Congratulations to Ms. Angsurat Raya and Asst. Prof. Somsak Sriborisutsakul, Ph.D., for receiving the best paper award presented at the 5th International Conference on Information Science (ICIS 2022). Titled “Use of the Copenhagen Burnout Inventory to Assess Thai Librarians’ Burnout During the COVID-19 Pandemic”, the research aims to gather respondents’ feedback about the survey instrument developed to assess Thai librarians’ burnout level and to prepare survey administration before launching the main study. Twenty Thai librarians from public and special libraries in the government sector tried out the 46-item questionnaire. The questionnaire includes 12 items of demographic information, 15 items about working situations during the COVID-19 pandemic, and 19 personal-related, work-related, and client-related burnout measures based on the Copenhagen Burnout Inventory. Findings indicated that the majority of the survey questions could be employed in actual data collection.
หนังสือใหม่ พื้นฐานการจัดระบบคอลเล็กชันดิจิทัล
หนังสือใหม่โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์สกุล ชื่อ พื้นฐานการจัดระบบคอลเลกชันดิจิทัลสำหรับงานห้องสมุดและจดหมายเหตุ ได้ออกวางจำหน่ายแล้วทั้งในรูปแบบรูปเล่มและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (ebook)
หนังสือเล่มนี้ปูพื้นฐานความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคอลเล็กชันดิจิทัลในห้องสมุดและจดหมายเหตุ การบรรยายข้อมูลในระเบียนเมทาดาทา การควบคุมความถูกต้องของจุดเข้าถึงในระเบียนเมทาดาทา วิธีจัดระบบความรู้สำหรับคอลเล็กชันดิจิทัล รวมถึงการฉายภาพอนาคตของการจัดระบบคอลเล็กชันดิจิทัล
ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดและการสั่งซื้อได้ที่ ร้านหนังสือออนไลน์ของโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการคณะอักษรศาสตร์ และศูนย์หนังสือจุฬาฯ
แนะนำบทความ Traditional Manuscript Archives at the National Library of Thailand
ชวนอ่านบทความเรื่อง Traditional Manuscript Archives at the National Library of Thailand: Background, Metadata and Access Outlook (2021) โดย อาจารย์ ดร. นยา สุจฉายา ตีพิมพ์ในหนังสือ Globalisation of Cultural Heritage Issues, Impacts and Challenges โดย Universiti Teknologi MARA (UiTM) ประเทศมาเลเซีย อ.ดร.นยาได้ทำการสำรวจคอลเลคชั่นเอกสารโบราณในหมวดจดหมายเหตุที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ กรุงเทพฯ โดยคัดเลือกเอกสารเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของไทยและมาเลเซียในช่วงสมัยอยุธยาและธนบุรีมาศึกษา การศึกษาครอบคลุมรูปแบบเอกสาร ลักษณะเนื้อหา และวิธีการจัดการทั้งการให้เมทาดาทา และการให้บริการที่สำนักหอสมุดแห่งชาติ
กระบวนการวนซ้ำในการออกแบบบริการสารสนเทศของห้องสมุด
บทความเรื่อง Facilitating Iteration in Service Design in Libraries ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ในหนังสือ Assessment as Information Practice: Evaluating Collections and Services นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมกระบวนการวนซ้ำในการออกแบบบริการสารสนเทศในห้องสมุด ครอบคลุมแนวทางในการพัฒนาต้นแบบ (prototype) ที่รวดเร็วและแนวทางและวิธีการประเมินทรัพยากรหรือบริการที่มีความเฉพาะเจาะจง เป็นประโยชน์ และเชื่อถือได้ นอกเหนือจากแนวคิดและวิธีการแล้ว บทความชิ้นนี้ยังได้วิเคราะห์ความท้าทายและนำเสนอกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องอีกด้วย
หนังสือ Assessment as Information Practice: Evaluating Collections and Services เป็นหนังสือ ebook รวมบทความที่บรรณาธิกรโดย Gaby Haddow และ Hollie White จาก Curtin University ประเทศออสเตรเลีย ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Routledge เป็นหนึ่งในชุดหนังสือ Routledge Guides to Practice in Libraries, Archives and Information Science โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด กำหนดการวางแผนออกจำหน่ายเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2564 นี้เป็นต้นไป
เมทาดาทาสำหรับการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในสังคมที่ไม่มีตัวอักษรเขียน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ นำเสนอผลงานหัวข้อ Describing Oral Tradition of Sea Gypsies in Thailand: From metadata modeling of digital archives to tribal language preservation and revitalization ในกิจกรรมการอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (panel presentation) หัวข้อ Cultural Metadata – For What Entities Are We Creating Metadata? ในการประชุมนานาชาติ Dublin Core Metadata Initiative (DCMI) Virtual 2021 ในวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00 -16.00 น. ตามเวลาประเทศไทย
การนำเสนอในครั้งนี้เป็นการนำเสนอประสบการณ์และสะท้อนมุมมองที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาพจนานุกรมมอแกลน-ไทย-อังกฤษกับทีมนักวิจัยและนิสิตภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาแบบจำลองข้อมูลสำหรับการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในบริบทสังคมที่ไม่มีตัวเขียนมีความท้าทายอย่างมาก การอธิบายมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการสงวนรักษาและการฟื้นฟู อาจจำเป็นจะต้องอาศัยอธิบายกลไกทางภาษาศาสตร์ไว้ในข้อมูลเหล่านั้นด้วย เช่น รูปแบบตัวอักษรเขียน วิธีการถอดเสียง วิธีการแปลหรือถอดความ เป็นต้น ซึ่งเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งที่ลดอคติของข้อมูลเหล่านี้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทที่การจัดการทางวัฒนธรรมต้องอาศัยคนจากภายนอกชุมชนเข้ามามีบทบาทในการสงวนรักษาและฟื้นฟู
“โควิด-19 และวงการห้องสมุดโลก”
คณาจารย์ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ร่วมกันแปลเอกสาร “โควิด-19 และวงการห้องสมุดโลก” (COVID-19 and the Global Library Field) จัดทำโดยสมาพันธ์สมาคมห้องสมุดนานาชาติเป็นภาษาไทย เอกสารนี้เป็นการรวบรวมความเคลื่อนไหวล่าสุดของห้องสมุดทุกประเภททั่วโลกในการรับมือกับการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโควิด-19
ท่านที่สนใจสามารถเข้าถึงเอกสารฉบับแปลได้ที่ bit.ly/iflacovid19th หรืออ่านต้นฉบับภาษาอังกฤษและภาษาอื่น ๆ ได้ที่ www.ifla.org/covid-19-and-libraries