ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัทนา จาตุรแสงไพโรจน์ ได้รับเชิญเป็น Keynote speaker ใน session การแปล บรรยายในหัวข้อ “Ways of Living and Dying As Seen Through the Thai Translation of Haruki Murakami’s Works” ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 13th Haruki Murakami International Symposium 2024 ณ Waseda University ประเทศญี่ปุ่น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. มัทนา จาตุรแสงไพโรจน์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออกได้รับเชิญเป็น Keynote speaker ใน session การแปล บรรยายในหัวข้อ “Ways of Living and Dying As Seen Through the Thai Translation of Haruki Murakami’s Works” ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ The 13th Haruki Murakami International Symposium 2024 ณ Waseda University ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 13-14 กรกฎาคม 2567 จัดโดย Center for Murakami Haruki Studies, Tamkang University ร่วมกับ The Waseda International […]
การรับรู้จากระยะไกล: หลักการและการประมวลผลภาพดาวเทียมเชิงเลขเบื้องต้น โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริวิไล ธีระโรจนารัตน์

หนังสือใหม่ของโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง การรับรู้จากระยะไกล: หลักการและการประมวลผลภาพดาวเทียมเชิงเลขเบื้องต้น โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริวิไล ธีระโรจนารัตน์ สั่งซื้อออนไลน์ลดราคา 10% จาก 490.00 บาท เหลือ 441.00 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่ลิงก์ด้านล่าง http://artschulabooks.lnwshop.com/p/229 หรือติดต่อซื้อหนังสือที่ห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ลดราคา 15% จาก 490.00 บาท เหลือ 416.50 บาท ห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ อาคารมหาวชิราวุธ ห้อง 112 เปิดบริการตั้งแต่ 09.00 น. – 16.30 น. (มีพักเที่ยง 12.00 น. – 13.00 น.) หยุดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ หมายเหตุ 1.โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการไม่มีบริการคืนเงินหลังจากได้รับสินค้า 2. หากต้องการใบเสร็จรับเงิน กรุณาแจ้งตอนสั่งซื้อ 3. ทางร้านจะนำส่งหนังสือให้ภายใน […]
คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มอบกระเช้าและเข้าร่วมกิจกรรมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 28 ปี คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันพฤหัสบดีที่ 4 กรกฎาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มอบกระเช้าและเข้าร่วมกิจกรรมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 28 ปี คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้อง Psyche Space ชั้น 3 อาคารบรมราชชนนีศรีศตพรรษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มอบกระเช้าและเข้าร่วมกิจกรรมแสดงความยินดีเนื่องในวาระครบรอบ 59 ปี แห่งการสถาปนาคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

วันศุกร์ที่ 5 กรกฎาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ มอบกระเช้าและเข้าร่วมกิจกรรมแสดงความยินดีเนื่องในวาระครบรอบ 59 ปี แห่งการสถาปนาคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารมงกุฎสมมติวงศ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รายวิชาใหม่ 2200409 Arts and Work Integrated Education (AWIE)

Put your Arts into action. กับวิชาใหม่ล่าสุด 2200409 Arts and Work Integrated Education (AWIE) ประเดิมปีนี้ด้วยหัวข้อ “Learning Design for Education Innovation: A case of AI-powered English Coach“
รายวิชา AWIE ร่วมออกแบบเนื้อหาและร่วมสอนโดยคณาจารย์คณะอักษรศาสตร์กับภาคอุตสาหกรรม บริษัทที่มาร่วมมือในภาคต้น ปีการศึกษา 2567 นี้ คือ Edsy บริษัท start-up ด้านเทคโนโลยีทางการศึกษา
คณะอักษรศาสตร์ จัดปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ระดับปริญญาตรี ระบบทวิภาค ประจำปีการศึกษา 2567

