะของปรีดี พนมยงค์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาจรีย์ ทาชาติ

ท่านสามารถรับชมการบรรยายย้อนหลังได้ที่นี่ การบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ตัวตนคนอิตาเลียนในภาพยนตร์อเมริกันแนวตลกอลเวง กับทรรศนะของปรีดี พนมยงค์” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาจรีย์ ทาชาติ สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ————————————————————————- “ตัวตนคนอิตาเลียนในภาพยนตร์อเมริกันแนวตลกอลเวง กับทรรศนะของปรีดี พนมยงค์” เมื่อการตีความตัวละครอิตาเลียน ซึ่งสะท้อนมุมมองของ “คนอื่น” ที่มีต่อ “คนอิตาเลียน” ในช่วงเวลาแห่งการประกอบร่างสร้างตัวตนภายใต้ระบอบฟาสซิสต์อิตาลี ไปกระทบเข้ากับเรื่องราวทางการเมืองที่มีความสลับซับซ้อน ผลลัพธ์แรกที่เกิดขึ้นคือ การแบนภาพยนตร์เรื่องนี้ ไปกว่าสิบปี

ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่คณาจารย์ได้รับการอนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 898 วันที่ 27 มีนาคม 2568 ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่คณาจารย์ได้รับการอนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 898 วันที่ 27 มีนาคม 2568 ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้ ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิษฐ์ ศิริจันทร์ (ภาควิชาปรัชญา) 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพวรรณ โสภิตวุฒิวงศ์ (ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น) ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ ดร.เพชรพิไล ลัธธนันท์ (ภาควิชาภูมิศาสตร์) คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่คณาจารย์ได้รับการอนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 898 วันที่ 27 มีนาคม 2568 ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้ ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิษฐ์ ศิริจันทร์ (ภาควิชาปรัชญา) 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพวรรณ โสภิตวุฒิวงศ์ (ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น) ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ อาจารย์ ดร.เพชรพิไล ลัธธนันท์ (ภาควิชาภูมิศาสตร์)

คณะอักษรศาสตร์ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า และเข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ณ บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ เนื่องในโอกาสครบรอบ 108 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ร่วมด้วยคณะผู้บริหารและบุคลากร นายกสมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ฯ และคณะกรรมการ ที่ปรึกษาและผู้อำนวยการสถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมพิธีวางพานพุ่มถวายสักการะ ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สมเด็จพระปิยมหาราชและสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า และเข้าร่วมพิธีทำบุญตักบาตร ณ บริเวณหน้าหอประชุมใหญ่ เนื่องในโอกาสครบรอบ 108 ปีแห่งการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คณะผู้บริหารและบุคลากรจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เข้าเยี่ยมชมคณะอักษรศาสตร์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารงานในศูนย์และโครงการต่างๆ ของคณะ

การนี้ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย ผู้อำนวยศูนย์บริการวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติฯ และบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ เมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ.2568 คณะผู้บริหารและบุคลากรจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นำโดย ผศ.ดร.อรอุษา สุวรรณประเทศ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์ เข้าเยี่ยมชมคณะอักษรศาสตร์เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการบริหารงานในศูนย์และโครงการต่างๆ ของคณะ อาทิ ศูนย์บริการวิชาการ ศูนย์การแปลการล่ามเฉลิมพระเกียรติฯ และโครงการตำราคณะอักษรศาสตร์ การนี้ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัย ผู้อำนวยศูนย์บริการวิชาการ ผู้อำนวยการศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติฯ และบุคลากรคณะอักษรศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ให้การต้อนรับ

Konjunktiv ในภาษาเยอรมัน: รูป ความหมาย หน้าที่วิธีการใช้ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิลิตา ศรีอุฬารพงศ์

หนังสือใหม่ของโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง Konjunktiv ในภาษาเยอรมัน: รูป ความหมาย หน้าที่วิธีการใช้ โดย รองศาสตราจารย์ ดร.วิลิตา ศรีอุฬารพงศ์ สั่งซื้อออนไลน์ลดราคา 10% จาก 280.00 บาท เหลือ 252.00 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่ลิงก์ด้านล่าง http://artschulabooks.lnwshop.com/p/234 หรือติดต่อซื้อหนังสือที่ห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ลดราคา 15% จาก 280.00 บาท เหลือ 238.00 บาท ห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ อาคารมหาวชิราวุธ ห้อง 112 เปิดบริการตั้งแต่ 09.00 น. – 16.30 น. (มีพักเที่ยง 12.00 น. – 13.00 น.) หยุดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ หมายเหตุ 1.โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการไม่มีบริการคืนเงินหลังจากได้รับสินค้า 2. หากต้องการใบเสร็จรับเงิน […]

ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ศาสตราจารย์ ดร.สุเนตร ชุตินธรานนท์ อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ ได้รับการแต่งตั้งเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)

ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์มะเนาะ ยูเด็น อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 23

คณะอักษรศาสตร์ ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์มะเนาะ ยูเด็น อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 23 อักษรศาสตร์ดีเด่น ปี 2554

คณะอักษรศาสตร์ให้การต้อนรับครูและนักเรียนจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา จำนวน 32 คน

เมื่อวันอังคารที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 13.30 – 15.00 น. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้การต้อนรับครูและนักเรียนจากโรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย จังหวัดสงขลา จำนวน 32 คน เนื่องในโอกาสเข้าศึกษาดูงานหลักสูตร แหล่งเรียนรู้ และเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของคณะอักษรศาสตร์ เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและแนะแนวการศึกษาต่อเพื่ออาชีพในอนาคตให้กับนักเรียน โดยมีอาจารย์ ดร.ภณิตา ศิลปวิทยาดิลก ผู้ช่วยคณบดี (รับผิดชอบงานวิชาการ) ให้การต้อนรับ

งานประชุมวิชาการ Consciousness Research Network 2025

ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ CCCN Lab คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเจ้าภาพจัดประชุม Consciousness Research Network 2025 ท่านที่สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ในลิงก์ และ โปสเตอร์ด้านล่างนี้ https://www.conresnet.org/corn-2025.html