อาจารย์ ดร.ณัฐนพ พลาหาร ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษในรายวิชา ศศศศ 118การเมืองโลกร่วมสมัย หัวข้อ “สหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็น” 

อาจารย์ ดร.ณัฐนพ พลาหาร อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปเป็นอาจารย์พิเศษในรายวิชา ศศศศ 118การเมืองโลกร่วมสมัย หัวข้อ “สหภาพโซเวียตในยุคสงครามเย็น” เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567เวลา 12:30 – 15:30 น. ณ อาคารศูนย์การเรียนรู้ ห้อง 324

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ ได้รับเชิญไปเป็นล่ามในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จากการเจรจาสันติภาพของโคลัมเบีย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ไปเป็นล่ามในการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้เกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practice) จากการเจรจาสันติภาพของโคลัมเบีย ระหว่างวันที่ 5 – 9 สิงหาคม 2567 ณ จังหวัดชลบุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมในโครงการสร้างเสริมสถาบันพระพุทธศาสนาสุขภาวะเพื่อการลดปัจจัยเสี่ยง

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไปเข้าร่วมประชุมในโครงการสร้างเสริมสถาบันพระพุทธศาสนาสุขภาวะเพื่อการลดปัจจัยเสี่ยง เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2567 เวลา 17:00 – 19:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุลได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษในหัวข้อ “พงศาวดารและการสร้างประวัติศาสตร์ลาตินอเมริกา” 

รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปเป็นอาจารย์พิเศษในหัวข้อ “พงศาวดารและการสร้างประวัติศาสตร์ลาตินอเมริกา” เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 เวลา 13:00 – 16:00 น. ณ อาคารสิริวิทยา ห้อง 329

อาจารย์ ดร.รดารัตน์ ศรีพันธ์วรสกุล ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษในรายวิชา 411 562 ภาษาและวัฒนธรรมไทยกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม

อาจารย์ ดร.รดารัตน์ ศรีพันธ์วรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปเป็นอาจารย์พิเศษในรายวิชา 411 562 ภาษาและวัฒนธรรมไทยกับการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม ระหว่างวันที่ 15 และ 22 กันยายน 2567 เวลา 13:00 – 16:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “พลวัตของปรากฏการณ์เสียงในภาษา: ผสานโลกวิชาการ โลกดิจิทัล และโลกธุรกิจ”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในหัวข้อ “พลวัตของปรากฏการณ์เสียงในภาษา: ผสานโลกวิชาการ โลกดิจิทัล และโลกธุรกิจ” เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 ณ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นยา สุจฉายา ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การรวบรวมข้อมูลและใช้เอกสารหายากเพื่อการวิจัยทางประวัติศาสตร์” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นยา สุจฉายา อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การรวบรวมข้อมูลและใช้เอกสารหายากเพื่อการวิจัยทางประวัติศาสตร์” ในวันที่ 28กันยายน 2567 เวลา 09:00 – 11:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบรรณ์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “ต้นทุนทางวัฒนธรรม: เราอยู่จุดไหนบนเส้นทางสู่สากล” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบรรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากคณะกรรมการธิการการศาสนาศิลปะและวัฒนธรรมสภาผู้แทนราษฎร ไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “ต้นทุนทางวัฒนธรรม: เราอยู่จุดไหนบนเส้นทางสู่สากล” เมื่อวันที่ 13กันยายน 2567 ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส ได้รับเชิญไปเป็นครูนิเทศการสอนให้กับครูอัตราจ้างชาวไทยและชาวต่างชาติ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย ไปเป็นครูนิเทศการสอนให้กับครูอัตราจ้างชาวไทยและชาวต่างชาติ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2567 ณ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันทักษะภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสารระดับประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนกร แก้ววิภาส อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากสมาคมครูภาษาเยอรมันในประเทศไทย ไปเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันทักษะภาษาเยอรมันเพื่อการสื่อสารระดับประเทศระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ระหว่างวันที่ 20 – 30สิงหาคม 2567 ณ ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาเยอรมัน สพม.กท 1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษในรายวิชา 416 504 การวิจัยทางภูมิศาสตร์และการเขียนเชิงวิชาการ

รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ ไปเป็นอาจารย์พิเศษในรายวิชา 416 504 การวิจัยทางภูมิศาสตร์และการเขียนเชิงวิชาการ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2567เวลา 13:00 – 15:40 น. ณ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม

รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในโครงการอบรมหัวข้อ “การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) และจริยธรรมกับการคัดลอกผลงาน” 

รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ไปเป็นวิทยากรบรรยายในโครงการอบรมหัวข้อ “การทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ (Systematic Review) และจริยธรรมกับการคัดลอกผลงาน” เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2567 ณ ห้องกระจก ชั้นล่าง อาคารบรรยายรวม 4 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติ เทพช่วยสุข ได้รับเชิญไปทำหน้าที่ผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารของศูนย์ SEAMEO QITEP in Language ครั้งที่ 15

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เกียรติ เทพช่วยสุข อาจารย์ประจำศูนย์ภาษาไทยในฐานะภาษาต่างประเทศได้รับเชิญจากกระทรวงศึกษาธิการ ไปทำหน้าที่ผู้แทนไทยเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการบริหารของศูนย์ SEAMEO QITEP in Language ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 9 – 11 กันยายน 2567ณ เมือง Yogyakarta สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ได้รับเชิญไปเป็นที่ปรึกษาโครงการ “การพัฒนาโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่” 

รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากบริษัท จัสมิน เทคโนโลยี โซลูชั่น จำกัด (มหาชน) ไปเป็นที่ปรึกษาโครงการ “การพัฒนาโมเดลภาษาไทยขนาดใหญ่” ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม 2567 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2568

อาจารย์ ดร.ณัฐนพ พลาหาร ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “อักษรศาสตร์รัสเซีย: การเตรียมความพร้อม การเรียน และชีวิตการทำงานในสายอาชีพนักอักษรศาสตร์”

อาจารย์ ดร.ณัฐนพ พลาหาร อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ไปเป็นวิทยากรบรรยายหัวข้อ “อักษรศาสตร์รัสเซีย: การเตรียมความพร้อม การเรียน และชีวิตการทำงานในสายอาชีพนักอักษรศาสตร์” เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2567 เวลา 16:30 – 18:00 น. ผ่านระบบออนไลน์