การเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “บาดแผลและความรุนแรงแห่งระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ในงานเขียนของฮันกัง โชนัมจู และช็องโบรา” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วริตตา ศรีรัตนา

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญฟังเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม

เรื่อง “บาดแผลและความรุนแรงแห่งระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ในงานเขียนของฮันกัง โชนัมจู และช็องโบรา”

โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วริตตา ศรีรัตนา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ และนักวิจัยประจำ Käte Hamburger Centre for Apocalyptic and Post-Apocalyptic Studies (CAPAS) at Heidelberg University

และ อาจารย์ ดร. อิสริยา พาที อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์

————————————————————————–

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2567 เวลา 18.00 – 19.30 น.

เสวนาผ่าน Zoom และ LIVE ทางเฟซบุ๊ก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนฟรีด้วยการสแกน QR code หรือ

https://forms.gle/WvH3RFHJuKokkqVu8

———————————————————————–

งานเสวนาเรื่อง “บาดแผลและความรุนแรงแห่งระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ในงานเขียนของฮันกัง โชนัมจู และช็องโบรา” จะพาท่านผู้ฟังร่วมสำรวจงานวรรณกรรมคัดสรรจากปลายปากกาของนักเขียนหญิงชาวเกาหลีใต้ร่วมสมัยที่โดดเด่นทั้งสามคน ได้แก่ ฮันกัง นักเขียนชาวเกาหลีใต้คนแรกในประวัติศาสตร์ที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาวรรณกรรม โชนัมจู อดีตนักเขียนบทโทรทัศน์เจ้าของผลงานเรื่อง คิมจียอง เกิดปี 82 ที่จุดประกายและขับเคลื่อนขบวนการเฟมินิสต์ในเกาหลีใต้ และช็องโบรา นักวิชาการด้านรัสเซียศึกษาและยุโรปตะวันออกศึกษาผู้รังสรรค์จินตนิยาย (speculative fiction) ที่สะท้อนความแอบเสิร์ด (absurd) ของความเป็นจริงแห่งสังคมเกาหลีใต้ภายใต้ทุนนิยมและระบอบปิตาธิปไตย นอกจากนี้ งานเสวนาจะเชิญชวนท่านผู้ฟังให้ร่วมวิเคราะห์งานวรรณกรรมคัดสรรผ่านมุมมองทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อทำความเข้าใจบาดแผลจากความรุนแรงเชิงองค์ความรู้ (epistemic violence) ในระนาบต่าง ๆ ที่ทับซ้อนประสานกัน (intersectional) อาทิ แนวคิดเรื่องความกลัวเกลียดเหยียดหญิง (misogyny) ในฐานะเครื่องมือควบคุมลงทัณฑ์ของเคท แมน แนวคิดการเมืองมรณะ (necropolitics) ของอาชิล เอ็มเบมเบ และแนวคิดทุนนิยมงูกินหาง (cannibal capitalism) ของแนนซี เฟรเซอร์

[post-views]

ข่าวที่เกี่ยวข้อง