คณบดีคณะอักษรศาสตร์มอบกระเช้าและเข้าร่วมกิจกรรมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 58 ปี แห่งการสถาปนาวิทยาลัยประชากรศาสตร์

วันจันทร์ที่ 23 ธันวาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มอบกระเช้าและเข้าร่วมกิจกรรมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 58 ปี แห่งการสถาปนาวิทยาลัยประชากรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้องโถงศูนย์กลางนวัตกรรมทางสังคมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CU Social Innovation Hub)

ของที่ระลึกเพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 108 ปีแห่งการสถาปนาคณะอักษรศาสตร์

เริ่มต้นปีใหม่ด้วยความสุขสันต์กับของขวัญแทนใจจากคณะอักษรศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ได้จัดทำของที่ระลึกสุดพิเศษ คือ พวงกุญแจอะคริลิกลายนกยูง ซึ่งเป็นพาหนะของพระสุรัสวดี เทวีแห่งอักษรศาสตร์ 3 แบบ และเข็มกลัดติดปกเสื้อ “Arts CU 108” สีพิงค์โกลด์ เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 108 ปีแห่งการสถาปนาคณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ในปี 2568 นี้ รายได้เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของคณะอักษรศาสตร์ ผู้สนใจติดต่อสั่งซื้อได้ที่สำนักคณบดี คณะอักษรศาสตร์ หรือติดต่อคุณยุพินย์ กิตติลดากุล โทร 0897822655 Line ID yupin84879 ขอขอบคุณ ผศ.ดร.ดุจหทัย วงษ์กะพันธ์ ผศ.ดร.อรรถพนธ์ พงษ์เลาหพันธุ์ และรศ.ดร.ภาสุรี ลือสกุล ผู้ออกแบบและประสานงานในการจัดทำของที่ระลึกนี้

ทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์ตะวันตก : จากเพลโตสู่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์

หนังสือใหม่ของโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์ตะวันตก : จากเพลโตสู่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ สั่งซื้อออนไลน์ลดราคา 10% จาก 270.00 บาท เหลือ 243.00 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่ลิงก์ด้านล่าง http://artschulabooks.lnwshop.com/p/232 หรือติดต่อซื้อหนังสือที่ห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ลดราคา 15% จาก 270.00 บาท เหลือ 229.50 บาท ห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ อาคารมหาวชิราวุธ ห้อง 112 เปิดบริการตั้งแต่ 09.00 น. – 16.30 น. (มีพักเที่ยง 12.00 น. – 13.00 น.) หยุดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ หมายเหตุ 1.โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการไม่มีบริการคืนเงินหลังจากได้รับสินค้า 2. หากต้องการใบเสร็จรับเงิน กรุณาแจ้งตอนสั่งซื้อ […]

อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต และคุณเรย์ฮาน มูซา โนเวียน นิสิตระดับปริญญาโท ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ได้รับรางวัล ICADL 2024 best paper runner up บทความยอดเยี่ยมรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง

ในการประชุมนานาชาติด้านห้องสมุดดิจิทัลแห่งเอเชียแปซิฟิกครั้งที่ 26 The 26th International Conference on Asia-Pacific Digital Libraries (ICADL 2024) อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต และคุณเรย์ฮาน มูซา โนเวียน นิสิตระดับปริญญาโท สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา (GPIS) ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับรางวัล ICADL 2024 best paper runner up บทความยอดเยี่ยมรองชนะเลิศอันดับหนึ่ง บทความเรื่อง Freedom of Information and Information Policy in Southeast Asia: the cases of Thailand and Indonesia กฎหมายเสรีภาพด้านข้อมูลข่าวสารและนโยบายด้านสารสนเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้: กรณีศึกษาประเทศไทยและประเทศอินโดนีเซีย

การเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคมเรื่อง “สื่อสารความเห็นต่างโดยไม่สร้างความเจ็บช้ำ : วัจนกรรมความขัดแย้งสไตล์ญี่ปุ่น”

