ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย 2024 (Thailand Digital Humanities Forum 2024) “วิถีดิจิทัลในมนุษยศาสตร์สู่การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน”

ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย 2024 (Thailand Digital Humanities Forum 2024) “วิถีดิจิทัลในมนุษยศาสตร์สู่การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน” วันที่: 9-10 กันยายน 2567 สถานที่: ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย รูปแบบ: onsite (มีการบันทึกวิดีโอกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ทาง page ภายหลัง) Keynote Speakers: • ปาฐกถาหัวข้อ: The vital relationship between STEM and the humanities โดย Prof. Cassidy Sugimoto (Georgia Institute of Technology, USA) • ปาฐกถาหัวข้อ: Developing an Infrastructure for Digital Humanities in the context of Asia […]

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ภักดีผาสุข เข้าร่วมกิจกรรม และมอบกระเช้าแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 76 ปี แห่งการสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันศุกร์ที่ 16 สิงหาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ภักดีผาสุข รองคณบดี (รับผิดชอบงานด้านบริหาร) เป็นผู้แทนคณะอักษรศาสตร์ เข้าร่วมกิจกรรม และมอบกระเช้าแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 76 ปี แห่งการสถาปนาคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ ห้อง 107 ชั้น 1 อาคารสำราญราษฎร์บริรักษ์ (ตึก 1) คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

นิสิตภาควิชาภาษาไทยมีผลงานวรรณกรรมสร้างสรรค์ผ่านการคัดเลือกในการประกวดสาขาวรรณกรรม “โครงการรางวัลยุวศิลปิน 2567” (Young Thai Artist Award 2024)

คณะอักษรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่นิสิตภาควิชาภาษาไทย ชั้นปีที่ 3 ดังรายนามต่อไปนี้ มีผลงานวรรณกรรมสร้างสรรค์ผ่านการคัดเลือกในการประกวดสาขาวรรณกรรม “โครงการรางวัลยุวศิลปิน 2567” (Young Thai Artist Award 2024) จัดโดยมูลนิธิเอสซีจี 1. นายณัฐพล ประกฤติกรชัย ผลงานเรื่อง “การมีอยู่ของสะพานหมาเน่า”2. นายวริศ ดาราฉาย ผลงานเรื่อง “โปรดปรารถนาความตาย”

การบรรยายสาธารณะออนไลน์หัวข้อ “The Availability of EM Forster’s Maurice: Aspects, Approaches, Afterlives” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.Tsung-Han Tsai จาก Institute of Humanities and Social Sciences มหาวิทยาลัย Tsukuba

เมื่อวันพุธที่ 21 สิงหาคม 2567 เวลา 16.00-18.00 น. ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้จัดการบรรยายสาธารณะออนไลน์หัวข้อ “The Availability of EM Forster’s Maurice: Aspects, Approaches, Afterlives” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.Tsung-Han Tsai จาก Institute of Humanities and Social Sciences มหาวิทยาลัย Tsukuba ประเทศญี่ปุ่น ในการบรรยายครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา ทำหน้าที่เป็นผู้ดำเนินรายการ และ ภารวี อากาศน่วม นิสิตหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาต่างประเทศ (แขนงวิชาภาษาอังกฤษ) ทำหน้าที่นำเสวนาช่วงถาม-ตอบ ผู้สนใจสามารถรับชมบันทึกการบรรยายย้อนหลังได้ที่ https://web.facebook.com/share/v/vMrJNoetytWpXren/ On Wednesday 21 August 2024 at 16.00-18.00 hrs, […]

คณบดีคณะอักษรศาสตร์และรองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ได้เดินทางไปกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในโครงการเสริมสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรเพื่อนำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนนิสิตและอาจารย์ รวมถึงการจัดทำหลักสูตรสองปริญญา (Double Degree)

เมื่อวันที่ 20-26 สิงหาคม 2567 รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยรศ.ดร. ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ ได้เดินทางไปกรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในโครงการเสริมสร้างเครือข่ายมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรเพื่อนำไปสู่การลงนามบันทึกข้อตกลงในการแลกเปลี่ยนนิสิตและอาจารย์ รวมถึงการจัดทำหลักสูตรสองปริญญา (Double Degree) ในรูปแบบต่างๆ ร่วมกัน โดยมหาวิทยาลัยที่ได้ไปเยือนในครัังนี้ ได้แก่ มหาวิทยาลัยในเครือ University of London คือ Goldsmiths, SOAS, และ Birkbeck นอกจากนั้น ยังได้ไปเยือน University of Essex ณ เมือง Colchester โครงการเสริมสร้างเครือข่ายฯ นี้ได้รับความอนุเคราะห์อย่างดีจากสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทยในการประสานงานติดต่อกับมหาวิทยาลัยดังกล่าว ในการนี้ รศ.ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ และรศ.ดร. ภาสุรี ลือสกุล ยังได้เข้าพบนายธานี ทองภักดี เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงลอนดอนเพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือต่างๆ รวมถึงโครงการจัดทำหนังสือที่ระลึกการฉลองครบรอบ 170 ปีความสัมพันธ์ระหว่างราชอาณาจักรไทยและสหราชอาณาจักร ซึ่งคณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำเพื่อรวบรวมข้อมูลเชิงประวัติศาสตร์ของความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ พลมุข ได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายบริหารบัณฑิตวิทยาลัย ไปดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2570

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ พลมุข อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายบริหารบัณฑิตวิทยาลัย ไปดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2570

