รายการวิทยุ “Talking Arts: อักษรศาสตร์ชวนคุย” ประจำเดือนตุลาคม 2567
รายการวิทยุ “อักษรพาที” ประจำเดือนธันวาคม 2566 ออกอากาศที่สถานีวิทยุ FM 101.5 ทุกวันเสาร์ เวลา 08.05 – 08.30 น…
การร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาการศึกษา ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย)
เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดี คณะอักษรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา ดวงยิหวา หัวหน้าภาควิชาภูมิศาสตร์ และ ดร.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธานบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาการศึกษา ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ณ ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล คณะอักษรศาสตร์
การเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “แม่มดในสเปน: ไสยศาสตร์และการเขียนประวัติศาสตร์ “หญิงร้าย”” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล
กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญฟังเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “แม่มดในสเปน: ไสยศาสตร์และการเขียนประวัติศาสตร์ “หญิงร้าย”” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล สาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก ท่านสามารถรับชมการเสวนาย้อนหลังได้ที่นี่ ———————————————————————– แม่มดคือใคร? มีตัวตนอยู่จริงหรือไม่? เรื่องราว-เรื่องเล่าของแม่มดในสเปนยุคปัจจุบันในสื่อต่างๆ เป็นอย่างไร? เชิญพบคำตอบได้ในเสวนาต้อนรับเทศกาลฮาโลวีนและการตีพิมพ์ “แม่มดในสเปน ผู้หญิง เวทมนตร์ และวาทกรรมสังคมชายเป็นใหญ่” ครั้งที่ 4 (ฉบับปรับปรุงใหม่) ค่ะ เสวนา “แม่มดในสเปน: ไสยศาสตร์และการเขียนประวัติศาสตร์ ‘หญิงร้าย’ ” จะเป็นการพูดคุยเรื่องราวของแม่มดจากหลากมุมมอง ทั้งคติชน ภูมิศาสตร์ เพศสภาพ ประวัติศาสตร์ ไปจนถึงร่องรอยเรื่องเล่าในประเทศสเปน ที่ปัจจุบันมีการนำกลับมาเล่าใหม่ในรูปแบบภาพยนตร์ ซีรี่ส์ และเพลง โดยรศ.ดร.ภาสุรี ลือสกุล ผู้เขียน “แม่มดในสเปน ผู้หญิง เวทมนตร์ และวาทกรรมสังคมชายเป็นใหญ่” อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาสเปนที่ได้เคยเดินทางสำรวจ “หมู่บ้านแม่มด” และพื้นที่ซึ่งเคยได้รับผลกระทบจากการล่าแม่มดในอดีต
“เขียนให้ถึง เขียนให้จึ้ง เขียนให้เป็นมืออาชีพ”
เชิญชวนมาคุยกันว่าการ “เขียนให้ถึง เขียนให้จึ้ง เขียนให้เป็นมืออาชีพ” ต้องทำอย่างไร และมากกว่าทักษะการเขียน อาจจะต้องใช้ทักษะการวางแผน การนำเสนอ และค้นหาช่องทางในการประกอบอาชีพการเขียนและคอนเทนต์สร้างสรรค์ จาก “ตัวต้นเรื่อง” มืออาชีพ ทั้งนักเขียน ผู้เขียนบทละครและบทภาพยนตร์ ผู้จัดซีรีส์จาก Netflix และบรรณาธิการบริหารนิตยสารออนไลน์ วันศุกร์ที่ 8 พฤศจิกายน 2567 ตั้งแต่ 9.30 น. เป็นต้นไป ณ สถาบันขงจื่อแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 15 อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณะอักษรศาสตร์ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องใน “วันปิยมหาราช”
วันพุธที่ 23 ตุลาคม 2567 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิการบดี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ และนิสิตจุฬาฯ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องใน “วันปิยมหาราช” ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (พระบรมรูปทรงม้า) บริเวณลานพระราชวังดุสิต จากนั้น เข้าร่วมพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายฯ ณ ห้องรับรอง หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณบดีคณะอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยรองคณบดี (รับผิดชอบงานวางแผนและประกันคุณภาพ)เข้าร่วมกิจกรรมและมอบกระเช้าแสดงความยินดี เนื่องในโอกาส ครบรอบ 86 ปี แห่งการสถาปนา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี
วันอังคารที่ 22 ตุลาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ ธีรพจนี รองคณบดี (รับผิดชอบงานวางแผนและประกันคุณภาพ) เข้าร่วมกิจกรรมและมอบกระเช้าแสดงความยินดี เนื่องในโอกาส ครบรอบ 86 ปี แห่งการสถาปนา คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ธารทัศน์ โมกขมรรคกุล คณบดีคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับมอบ
งานประชุมวิชาการหัวข้อ “พระเสด็จโดยแดนชล” วัฒนธรรมเห่เรือในวรรณคดีและศิลปกรรมไทย และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ ระดับมัธยมศึกษา
การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานและกล่าวเปิดงาน รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวรายงานการจัดกิจกรรม และมีวิทยากร คือ ศาสตราจารย์ กิตติคุณ ดร.ชลดา เรืองรักษ์ลิขิต และ ดร. ไพโรจน์ ทองคําสุก ราชบัณฑิตสํานักศิลปกรรม สํานักงานราชบัณฑิตยสภา บรรยาย ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมเห่เรือที่มีความสําคัญต่อวรรณคดีและศิลปกรรมของไทย นอกจากนี้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนทวีธาภิเศก ยังได้ร่วมแสดงเห่เรือบทร้อยกรองรางวัลชนะเลิศการประกวดบทร้อยกรองประเภท กาพย์เห่ ระดับมัธยมศึกษา อีกด้วย เมื่อวันศุกร์ที่ 18 ตุลาคม 2567 คณะอักษรศาสตร์ และภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับ สถาบันไทยศึกษา สาขาวิชาการสอนภาษาไทย คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันสุนทรภู่ ได้จัดการประชุมวิชาการหัวข้อ “พระเสด็จโดยแดนชล” วัฒนธรรมเห่เรือในวรรณคดีและศิลปกรรมไทย และพิธีมอบรางวัลการประกวดบทร้อยกรองประเภทกาพย์เห่ ระดับมัธยมศึกษา ณ ห้องประชุมชั้น 15 […]
รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต พร้อมด้วยคณะกรรมการนิสิตอักษรศาสตร์ (ก.อศ.) ร่วมต้อนรับ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษา และคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
วันที่ 16 ตุลาคม 2567 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดังกมล ณ ป้อมเพชร รองคณบดีฝ่ายกิจการนิสิต พร้อมด้วยคณะกรรมการนิสิตอักษรศาสตร์ (ก.อศ.) ร่วมต้อนรับ ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ คณะกรรมการฝ่ายกิจการนักศึกษา และคณะกรรมการสโมสรนักศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ที่เข้าศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการต่าง ๆ กับฝ่ายกิจการนิสิตและสโมสรนิสิตคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
พิธีเปิดโครงการพิพิธภารัต 2567 และพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ
วันอังคารที่ 15 ตุลาคม 2567 ศูนย์อินเดียศึกษา สถาบันเอเชียศึกษา และคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้ร่วมกันจัดพิธีเปิดโครงการพิพิธภารัต 2567 และพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ณ ห้องรับรอง หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมีนายนาเคศ สิงห์ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย และศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นประธาน โครงการพิพิธภารัต 2567 จัดโดยศูนย์อินเดียศึกษาเพื่ออบรมครูเพื่อเพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับอินเดีย เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเจริญพระชนมพรรษา 6 รอบ โดยมีคณาจารย์สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ คณะอักษรศาสตร์ ร่วมเป็นคณะวิทยากรด้วย ในโอกาสเดียวกันนี้ นายนาเคศ สิงห์ เอกอัครราชทูตอินเดียประจำประเทศไทย และศาสตราจารย์ ดร.วิเลิศ ภูริวัชร อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมือตำแหน่งอาจารย์ภาษาฮินดีแห่งสภาวัฒนธรรมสัมพันธ์อินเดีย (ICCR) โดยรัฐบาลอินเดียจะส่งอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญภาษาฮินดีมาสอนประจำ ณ สาขาวิชาภาษาเอเชียใต้ กำหนดวาระละ 2 ปี และในระหว่างนั้น จะร่วมกับคณาจารย์ชาวไทยผลิตผลงานวิชาการประเภทต่างๆ รวมถึงจัดการบรรยายสาธารณะ ในพิธีนี้ได้รับเกียรติจากนางสาวศศิริทธ์ ตันกุลรัตน์ อธิบดีกรมเอเชียใต้ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ นางเปาโลมี ตริปาฐี […]