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญฟังเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคมเรื่อง “สื่อสารความเห็นต่างโดยไม่สร้างความเจ็บช้ำ : วัจนกรรมความขัดแย้งสไตล์ญี่ปุ่น” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพวรรณ โสภิตวุฒิวงศ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คุณัชญ์ สมชนะกิจ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ ————————————————————————– วันศุกร์ที่ 17 มกราคม 2568 เวลา 11.00 – 12.30 น. เสวนาผ่านแอพลิเคชัน ZOOM และ Live เฟซบุ๊ก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนฟรีด้วยการสแกน QR code หรือ https://forms.gle/QP4DF9ChSjwgTWzbA

การเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “บาดแผลและความรุนแรงแห่งระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ในงานเขียนของฮันกัง โชนัมจู และช็องโบรา”

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญฟังเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “บาดแผลและความรุนแรงแห่งระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ในงานเขียนของฮันกัง โชนัมจู และช็องโบรา” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วริตตา ศรีรัตนา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ และนักวิจัยประจำ Käte Hamburger Centre for Apocalyptic and Post-Apocalyptic Studies (CAPAS) at Heidelberg University และ อาจารย์ ดร. อิสริยา พาที อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ ท่านสามารถรับชมการเสวนาย้อนหลังได้ที่นี่

เปิดรับสมัครโครงการอบรมภาษาต่างประเทศสำหรับบุคคลทั่วไป รอบต้นปี 2568

เปิดรับสมัคร โครงการอบรมภาษาต่างประเทศสำหรับบุคคลทั่วไป รอบต้นปี 2568 . คอร์สอบรมภาษาเรียนสดผ่านโปรแกรมออนไลน์ (Zoom) คอร์สอบรมภาษาที่เรียนภายในห้องเรียนเพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่ผู้ที่ต้องการเจอเพื่อนๆและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนโดยตรง . คอร์สอบรมภาษา รอบต้นปี 2568 เรียนภาษาต่างประเทศกับคณะอักษรศาสตร์ ในรูปแบบ (ออนไลน์ ) และ (ออนไซต์) โครงการอบรมภาษาต่างประเทศสำหรับบุคคลทั่วไป เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 10 มกราคม 2568 . ______________ สมัครได้ที่ >>>http://www.cascachula.com/

บรรยายพิเศษในหัวข้อ “วิถีมังงะ” (まんが道) กับญี่ปุ่นศึกษา”

เนื่องในโอกาสครบรอบชาตกาลสองศิลปินนักวาดการ์ตูนญี่ปุ่นผู้ล่วงลับ “ฟุจิโกะ ฟุจิโอะ” ผู้สร้างแรงบันดาลใจต่อการเรียนภาษาญี่ปุ่นและความสนใจในประเทศญี่ปุ่น สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นจัดบรรยายพิเศษในหัวข้อ “วิถีมังงะ” (まんが道) กับญี่ปุ่นศึกษา” ในวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2567 เวลา 9:00-12:00 บนระบบ Zoom ผู้ที่สนใจสามารถลงทะเบียนร่วมงานเพื่อรับรหัสห้อง Zoom ต่อไป กิจกรรมนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย และไม่มีอัดวีดีโอเนื่องด้วยปัญหาด้านลิขสิทธิ์ภาพต่างๆ” “วิถีมังงะ” (Manga-michi: 漫画道) คือผลงานหนึ่งของอ.ฟุจิโกะ เอ ที่วาดเกี่ยวกับเรื่องของตนเองกับเพื่อน คืออ.ฟุจิโกะเอฟ ที่ผันมาสู่เส้นทางนักเขียนการ์ตูน นับเป็นการ์ตูนเรื่องแรกที่ตีแผ่ชีวิตนักเขียนการ์ตูนและบันทึกหน้าประวัติศาสตร์มากมายจนมีนักเขียนการ์ตูนตามรอยเส้นทางนี้มาถึงปัจจุบัน