วันพฤหัสบดีที่ 11 กรกฎาคม 2567 เวลา 9.00 น. ฝ่ายวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จัดปฐมนิเทศนิสิตใหม่ ระดับปริญญาตรี ระบบทวิภาค ประจำปีการศึกษา 2567 ณ ห้องอเนกประสงค์ ชั้น 9 อาคารมหาจักรีสิรินธร โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ กล่าวต้อนรับและแสดงความยินดีกับนิสิตใหม่ นอกจากนี้ ยังมีคณะผู้บริหาร คณาจารย์ และบุคลากรฝ่ายวิชาการ เข้าร่วมกิจกรรมและร่วมต้อนรับนิสิตใหม่ในครั้งนี้ด้วย การจัดปฐมนิเทศนี้ จัดขึ้นเพื่อแนะนำหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัย การเดินทางแลกเปลี่ยนกับมหาวิทยาลัยในต่างประเทศ การใช้ระบบ CU CUDSON รวมถึงเปิดโอกาสให้นิสิตใหม่ได้พบปะกับอาจารย์ที่ปรึกษาทางวิชาการ ซึ่งจะคอยช่วยดูแลและให้คำแนะนำแก่นิสิตต่อไป
คณบดีคณะอักษรศาสตร์ และ Mr. Javier Galván ผู้อำนวยการสถาบันเซร์บันเตสประจำกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ลงนามสัญญาความร่วมมือระหว่างสถาบันเซร์บันเตส และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ และ Mr. Javier Galván ผู้อำนวยการสถาบันเซร์บันเตสประจำกรุงมะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์ ได้ลงนามสัญญาความร่วมมือระหว่างสถาบันเซร์บันเตส และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ทำเนียบเอกอัครราชทูตสเปนประจำประเทศไทย การลงนามครั้งนี้จะนำสู่การเปิด Aula Cervantes แห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย ในพิธีลงนามนี้ มีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมเป็นสักขีพยานจำนวนมาก ทั้งจากกรมยุโรป กระทรวงการต่างประเทศ สถานเอกอัครราชทูตกลุ่มประเทศผู้ใช้ภาษาสเปน คณาจารย์ภาษาสเปนทั้งระดับอุดมศึกษาและมัธยมศึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ ธีรพจนี รองคณบดี มอบกระเช้าแสดงความยินดีและร่วมกิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครบ 67 ปี

เมื่อวันพุธที่ 10 กรกฎาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ ธีรพจนี รองคณบดี มอบกระเช้าแสดงความยินดีและร่วมกิจกรรมวันคล้ายวันสถาปนาคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ครบ 67 ปี ณ ห้องพูนทรัพย์ นพวงศ์ ณ อยุธยา อาคารพระมิ่งขวัญการศึกษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ
ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยสองท่านได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติจากกระทรวงวัฒนธรรม

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่อดีตอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทยสองท่านได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติจากกระทรวงวัฒนธรรมดังต่อไปนี้ 1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรทิพย์ พุกผาสุข ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย” พุทธศักราช 2567 2. อาจารย์ ดร.เทพี จรัสจรุงเกียรติ ได้รับยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น “ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น” พุทธศักราช 2567
Plain Legal English ภาษาอังกฤษในบริบททางกฎหมาย

Plain Legal English ภาษาอังกฤษในบริบททางกฎหมาย คอร์สนี้เหมาะสำหรับนักแปลเอกสารกฎหมาย หรือผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย ที่อยากเรียนรู้ลักษณะของทำเนียบภาษากฎหมาย (Legal Register) ในภาษาอังกฤษ และศัพท์ สำนวน ไวยากรณ์ที่สำคัญในการร่างและการแปลเอกสารกฎหมายเป็นภาษาอังกฤษ วิทยากรของเราคือ อาจารย์ยุทธชัย วิธีกล ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมาย จบการศึกษา อ.บ. ภาษาอังกฤษและ อ.ม. การแปล จากจุฬาฯ นิติศาสตรบัณฑิต (จุฬาฯ) เนติบัณฑิตไทย และ LLM (UCL) ผู้เรียนควรมีพื้นฐานภาษาอังกฤษในระดับดีมาก (IELTS ไม่น้อยกว่า 6.5 หรือเทียบเท่า โดยมีคะแนนในส่วน Reading and Writing อย่างน้อย 7) หรือสำเร็จการศึกษาวิชานิติศาสตร์และได้ประกอบวิชาชีพทางกฎหมายมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี อบรมที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ทุกวันเสาร์ เวลา 9.00-12.00 น. ตั้งแต่ 10 สิงหาคม จนถึง 19 ตุลาคมนี้ […]
ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของรองศาสตราจารย์ ดร.สามารถ สัมพันธารักษ์ อดีตอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของรองศาสตราจารย์ ดร.สามารถ สัมพันธารักษ์ อดีตอาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก
ขอเชิญรับชมการบรรยายย้อนหลัง ในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “สู่ #paris2024 ภาษาฝรั่งเศสกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก”