งานกิจการนิสิต เปิดรับสมัครทุนอุดหนุนการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย ประจำปีการศึกษา 2567
งานกิจการนิสิต คณะอักษรศาสตร์ เปิดรับสมัครทุนอุดหนุนการศึกษา สำหรับนิสิตปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ภาคการศึกษาปลาย ประจำปีการศึกษา 2567 นิสิตที่มีความประสงค์สมัครทุนการศึกษาดังกล่าว สามารถสมัครได้ผ่านการแสกน QR Code ที่ปรากฏในภาพสื่อประชาสัมพันธ์ สมัครได้ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 15 พฤศจิกายน 2567 หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามได้ที่ e-mail: artschula.scholarship@gmail.com
คณะอักษรศาสตร์ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช”
วันอาทิตย์ที่ 13 ตุลาคม 2567 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิการบดี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ และนิสิตจุฬาฯ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เนื่องใน “วันนวมินทรมหาราช” ณ อุทยานเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (นางเลิ้ง) และพิธีบำเพ็ญกุศลอุทิศถวายฯ ณ ห้องรับรอง หอประชุมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
คณบดีคณะอักษรศาสตร์และคณะ มอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร ลักษณียนาวิน เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
วันพุธที่ 2 ตุลาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์และเจ้าหน้าที่จากภาควิชาภาษาศาสตร์ ร่วมมอบช่อดอกไม้แสดงความยินดีแด่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุดาพร ลักษณียนาวิน เนื่องในโอกาสเข้ารับพระราชทานปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ขอแสดงความยินดีกับทีม CBS 보이는 라디오 팀 ของนิสิตวิชาเอกภาษาเกาหลี ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 ในการประกวดสุนทรพจน์ภาษาเกาหลี
คณะอักษรศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับทีม CBS 보이는 라디오 팀 ของนิสิตวิชาเอกภาษาเกาหลี ชั้นปีที่ 4 ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับ 1 (대상) ในการประกวดสุนทรพจน์ภาษาเกาหลี ประจำปี 2567 (2024 태국 한국교육원 한국어 말하기 대회) เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2567 ณ กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี โดยมีรายชื่อดังนี้ 1. นางสาวพรปรียา ศรีแก้ว 2. นางสาวณัฐณิชา บุญยืน 3. นางสาวศุภาพิชญ์ เฉลยฤกษ์ 4. นายณัฐรัช ศรีสิงห์โฉม 5. นายณัฐกฤต ทิมศรี
ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่หนังสือ “ชาดกกับวัฒนธรรมวรรณศิลป์ไทย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ได้รับรางวัลหนังสือวิชาการดีเด่น ศาสตราจารย์ ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ประจำปี 2566
คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่หนังสือ “ชาดกกับวัฒนธรรมวรรณศิลป์ไทย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับรางวัลหนังสือวิชาการดีเด่น ศาสตราจารย์ ดร.รื่นฤทัย สัจจพันธุ์ ประจำปี 2566
ขอแสดงความยินในโอกาสที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ พลมุข ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินในโอกาสที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ พลมุข อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับการแต่งตั้งจากฝ่ายบริหารบัณฑิตวิทยาลัย ไปดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการหลักสูตรสหสาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2567 ถึง 31 ตุลาคม 2570