ผู้ช่วยศาสตราจารย์หัตถกาญจน์ อารีศิลป ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในกิจกรรมเสริมทักษะการอ่านให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 วชิราวุธวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์หัตถกาญจน์ อารีศิลป อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากวชิราวุธวิทยาลัย ไปเป็นวิทยากรในกิจกรรมเสริมทักษะการอ่านให้กับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 และ 6 ระหว่างวันที่ 29 – 31 ตุลาคม 2567 เวลา 19:00 – 20:30 น. ณ ห้องประชุม คณะสนามจันทร์ วชิราวุธวิทยาลัย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังสนา เรืองดำ ได้รับเชิญไปเป็นผู้บรรยายในวิชาภาษารัสเซีย ณ กรมข่าวทหารอากาศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อังสนา เรืองดำ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากกรมข่าวทหารอากาศ ไปเป็นผู้บรรยายในวิชาภาษารัสเซีย ตั้งแต่วันที่ 9 มกราคม ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2568 ณ กรมข่าวทหารอากาศ กองบัญชาการกองทัพอากาศ
รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “รู้ทัน AI เสริมสมรรถนะบรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ”

รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากสำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปเป็นวิทยากรบรรยายและอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “รู้ทัน AI เสริมสมรรถนะบรรณารักษ์วิเคราะห์ทรัพยากรสารสนเทศ” ระหว่างวันที่ 21 – 22 พฤศจิกายน 2567 ณ สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
รองศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด ศีติสาร ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่นในงาน “มหกรรมญี่ปุ่น รังสิต ครั้งที่ 14”

รองศาสตราจารย์ ดร.ชมนาด ศีติสาร อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากภาควิชาภาษาญี่ปุ่น วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ไปเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันประกวดสุนทรพจน์ภาษาญี่ปุ่นในงาน “มหกรรมญี่ปุ่น รังสิต ครั้งที่ 14” (RSU Japanese Fair 2024) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08:30 – 16:00 น. ณ อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพวรรณ โสภิตวุฒิวงศ์ ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันออกแบบเครื่องแต่งกายในงาน “มหกรรมญี่ปุ่น รังสิต ครั้งที่ 14”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ยุพวรรณ โสภิตวุฒิวงศ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากภาควิชาภาษาญี่ปุ่น วิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ไปเป็นกรรมการตัดสินการแข่งขันออกแบบเครื่องแต่งกายในงาน “มหกรรมญี่ปุ่น รังสิต ครั้งที่ 14” (RSU Japanese Fair 2024) เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08:30 – 16:00 น. ณ อาคารอาทิตย์ อุไรรัตน์ มหาวิทยาลัยรังสิต
รองศาสตราจารย์ ดร.พิริยะดิศ มานิตย์ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษในรายวิชา 01374221 ประวัติวรรณคดีฝรั่งเศส

รองศาสตราจารย์ ดร.พิริยะดิศ มานิตย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาฝรั่งเศส ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปเป็นอาจารย์พิเศษในรายวิชา 01374221 ประวัติวรรณคดีฝรั่งเศส ภาคปลาย ปีการศึกษา 2567 ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายน 2567 ถึงวันที่ 16 มีนาคม 2568 เวลา 13:00 – 16:00 น.
รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ได้รับเชิญไปเป็นกรรมการการแข่งขันตอบปัญหาประวัติศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2567

รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากหอวชิราวุธานุสรณ์ ไปเป็นกรรมการการแข่งขันตอบปัญหาประวัติศาสตร์ ประจำปีการศึกษา 2567 ในหัวข้อ พระราชประวัติ พระราชกรณียกิจ และประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวเนื่องกับพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอเจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี และเรื่องอักษรวรรณนา-ธีรราชาธิบาย
ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เจตนา นาควัชระ ได้รับรางวัล “นักเขียนอมตะ” ประจำปี 2567 จากมูลนิธิอมตะ

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เจตนา นาควัชระ อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ ได้รับรางวัล “นักเขียนอมตะ” ประจำปี 2567 จากมูลนิธิอมตะ
อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต ได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการจัดการประชุม (Programme Committee) ในการประชุมนานาชาติด้านประวัติศาสตร์ของเอกสารและจดหมายเหตุประจำปี 2567 (2024 International Conference on the History of Records and Archives – ICHORA)

อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการจัดการประชุม (Programme Committee) ในการประชุมนานาชาติด้านประวัติศาสตร์ของเอกสารและจดหมายเหตุประจำปี 2567 (2024 International Conference on the History of Records and Archives – ICHORA) จัดขึ้นในวันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2567 โดยมีหน่วยงานเจ้าภาพคือ มหาวิทยาลัยเวสต์อินดีส์ (The University of the West Indies) ประเทศจาไมกา และกลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐในเมืองนิวยอร์ก (City University of New York) ประเทศสหรัฐอเมริกา หัวข้อหลักของการประชุมเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวปฏิบัติด้านการจัดการเอกสารและจดหมายเหตุ (Archival Praxis) ภายใต้แนวคิดการละทิ้งมรดกทางความคิดของประเทศเจ้าอาณานิคม (Decolonisation) แนวคิดการไม่ครอบครองเอกสาร (Post-Custodial) ฯลฯ ในปีนี้ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในเอเชียที่ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดการประชุมนี้
อธิการบดี Universidade Catolica Portuguesa ประเทศโปรตุเกส และ Dr.Álvaro Barbosa รองอธิการบดีฝ่ายวิรัชกิจและวิชาการ University of Saint Joseph (มาเก๊า) มาเยือนคณะอักษรศาสตร์

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 Dr. Isabel Capeloa Gil อธิการบดี Universidade Catolica Portuguesa ประเทศโปรตุเกส และ Dr.Álvaro Barbosa รองอธิการบดีฝ่ายวิรัชกิจและวิชาการ University of Saint Joseph (มาเก๊า) มาเยือนคณะอักษรศาสตร์ โดยมีรศ.ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อ.ดร.ประโลม บุญรัศมี และอ. Maria Madureira จากสาขาวิชาภาษาโปรตุเกส ให้การต้อนรับ การมาเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือความร่วมมือการลงนามบันทึกความเข้าใจที่จะนำสู่การแลกเปลี่ยนนิสิตและอาจารย์ การวิจัย รวมถึงความร่วมมือทางวิชาการด้านต่างๆ
ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิษฐา เริงพิทยา (กรรณสูต) อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 25 อดีตอาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิษฐา เริงพิทยา (กรรณสูต) อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 25 อดีตอาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ
รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล ร่วมกิจกรรมและมอบกระเช้าแสดงความยินดีกับสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ 47 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันภาษา

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2567 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดี (รับผิดชอบงานวิรัชกิจ) ร่วมกิจกรรมและมอบกระเช้าแสดงความยินดีกับสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ 47 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันภาษา ณ บริเวณชั้น 1 อาคารเปรมบุรฉัตร สถาบันภาษา จุฬาฯ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จิรดา วุฑฒยากร ผู้อำนวยการสถาบันภาษา จุฬาฯ ให้การต้อนรับและรับมอบกระเช้า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนันท์ จันทร์เจ้าฉาย ได้รับรางวัล Best Paper by an Untenured Scientist ประจำปีค.ศ. 2024

ผลงานดังกล่าวศึกษาความเข้าใจและการผลิตคำอ้างถึงบุคคลของเด็กในกลุ่มออทิสซึมผู้พูดภาษาไทย เทียบกับเด็กที่มีพัฒนาการปกติ ผู้สนใจสามารถอ่านบทความได้ที่ https://doi.org/10.1080/10489223.2023.2262457 คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนันท์ จันทร์เจ้าฉาย อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับรางวัล Best Paper by an Untenured Scientist ประจำปีค.ศ. 2024 จากผลงานเรื่อง Difficulties with pronouns in autism: Experimental results from Thai children with autism ที่ตีพิมพ์ร่วมกับศาสตราจารย์ ดร. Florian Schwarz ในวารสาร Language Acquisition ของสำนักพิมพ์ Routledge ในเครือบริษัท Taylor & Francis ผลงานดังกล่าวศึกษาความเข้าใจและการผลิตคำอ้างถึงบุคคลของเด็กในกลุ่มออทิสซึมผู้พูดภาษาไทย เทียบกับเด็กที่มีพัฒนาการปกติ ผู้สนใจสามารถอ่านบทความได้ที่ https://doi.org/10.1080/10489223.2023.2262457
การเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “บาดแผลและความรุนแรงแห่งระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ในงานเขียนของฮันกัง โชนัมจู และช็องโบรา” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วริตตา ศรีรัตนา

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญฟังเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “บาดแผลและความรุนแรงแห่งระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ในงานเขียนของฮันกัง โชนัมจู และช็องโบรา” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วริตตา ศรีรัตนา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ และนักวิจัยประจำ Käte Hamburger Centre for Apocalyptic and Post-Apocalyptic Studies (CAPAS) at Heidelberg University และ อาจารย์ ดร. อิสริยา พาที อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ ————————————————————————– วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2567 เวลา 18.00 – 19.30 น. เสวนาผ่าน Zoom และ LIVE ทางเฟซบุ๊ก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนฟรีด้วยการสแกน QR […]
วิทยานิพนธ์ของอาจารย์ ดร.รัฐพร สวรรค์พิทักษ์ ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี จากสำนักการวิจัยแห่งชาติ

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของอาจารย์ ดร.รัฐพร สวรรค์พิทักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน เรื่อง “การศึกษาเรื่องเพศวิถีีและอัตวิสัยของผู้หญิงผ่านผลงานวรรณกรรมจีน แนวสตรีนิยมของนักเขียนหญิง: หวังอันอี้ เถี่ยหนิงและฉือลี่” ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี จากสำนักการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568