ท่านสามารถรับชมการบรรยายย้อนหลัง ในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “สู่ #paris2024 ภาษาฝรั่งเศสกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก” โดย อาจารย์กันตภณ อินทมาตย์ สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ที่นี่
งานสัมมนาการรายงานผลการศึกษาโครงการ “แนวทางการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้สนับสนุนในการอ่านแปลตีความภาพถ่ายทางอากาศ”

วันที่ 16 กรกฏาคม 2567 ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จัดงานสัมมนาการรายงานผลการศึกษาโครงการ “แนวทางการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้สนับสนุนในการอ่านแปลตีความภาพถ่ายทางอากาศ” ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รศ.ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ เป็นหัวหน้าโครงการ และผู้ร่วมวิจัย 3 ท่าน ได้แก่ ผศ.ดร.ชนิตา ดวงยิหวา อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ อาจารย์จนิษฐ์ ประเสริฐบูรณะกุล อาจารย์พิเศษภาควิชาภูมิศาสตร์ และนายวรพจน์ มาศิริ นักวิจัยจากบริษัท จีไอเอส จำกัด โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนทุนจากกรมที่ดิน ในงานสัมมนา ประกอบด้วย การบรรยายพิเศษ การเสวนาทางวิชาการด้าน AI กับประยุกต์ใช้ในหน่วยของรัฐ การรายงานผลการศึกษาของโครงการ และ Geospatial Technology ในปัจจุบัน ภาควิชาภูมิศาสตร์ขอขอบพระคุณ นายวสันต์ สุภาภา รองอธิบดีกรมที่ดิน ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดงานสัมมนา และขอขอบพระคุณวิทยากรที่ให้เกียรติมาบรรยายพิเศษและเสวนาวิชาการ ดังนี้ – รศ.ดร.พีรพล เวทีกูล ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ […]
ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของอาจารย์ศิริลักษณ์ เสรีวัลย์สถิตย์ อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 42 และอดีตหัวหน้าภาควิชาศิลปการละคร

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของอาจารย์ศิริลักษณ์ เสรีวัลย์สถิตย์ อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 42 และอดีตหัวหน้าภาควิชาศิลปการละคร
คณบดีคณะอักษรศาสตร์ และ ดร.สันติสุข ลิ้มปีติเจริญโชติ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอส เทลลิเจนซ์ จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU)

เมื่อวันอังคารที่ 23 กรกฎาคม 2567 เวลา 10.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.สันติสุข ลิ้มปีติเจริญโชติ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เอส เทลลิเจนซ์ จำกัด ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) ณ ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล อาคารบรมราชกุมารี โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ศิรประภา ชวะนะญาณ รองคณบดี (รับผิดชอบงานด้านวิชาการ) รองศาสตราจารย์ ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ ประธานหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีภาษาและสารสนเทศ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภาวดี สายสุวรรณ หัวหน้าภาควิชาภาษาศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทิพยา จินตโกวิท หัวหน้าภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ อาจารย์ ดร.สรคม ดิสสะมาน ผู้ช่วยคณบดี (รับผิดชอบงานด้านประกันคุณภาพ) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วชิราภรณ์ คลังธบบูรณ์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ เข้าร่วมการลงนามบันทึกข้อตกลงฯ ครั้งนี้ด้วย […]