Branding Lab: ภาษาศาสตร์เชิงการตลาดและการออกแบบแนวคิดสำหรับหลักสูตร NON-DEGREE คณะอักษรศาสตร์

เมื่อวันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น. ฝ่ายวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการให้กับนิสิตอักษรศาสตร์ในหัวข้อ “Branding Lab: ภาษาศาสตร์เชิงการตลาดและการออกแบบแนวคิดสำหรับหลักสูตร NON-DEGREE คณะอักษรศาสตร์” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ เป็นวิทยากร ณ ห้อง Smarts Class Room  (ห้อง 712) ชั้น 7 อาคารมหาจักรีสิรินธร ทั้งนี้ รองคณบดีฝ่ายวิชาการ (รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ) และผู้ช่วยคณบดีด้านวิชาการ (อาจารย์ ดร.ภณิตา ศิลปวิทยาดิลก) ได้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวด้วย                

นางนิรอฮานี นิมะมิง ได้รับเชิญจากไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในรายวิชา “ห้องสมุดเฉพาะ” ในหัวข้อ “การแนะนำห้องสมุดเฉพาะด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” 

นางนิรอฮานี นิมะมิง เจ้าหน้าที่ประจำศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในรายวิชา “ห้องสมุดเฉพาะ” ในหัวข้อ “การแนะนำห้องสมุดเฉพาะด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” ในวันที่ 13ธันวาคม 2567 เวลา 13:30 – 15:20 น. ผ่านระบบออนไลน์ 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนันพร เหมสกุล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรอบรมภาษาและวัฒนธรรมรัสเซียพื้นฐาน 2

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนันพร เหมสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากผู้อำนวยการโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ไปเป็นวิทยากรอบรมภาษาและวัฒนธรรมรัสเซียพื้นฐาน 2 ให้แก่นักเรียนที่มีความสนใจ ระหว่างวันที่ 3 ธันวาคม 2567 – 11 กุมภาพันธ์ 2568 ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

ผู้ช่วยศาสตราจารย์หัตถกาญจน์ อารีศิลป ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “วรรณกรรมไทยกับสังคม” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์หัตถกาญจน์ อารีศิลป อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “วรรณกรรมไทยกับสังคม” ในภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2567 เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2567

คณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ได้รับเชิญไปเข้าร่วมลงพื้นที่วิจัยเพื่อเก็บข้อมูลวิจัยภาคสนามในโครงการวิจัย เรื่อง “โบราณคดีและประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์บริเวณลุ่มน้ำสาละวินในจังหวัดแม่ฮ่องสอน”

รองศาสตราจารย์ ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อารีรัตน์ แพทย์นุเคราะห์ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปเข้าร่วมลงพื้นที่วิจัยเพื่อเก็บข้อมูลวิจัยภาคสนามในโครงการวิจัย เรื่อง “โบราณคดีและประวัติศาสตร์กลุ่มชาติพันธุ์บริเวณลุ่มน้ำสาละวินในจังหวัดแม่ฮ่องสอน” ระหว่างวันที่ 25 – 29 พฤศจิกายน 2567 ณ จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร บุญรุ่ง ได้รับเชิญไปเข้าร่วมพิธีมอบรางวัลระบบอนุญาตการจ้างงาน (EPS)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร บุญรุ่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากสำนักงานบริการพัฒนาบุคลากรแห่งเกาหลี ศูนย์อีพีเอส ประจำประเทศไทย ไปเข้าร่วมพิธีมอบรางวัลระบบอนุญาตการจ้างงาน (EPS) เมื่อวันที่ 18พฤศจิกายน 2567 เวลา 10:00 น. ณ ชั้น 9 ห้องแกรนด์บอลรูม Carlton Hotel Bangkok Sukhumvit