-
กิจกรรม หัวข้อ “แปลความหรือแปลงสาร: มองการแปลระหว่างบรรทัด”
แปลความหรือแปลงสาร: มองการแปลระหว่างบรรทัด การแปลถูกมองว่าเป็นการสื่อความหมายจากภาษาหนึ่งไปสู่ภาษาหนึ่ง โดยให้ความสำคัญกับความถูกต้องของการแปลและความสละสลวยในสำนวนการแปล แต่มีอีกสิ่งหนึ่งที่เรามักจะมองข้าม นั่นคือการแปลในเชิงวรรณกรรม ซึ่งจะมองลึกลงไปถึงการแปลที่แฝงฝังนัยยะต่างๆ จากต้นฉบับและบทแปลนั้นแปลออกมาอย่างไร มีอคติหรือการแปลและแปลงสารไปหรือไม่ ผศ. ดร. แพร จิตติพลังศรี จะมาชวนคุยเรื่องการแปลในมุมมองใหม่ ที่ไม่ได้แค่แปลไปวันๆ แต่มองที่ประเด็นต่างๆ เช่น สารที่บางทีแปลไม่ได้ หรือผู้แปลไม่อยากแปลตามสาร อันเกิดมาจากปัจจัยทางการเมือง เพศ และความขัดแย้งต่างๆ มามองการแปลในมุมมองที่คุณไม่เคยสัมผัสมาก่อนที่ เพจ CompLit Chula และ เพจ Review เวิ่น ในวันเสาร์ที่ 15 สิงหาคมนี้…
-
วัจนปฏิบัติศาสตร์ภาษาระหว่างกลาง (Interlanguage Pragmatics)
วัจนปฏิบัติศาสตร์ภาษาระหว่างกลาง (Interlanguage Pragmatics) เพื่อการสอนภาษาไทยเป็นภาษาที่ 2 และทำความเข้าใจการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม วีดิทัศน์ #สื่อสารงานวิจัย จากวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทภาควิชาภาษาไทย โดย รดารัตน์ ศรีพันธ์วรสกุล มหาบัณฑิตภาควิชาภาษาไทย และ อาจารย์ที่ปรึกษา รศ.ดร.ณัฐพร พานโพธิ์ทอง หัวหน้าหน่วยปฏิบัติการวิจัย “ไทยวิทรรศน์” และอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ ก้าวสู่ศตวรรษที่ 2 ของภาควิชาภาษาไทย อักษรฯ จุฬาฯ แหล่งเผยแพร่และพัฒนาความรู้ทางภาษา วรรณคดี และคติชนของสังคมไทยในบริบทสังคมโลก อ่านบทคัดย่อวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท ได้ที่ shorturl.at/aflJ8…
-
ศิษย์เก่าหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิตให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสิทธิการแสดงออกเกี่ยวกับวัฒนธรรมและอัตลักษณ์
ในฐานะที่เป็นอาสาสมัครที่องค์การสหประชาชาติ April Cummings ศิษย์เก่าหลักสูตรอักษรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาและวัฒนธรรม (หลักสูตรนานาชาติ) หรือที่รู้จักกันในชื่อหลักสูตร BALAC ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับสิทธิการแสดงออกเกี่ยวกับวัฒนธรรมและอัตลักษณ์ https://www.facebook.com/watch/?v=316781496189452
-
Dramaturg – Drama Talk Season 2 หัวข้อ “งานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ในสาขาการบูรณาการข้ามศาสตร์ทางศิลปะการละคร”
Dramaturg – Drama Talk Season 2 ได้เดินทางมาถึง Ep. ที่ 4 แล้วนะคะ สัปดาห์นี้ พบกับสาขาวิชา “Transdisciplinary in Performing Arts” การบูรณาการข้ามศาสตร์ทางศิลปะการละคร ในหัวข้อ “งานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ในสาขาการบูรณาการข้ามศาสตร์ทางศิลปะการละคร” ร่วมพูดคุยกับ“เวิร์ค” นักแสดงอิสระและผู้เชี่ยวชาญด้านการแสดงกับละครประยุกต์สำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึม ในหัวข้องานวิจัย: การศึกษาวิธีการแสดงในละครเวทีประสาทสัมผัสสำหรับผู้ชมวัยเด็กที่มีภาวะออทิซึม ดำเนินรายการโดยเด่น ภาณุวัฒน์ อินทวัฒน์ – ผู้ช่วยผู้กำกับการแสดง Kaan Show นักเขียน และนิสิตปริญญาโทรุ่นปัจจุบัน…