อาจารย์ Hidehiro Kobayashi ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในรายวิชา JLC425 JAPANESE FOR HOSPITALITY 3(2-2)

อาจารย์ Hidehiro Kobayashi อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไปเป็นวิทยากรบรรยายในรายวิชา JLC425 JAPANESE FOR HOSPITALITY 3(2-2) เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2567 เวลา 11:30 – 12:30 น. และ 13:30 – 14:20 น. ณ ห้อง 38-1103 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ ได้รับเชิญไปเป็นผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นทางวิชาการในโครงการด้านการพัฒนาองค์กรวัดปลอดขยะ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากสำนักงานรองเจ้าคณะภาค 6 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ไปเป็นผู้เชี่ยวชาญให้ความเห็นทางวิชาการในโครงการด้านการพัฒนาองค์กรวัดปลอดขยะ ในวันที่ 24 สิงหาคม, 7 กันยายน, 8 กันยายน และ 14 กันยายน 2567 เวลา 09:00 – 15:00 น. ณ สำนักงานรองเจ้าคณะภาค 6 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร

อาจารย์ ดร.อรุณวรรณ คงมีผล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรอ่านหนังสือเสียงในโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงประมาณ 2567 เรื่อง “กระบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562” 

อาจารย์ ดร.อรุณวรรณ คงมีผล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากสถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปเป็นวิทยากรอ่านหนังสือเสียงในโครงการบริการวิชาการ ประจำปีงประมาณ 2567 เรื่อง “กระบวนพยุหยาตราชลมารค เนื่องในการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนคร ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562” ระหว่างวันที่ 2 – 3 และ 9 กันยายน 2567 เวลา 08:30 – 16:30 น. ณ ห้อง Multimedia Lab ชั้น 1 หอสมุดป๋วย อึ๊งภากรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต 

คณาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ได้รับเชิญไปเข้าร่วมดำเนินงานโครงการในฐานะหัวหน้าโครงการและนักวิจัย และร่วมเดินทางลงพื้นที่ภาคสนามในโครงการย่อยเรื่อง “การพยากรณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge): เมืองท่องเที่ยวชายฝั่ง” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เอกกมล วรรณเมธี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชนิตา ดวงยิหวา อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ ได้รับเชิญจากงานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม ส่วนบริการวิชาการและวิจัย 2 ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาฯ ไปเข้าร่วมดำเนินงานโครงการในฐานะหัวหน้าโครงการและนักวิจัย และร่วมเดินทางลงพื้นที่ภาคสนามในโครงการย่อยเรื่อง “การพยากรณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง (storm surge): เมืองท่องเที่ยวชายฝั่ง” เมื่อวันที่ 7-10 สิงหาคม 2567 ณ จังหวัดสุราษฎร์ธานีและจังหวัดนครศรีธรรมราช

อาจารย์ ดร. มัลลิกา สุกิจปาณีนิจ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมกิจกรรม Local Seminar and Workshop wave “GEMS Local Seminar” ภายใต้โครงการ “Building the Pan-Asia Partnership for Geospatial Air Pollution Information” (PAPGAPi)

อาจารย์ ดร. มัลลิกา สุกิจปาณีนิจ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ ได้รับเชิญจากสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ไปเข้าร่วมกิจกรรม Local Seminar and Workshop wave “GEMS Local Seminar” ภายใต้โครงการ “Building the Pan-Asia Partnership for Geospatial Air Pollution Information” (PAPGAPi) เมื่อวันที่ 1 – 2 สิงหาคม 2567 ณ โรงแรม Kantary Hill และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ ได้รับเชิญไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิในการประชุมวิชาการหัวข้อ “นวัตกรรมสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัชพล ศิริสวัสดิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากหลักสูตรบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการพัฒนาสังคม คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ไปเป็นผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาบทความที่จะนำเสนอในการประชุมและสัมมนาทางวิชาการ และจัดทำรายงานสืบเนื่องการประชุมวิชาการ (Proceedings) ภายใต้หัวข้อ “นวัตกรรมสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน” เมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2567 เวลา 09:00 – 16:00 น. ณ ตึก B อาคารเรียนรวม ห้องประชุม ชั้น 5 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำผึ้ง ปัทมลางคุล ได้รับเชิญไปเป็นผู้สอนรายวิชา 0201123 วัฒนธรรมและประเพณีไทยในวิถีชีวิตไทย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำผึ้ง ปัทมลางคุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากศูนย์การศึกษาทั่วไป ไปเป็นผู้สอนรายวิชา 0201123 วัฒนธรรมและประเพณีไทยในวิถีชีวิตไทย ทุกวันพฤหัสบดี เวลา 09:00 – 12:00 น. ตลอดภาคการศึกษา ปีการศึกษา 2567

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาวิชาการเอกสารโบราณเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2567 “ภาษาถิ่น ภาษาไทย ในเอกสารโบราณ… พลัดถิ่น” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ ได้รับเชิญจากศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน) (ศมส.) ไปเข้าร่วมกิจกรรมเสวนาวิชาการเอกสารโบราณเนื่องในวันภาษาไทยแห่งชาติ 2567 “ภาษาถิ่น ภาษาไทย ในเอกสารโบราณ… พลัดถิ่น” ระหว่างวันที่ 5 – 6 สิงหาคม 2567 ณ หอประชุม ชั้น 4ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน)