หน้าปกหนังสือ Assessment as Information Practice: Evaluating Collections and Services (2021)

การพัฒนาห้องสมุดและองค์กรสารสนเทศในหลายแห่งติดกับดักกระบวนการทำงานแบบเส้นตรงที่มีระยะเวลาในการพัฒนาโครงการที่จำกัดและเฉพาะเจาะจง (เช่น 1 ปี งบประมาณ) การประเมินจะดำเนินการก็ต่อเมื่อใกล้เสร็จสิ้นการดำเนินโครงการ ทำให้ผลลัพธ์ไม่ว่าจะอยู่ในรูปของผลิตภัณฑ์หรือบริการอาจไม่สามารถตอบโจทย์ของผู้ใช้บริการได้อย่างแท้จริงและขาดการพัฒนาในระยะยาว แนวคิดและกระบวนการออกแบบบริการเป็นหนึ่งทางเลือกที่ห้องสมุดสามารถนำมาปรับใช้ในการพัฒนาบริการ กระบวนการทำงานและผลิตภัณฑ์ หนึ่งในหลักการที่สำคัญของการออกแบบบริการคือ การวนซ้ำ (iteration) ซึ่งเน้นการวัดและประเมินอย่างรวดเร็ว หลายรอบ เพื่อทำให้ค้นพบจุดบกพร่องและนำมาปรับแก้ได้อย่างรวดเร็ว

บทความเรื่อง Facilitating Iteration in Service Design in Libraries ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ในหนังสือ Assessment as Information Practice: Evaluating Collections and Services นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมกระบวนการวนซ้ำในการออกแบบบริการสารสนเทศในห้องสมุด ครอบคลุมแนวทางในการพัฒนาต้นแบบ (prototype) ที่รวดเร็วและแนวทางและวิธีการประเมินทรัพยากรหรือบริการที่มีความเฉพาะเจาะจง เป็นประโยชน์ และเชื่อถือได้ นอกเหนือจากแนวคิดและวิธีการแล้ว บทความชิ้นนี้ยังได้วิเคราะห์ความท้าทายและนำเสนอกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

หนังสือ Assessment as Information Practice: Evaluating Collections and Services เป็นหนังสือรวมบทความที่บรรณาธิกรโดย Gaby Haddow และ Hollie White จาก Curtin University ประเทศออสเตรเลีย ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Routledge เป็นหนึ่งในชุดหนังสือ Routledge Guides to Practice in Libraries, Archives and Information Science โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด กำหนดการวางแผนออกจำหน่ายเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2564 นี้เป็นต้นไป ผู้ที่สนใจสามารถสั่งซื้อโดยนำโค้ดส่วนลดจากแผ่นพับประชาสัมพันธ์ของสำนักพิมพ์ไปลดราคาบนหน้าเว็บไซต์ของสำนักพิมพ์ได้

บทคัดย่อของบทความ

Library services have been continuously challenged by the dynamics of sociotechnical and individual influences. Therefore, library services must be designed and improved iteratively to address these constant changes. Iterative design, one of the major principles of service design, can be adopted to help libraries develop and implement their products and services. This approach arranges all design processes in a non-linear sequence. The designers should be able to go back to any earlier step as soon as they discover new problems. Inexpensive, quick, and effortless prototype development and testing becomes a critical assessment method to ensure that the design is responsive to user feedback. At the same time, the feedback received from the prototype testing must be focused, reliable, and useful. Roles of prototype development and testing as assessment methods are highlighted in this chapter. Since the design of library services are multifaceted and complex, challenges of iteration design in libraries, as well as approaches to facilitate efficient iteration design, are addressed. Recommendations and case studies of the iteration design process in libraries are also presented.

นอกเหนือจากบทความเรื่องกระบวนการวนซ้ำในการออกแบบบริการฯ แล้ว หนังสือเล่มนี้ยังมีอีก 8 บทความนำเสนอมิติต่าง ๆ ของการประเมินทรัพยากรและบริการห้องสมุดทั้งทางกายภาพและดิจิทัลที่น่าสนใจ สามารถอ่านบทคัดย่อของหนังสือจากเนื้อหาข้างล่างนี้

Assessment as Information Practice provides information about a range of collection and service-based assessment approaches that can be applied in different contexts to benefit institutions and the users they serve by enhancing quality, efficiency and effectiveness.

With contributions from practitioners and researchers in Australia, New Zealand, Thailand and the United States, the chapters discuss practical and theoretical aspects of assessment in collecting institutions. Each chapter focuses on specific assessment approaches or contexts, while providing guidance on method and use. The chapters can be read alone, or as a series to gain an appreciation of assessment approaches, including: assessment-oriented research; storytelling; design thinking; data visualisation; mixed methods assessment for digital resources; data for institutional repository assessment; bibliometric methods; and impact assessment.

Assessment as Information Practice serves as a resource for practitioners involved in assessment activities. Detailing the processes and considerations that will contribute to more effective and sustainable assessment programs, the book is also relevant to faculty, researchers and students working in the information sector.

กระบวนการวนซ้ำในการออกแบบบริการสารสนเทศของห้องสมุด