-
คอร์สภาษารัสเซียออนไลน์สำหรับบุคคลภายนอก รอบปลายปี เปิดให้ลงทะเบียนเรียนแล้ว
คอร์สภาษารัสเซียออนไลน์สำหรับบุคคลภายนอก รอบปลายปี เปิดให้ลงทะเบียนเรียนแล้วรับสมัครตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 63เริ่มเรียน 19 ก.ย. – 22 พ.ย. 63 รับจำนวนกลุ่มละ 30 คน ทุกวิชาสอนโดยอาจารย์ชาวไทยยกเว้นวิชาภาษารัสเซียเพื่อการสื่อสาร สอนโดยอาจารย์ชาวรัสเซียช่องทางสอนออนไลน์: โปรแกรม Zoom ทุกคอร์สเรียนทั้งหมด 27 ชั่วโมง ค่าเรียนคอร์สละ 2,700 บาท (พร้อมหนังสือ) ภาษารัสเซีย 1 ทุกวันเสาร์ เวลา 09.00 –…
-
คอร์สเรียนภาษาบาลี สันสกฤต และทิเบต หลักสูตรออนไลน์เปิดรับสมัครแล้ว
เปิดรับสมัครแล้ว ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่ 31 สิงหาคม 2563คอร์สบริการวิชาการหลักสูตรออนไลน์ สามารถดูตารางคอร์สเรียนได้ที่ https://bit.ly/2XI80dz วิธีการสมัครสมัครทางออนไลน์https://www.arts.chula.ac.th/~asc/main/?page_id=13971. สมัครลงชื่อเข้าใช้บริการ (ผู้สมัครใหม่)2. ล๊อกอินเข้าระบบ3. เลือกคอร์สเรียนอบรมภาษา (ห้ามวันและเวลาเดียวกัน)4. ชำระเงินค่าอบรม โดย โอน/ฝาก เงินเข้าบัญชีธนาคารกรุงเทพ สาขาสยามสแควร์ บัญชีออมทรัพย์ชื่อบัญชี “คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”เลขที่บัญชี 152-4-218367 (รับชำระเต็มจำนวนเท่านั้นและกรณีโอนเงินผ่านช่องทางออนไลน์ รบกวน capture หน้าจอที่ทำรายการให้เห็นเลขที่บัญชีที่ทำการโอนเข้า ยอดเงินที่ทำการโอนเข้า วันเวลาที่ทำรายการ หมายเลขอ้างอิง และโลโก้ธนาคารที่ใช้บริการให้ชัดเจนทางฝ่ายการเงินไม่รับหลักฐานการโอนเงินที่เป็นอีเมลตอบรับอัตโนมัติจากทางธนาคาร)5. ส่งแนบหลักฐานการชำระเงินที่หน้าเว็บไซต์6. เสร็จสิ้นการสมัคร มี…
-
บทสัมภาษณ์ รองศาสตราจารย์อรชุมา ยุทธวงศ์ อดีตอาจารย์ภาควิชาศิลปการละคร
“การละครคือศาสตร์และศิลป์ที่เป็นเรื่องจริง ไม่ใช่การแกล้งทำ มันคือการพาตัวเองเข้าไปอยู่ในบทบาท สถานการณ์นั้น ถ้าเราเข้าใจตัวละครนั้นจริงๆ เราจะเข้าใจว่าทำไมเขาแสดงออกอย่างนั้น และเราจะสวมบทบาทนั้นได้ พร้อมๆ กับไม่ตัดสินเขา” รองศาสตราจารย์อรชุมา ยุทธวงศ์ อดีตอาจารย์ภาควิชาศิลปการละคร ได้ให้สัมภาษณ์ a day BULLETIN และพูดเกี่ยวกับศาสตร์การละคร ความสัมพันธ์ระหว่างละครกับชีวิต และหนังสือเล่มใหม่ของอาจารย์ ขอเชิญทุกท่านอ่านบทสัมภาษณ์ของอาจารย์ได้ที่ลิงก์นี้ อรชุมา ยุทธวงศ์: ‘Self-Searching – คุณค่า ตัวตน คนละคร’ หนังสือที่เป็นดั่งกระจกสะท้อนใจเขาใจเรา
-
อาคารมหาจักรีสิรินธรและอาคารบรมราชกุมารี เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเทอม
อาคารมหาจักรีสิรินธรและอาคารบรมราชกุมารี เตรียมพร้อมสำหรับการเปิดเทอม นอกจากการจัดห้องเรียนตามข้อปฏิบัติเรื่องระยะห่างระหว่างบุคคลในห้องเรียนและห้องปฏิบัติการต่างๆ ในอาคารเรียนของคณะอักษรศาสตร์ ทั้งอาคารมหาจักรีสิรินธรและอาคารบรมราชกุมารีแล้ว ทางคณะยังได้เตรียมพร้อมในการเพิ่มเติมพื้นที่นั่งบริเวณโถงอาคารมหาจักรีสิรินธร โดยมีการจัดโต๊ะและเก้าอี้จำนวนกว่า 100 ที่เพื่อรองรับความต้องการพื้นที่เรียนของนิสิตและมีการวางสายปลั๊กไว้อำนวยความสะดวกนิสิตที่จะนำเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลมาใช้ค่ะ ส่วนนิสิตที่ต้องการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของคณะ นอกจากเครื่องที่จัดไว้ที่ศูนย์สารนิเทศมนุษยศาสตร์และสรรพศาสตร์สโมสร นิสิตยังสามารถจองใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ ณ ชั้นลอย อาคารบรมราชกุมารี ทั้งนี้เพื่อสุขอนามัยในการใช้คอมพิวเตอร์ของคณะ ขอความร่วมมือให้นิสิตนำหูฟังของตนเองมาด้วยนะคะ
-
กิจกรรม “ชาตินิยม (ไม่) ชมชอบ”
กิจกรรม “ชาตินิยม (ไม่) ชมชอบ” ในวันอาทิตย์ที่ 9 สิงหาคมนี้ เวลา 20.00 น. ชาตินิยมเป็นกระแสที่เกิดขึ้นตลอดเวลา บางทีเราก็รู้ตัว บางทีชาตินิยมก็แฝงในชีวิตประจำวันโดยที่เราไม่รู้สึกว่าเรากำลังเป็นส่วนหนึ่งในกระแสของความลั่งไคล้ชาตินิยม และบางทีเราก็อาจก็ตกเป็นเหยื่อ โดยไม่รู้ตัว ComLit Chula ร่วมกับ Review เวิ่น สัปดาห์นี้ชวนมองประเด็นชาตินิยมจากกรณีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความคลั่งชาติที่ถูกนำมาใช้กับคนเห็นต่างกับรัฐ ไม่ว่าจะเป็นในญี่ปุ่นจากประเด็นเรื่อง Comfort Women หรือประเด็นชาตินิยมแบบอเมริกาที่ยึดโยงการเมืองและเรื่องเพศจนเกิดแนวคิด Homonationalism หรือ homosexual ถูกมองเป็นศัตรูในกระแสชาตินิยมในคิวบา และอีกหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับชาตินิยมในวรรณกรรมและภาพยนตร์ มาสำรวจว่าในแต่ละมุมโลกตอบรับความเป็นชาตินิยมกันอย่างไรบ้าง…
-
กิจกรรม IS Journal Club ในหัวข้อ 𝗦𝗼𝗰𝗶𝗮𝗹 𝗱𝗶𝗴𝗶𝘁𝗮𝗹 𝗽𝗵𝗼𝘁𝗼𝗴𝗿𝗮𝗽𝗵 & 𝗮𝗿𝗰𝗵𝗶𝘃𝗶𝗻𝗴
#JournalClub Social digital photograph & archiving เมื่อเจอเหตุการณ์ต่าง ๆ หรือช่วงเวลาประทับใจ ก็อดไม่ได้ที่จะยกกล้องขึ้นมาถ่ายภาพและแบ่งปันผ่านโซเชียลมีเดียเพื่อช่วยบันทึกความทรงจำ แล้วแหล่งข้อมูลที่เก็บความทรงจำซึ่งเราคุ้นเคยอย่างพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุจะมีบทบาทอย่างไรกับสื่อที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วเช่นนี้ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมกิจกรรม IS Journal Club ในหัวข้อ Social digital photograph & archiving เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับคุณค่าของภาพถ่ายและแนวทางสำหรับพิพิธภัณฑ์และหอจดหมายเหตุในการรวบรวมภาพถ่ายผ่านสื่อสังคม กับรองศาสตราจารย์จินดารัตน์ เบอรพันธุ์ และ อาจารย์ ดร. วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ ผ่านเนื้อหาที่นำเสนอในบทความเรื่อง…