กระบวนการวนซ้ำในการออกแบบบริการสารสนเทศของห้องสมุด

กระบวนการวนซ้ำในการออกแบบบริการสารสนเทศของห้องสมุด

บทความเรื่อง Facilitating Iteration in Service Design in Libraries ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ในหนังสือ Assessment as Information Practice: Evaluating Collections and Services นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมกระบวนการวนซ้ำในการออกแบบบริการสารสนเทศในห้องสมุด ครอบคลุมแนวทางในการพัฒนาต้นแบบ (prototype) ที่รวดเร็วและแนวทางและวิธีการประเมินทรัพยากรหรือบริการที่มีความเฉพาะเจาะจง เป็นประโยชน์ และเชื่อถือได้ นอกเหนือจากแนวคิดและวิธีการแล้ว บทความชิ้นนี้ยังได้วิเคราะห์ความท้าทายและนำเสนอกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

หนังสือ Assessment as Information Practice: Evaluating Collections and Services เป็นหนังสือ ebook รวมบทความที่บรรณาธิกรโดย Gaby Haddow และ Hollie White จาก Curtin University ประเทศออสเตรเลีย ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Routledge เป็นหนึ่งในชุดหนังสือ Routledge Guides to Practice in Libraries, Archives and Information Science โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด กำหนดการวางแผนออกจำหน่ายเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2564 นี้เป็นต้นไป

ประเด็นความสามารถในการใช้งานได้ของแอปพลิเคชั่นระบบปรึกษาทางไกลระหว่างทีมแพทย์

ประเด็นความสามารถในการใช้งานได้ของแอปพลิเคชั่นระบบปรึกษาทางไกลระหว่างทีมแพทย์

การออกแบบระบบในบริบทการแพทย์คลินิกบนแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือ นับเป็นความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนาดของหน้าจอที่จำกัดอาจส่งผลต่อคุณภาพของข้อมูลที่และเกิดข้อผิดพลาดในการสื่อสารได้ ดังนั้น ในการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถใช้งานได้ตรงตามแบบจำลองทางความคิด (mental model) ของทีมแพทย์และผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ได้เข้าไปทำการทดสอบความสามารถในการใช้งานได้ (usability) ของระบบดังกล่าว โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิด PACMAD (People At the Centre of Mobile Application Development) (Harrison, Flood & Duce, 2013) มาในใช้การประเมินระบบปรึกษาทางไกลที่มีข้อมูลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในคลินิกออร์โธปิดิกส์ ผลการศึกษานอกจากจะช่วยพัฒนาและปรับปรุงระบบ Medic ให้สามารถใช้งานได้ดียิ่งขึ้นแล้ว ผลการศึกษาและการอภิปรายผลยังครอบคลุมข้อสังเกตและข้อพึงระวังในการออกแบบแอปพลิเคชั่นในบริบททางการแพทย์ในหลายมิติอีกด้วย

งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในรูปแบบบทความวิจัยที่เข้าถึงได้อย่างเสรี (open access) ชื่อ Exploring usability issues of smartphone-based physician-to-physician teleconsultation application in an orthopaedic clinic: A mixed-method study ในวารสาร JMIR Human Factors ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ที่ https://doi.org/10.2196/31130