ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมการประชุมมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย 2024 (Thailand Digital Humanities Forum 2024) “วิถีดิจิทัลในมนุษยศาสตร์สู่การพัฒนาทุนมนุษย์อย่างยั่งยืน”
วันที่: 9-10 กันยายน 2567
สถานที่: ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รูปแบบ: onsite (มีการบันทึกวิดีโอกิจกรรมเพื่อเผยแพร่ทาง page ภายหลัง)
Keynote Speakers:
• ปาฐกถาหัวข้อ: The vital relationship between STEM and the humanities โดย Prof. Cassidy Sugimoto (Georgia Institute of Technology, USA)
• ปาฐกถาหัวข้อ: Developing an Infrastructure for Digital Humanities in the context of Asia โดย Assoc. Prof. Tsui Lik Hang (City University of Hong Kong)
ไฮไลท์ของงาน:
การเสวนาเรื่อง Reimagining new frontiers of digital humanities and scholarship ร่วมเสวนาโดย
• คุณพัทน์ ภัทรนุธาพร (MIT Media Lab)
• คุณทีปกร วุฒิพิทยามงคล (BrandThink)
การเสวนาเรื่อง กว่าจะเป็นข้อมูลมนุษยศาสตร์ดิจิทัล ร่วมเสวนาโดย
• คุณมณฑล กาญจโนฬาร (เว็บไซต์ห้องสมุดวัชรญาณ)
• รศ.ดร.พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ (ภาควิชาภาษาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
• คุณรัชดา โชติพานิช (หน่วยปฏิบัติการวิจัยแผนที่และเอกสารประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรมและเมือง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
การนำเสนอโครงการวิจัย 5 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 มนุษยศาสตร์ดิจิทัล: ข้อมูลและตัวตนของศาสตร์
• โครงการวิจัยย่อยที่ 1.1 พรมแดนมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย: แกะรอยชุมชนและผลงานทางวิชาการแบบสหสาขาวิชา (รศ.ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ และ ผศ.ดร.ทิพยา จินตโกวิท)
• โครงการวิจัยย่อยที่ 1.2 การแบ่งปันข้อมูลวิจัยภายในชุมชนวิชาการทางด้านมนุษยศาสตร์ดิจิทัล: สํารวจสภาพการณ์ปัจจุบัน (ผศ.ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์)
• โครงการวิจัยย่อยที่ 2.1 : การพัฒนามาตรฐานและแพลตฟอร์มข้อมูลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลด้านวัฒนธรรม (ดร.มารุต บูรณรัช, รศ.ดร.วิระพงศ์ จันทร์สนาม, สิทธิศักดิ์ รุ่งเจริญสุขศรี และวัชชิรา บูรณสิงห์)
กลุ่มที่ 2 มุมมองทางปรัชญาในมนุษยศาสตร์ดิจิทัล
• โครงการวิจัยย่อยที่ 1.3 มิติเชิงญาณวิทยาบางประการเกี่ยวกับมนุษยศาสตร์ดิจิทัล (รศ.ดร.ศิรประภา ชวะณะญาณ)
• โครงการวิจัยย่อยที่ 3.1 การทำความเข้าใจมนุษย์ในโลกเทคโนโลยี: มุมมองหลังปรากฏการณ์วิทยา (ผศ.ดร.ปิยบุตร สุเมตติกุล)
• โครงการวิจัยย่อยที่ 3.2 การเปลี่ยนแปลงของอินเตอร์เน็ตกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายในและระหว่างวัฒนธรรม (ผศ.ดร.ปิยฤดี ไชยพร)
กลุ่มที่ 3 การอ่านในมนุษยศาสตร์ดิจิทัล
• โครงการวิจัยย่อยที่ 3.3 คน หุ่นยนต์ เกมกล ความฝัน: การวิเคราะห์วิดีโอเกมแนวหุ่นเสมือนมนุษย์ในฐานะสนามความฝัน (ผศ.อรรถพล ปะมะโข)
• โครงการวิจัยย่อยที่ 3.4 การอ่านอุดมการณ์การใช้งานง่ายของอินเตอร์เฟซในระบอบทุนนิยมแพลตฟอร์ม (ผศ.เมธาวี โหละสุต)
• โครงการวิจัยย่อยที่ 3.5 ภาษาศาสตร์คลังข้อมูลกับ “ภาพ” ผู้สูงวัยในสื่อดิจิทัล (รศ.ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ)
กลุ่มที่ 4 จากข้อมูลสู่การตีความในมนุษยศาสตร์ดิจิทัล
• โครงการวิจัยย่อยที่ 2.2 : ระบบแสดงข้อมูลบรรณานุกรมและเนื้อหาหนังสือภาษาไทยเป็นภาพเชิงตอบโต้ เพื่อการสำรวจและวิเคราะห์ข้อมูลขั้นต้น (ผศ.ดร.ภูริพันธ์ รุจิขจร)
• โครงการวิจัยย่อยที่ 2.3 : เหนือกว่าเวิร์ดคลาวด์: การแสดงตัวบทให้เป็นภาพเชิงความหมาย (รศ.ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์)
• โครงการวิจัยย่อยที่ 2.5 : การพัฒนาแบบจำลองตัวแทนอัจฉริยะเพื่อพยากรณ์กระบวนการตัดสินใจและพฤติกรรมของมนุษย์: กรณีศึกษา นักท่องเที่ยวในประเทศไทย (ผศ.ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ และ ผศ.ดร.เอกกมล วรรณเมธี)
กลุ่มที่ 5 จากนวัตวิถีสู่การพัฒนาทุนมนุษย์
• โครงการวิจัยย่อยที่ 2.4 : การศึกษาเปรียบเทียบการวิเคราะห์ตัวบทด้วยวิธีการต่าง ๆ ทางภาษาศาสตร์คอมพิวเตอร์ (รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล)
• โครงการวิจัยย่อยที่ 3.6 แนวทางพัฒนาการคิดเชิงวิพากษ์เพื่อการรู้เท่าทันดิจิทัลของนิสิตนักศึกษาระดับอุดมศึกษาในสาขาวิชามนุษยศาสตร์ (ผศ.ดร.ทิพยา จินตโกวิท)
• โครงการวิจัยย่อยที่ 3.7 การเสริมสร้างสมรรถนะทางวัฒนธรรมสำหรับผู้ใช้สารสนเทศผ่านดิจิทัลคอลเล็กชันบนเว็บไซด์ห้องสมุด หอจดหมายเหตุ และพิพิธภัณฑ์ (รศ.ดร.สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์สกุล และ อ.ดร.สรคม ดิสสะมาน)
การสาธิตนวัตกรรมทางด้านมนุษยศาสตร์ดิจิทัล และนิทรรศการผลงานทางด้านมนุษยศาสตร์ดิจิทัลจากทั้งนิสิต นักศึกษา และเครือข่ายพันธมิตร
ลงทะเบียนร่วมงานทาง https://forms.gle/t5WgF56X5qXsp3Z19 หรือสแกน QR ในรูปภาพ (เนื่องด้วยข้อจำกัดด้านสถานที่ จึงขอสงวนสิทธิ์การร่วมงานสำหรับผู้ลงทะเบียนล่วงหน้าเท่านั้น)
#ThailandDigitalHumanitiesForum2024#มนุษยศาสตร์ดิจิทัล#DigitalHumanities