Skip to content
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์

คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

Menu

  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับภาควิชา
    • ประวัติความเป็นมา
    • เงินทุนของภาควิชา
    • เกียรติประวัติ/รางวัล
  • หลักสูตร
    • M.A./Ph.D. (Information Studies)
    • อ.ม. การดูแลรักษาข้อมูลและสารสนเทศ (พ.ศ. 2564)
    • อ.บ. สารสนเทศศึกษา พ.ศ. 2566
    • อ.บ. สารสนเทศศึกษา พ.ศ. 2561
    • อ.บ. สารนิเทศศึกษา พ.ศ. 2557
    • อ.บ. เทคโนโลยีภาษาและสารสนเทศ
    • วิชาโท สารสนเทศศึกษา
    • วิชาโท บรรณาธิการศึกษา
    • วิชาโท มนุษยศาสตร์ดิจิทัล
  • วิจัย
    • หน่วยปฏิบัติการวิจัยภูมิทัศน์สารสนเทศ (Information Landscape)
    • หน่วยปฏิบัติการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์และสนเทศศาสตร์ทางสังคม
    • หน่วยปฏิบัติการวิจัย The Arc of Memory
    • วิทยานิพนธ์ อ.ม. บรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์ (2509 – 2560)
    • วิทยานิพนธ์ อ.ม. บรรณารักษศาสตร์ (2512-2539)
    • วารสารบรรณารักษศาสตร์
    • เอกสารบรรณารักษศาสตร์
  • บุคลากร
  • สนับสนุน
  • ติดต่อเรา
  • English

เมทาดาทาสำหรับการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในสังคมที่ไม่มีตัวอักษรเขียน

หน้าแรกของสไลด์การนำเสนอ Describing oral tradition of sea gypsies in Thailand

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ นำเสนอผลงานหัวข้อ Describing Oral Tradition of Sea Gypsies in Thailand: From metadata modeling of digital archives to
tribal language preservation and revitalization ในกิจกรรมการอภิปรายโดยกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ (panel presentation) หัวข้อ Cultural Metadata – For What Entities Are We Creating Metadata? ในการประชุมนานาชาติ Dublin Core Metadata Initiative (DCMI) Virtual 2021 ในวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 14.00 -16.00 น. ตามเวลาประเทศไทย

การนำเสนอในครั้งนี้เป็นการนำเสนอประสบการณ์และสะท้อนมุมมองที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาพัฒนาพจนานุกรมมอแกลน-ไทย-อังกฤษกับทีมนักวิจัยและนิสิตภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยชี้ให้เห็นว่าการพัฒนาแบบจำลองข้อมูลสำหรับการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในบริบทสังคมที่ไม่มีตัวเขียนมีความท้าทายอย่างมาก การอธิบายมรดกทางวัฒนธรรมเหล่านี้โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อการสงวนรักษาและการฟื้นฟู อาจจำเป็นจะต้องอาศัยอธิบายกลไกทางภาษาศาสตร์ไว้ในข้อมูลเหล่านั้นด้วย เช่น รูปแบบตัวอักษรเขียน วิธีการถอดเสียง วิธีการแปลหรือถอดความ เป็นต้น ซึ่งเป็นกลไกสำคัญประการหนึ่งที่ลดอคติของข้อมูลเหล่านี้ด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในบริบทที่การจัดการทางวัฒนธรรมต้องอาศัยคนจากภายนอกชุมชนเข้ามามีบทบาทในการสงวนรักษาและฟื้นฟู

การประชุม DCMI Virtual 2021 เป็นการประชุมทางวิชาการประจำปีของชุมชนนักวิชาการและผู้ปฏิบัติงานที่มีความสนใจเรื่องเมทาดาทาจากทั่วโลก เนื่องด้วยสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้การจัดการประชุมอยู่ในรูปแบบออนไลน์ Panel Presentation ในครั้งนี้นำโดย Prof.Dr.Shigeo Sugimoto จาก University of Tsukuba และร่วมนำเสนอโดย 1) Dr.Akihiro Kameda จาก National Museum of Japanese History, Japan 2) Dr.Chiranthi Wijesundara จาก University of Colombo, Sri Lanka และ Dr.Tetsuya Mihara นักวิชาการอิสระ ซึ่งจะครอบคลุมประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการอธิบายข้อมูลการวิจัยทางด้านมนุษยศาสตร์ เมทาดาทาสำหรับการ์ตูน อนิเมชั่น และวิดีโอเกมส์ รวมไปถึงมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้และไม่ถาวรด้วย

เมทาดาทาสำหรับการจัดการมรดกทางวัฒนธรรมในสังคมที่ไม่มีตัวอักษรเขียน
Tagged on: digital preservation    language documentation    language revitalization    metadata    Songphan Choemprayong    การฟื้นฟูภาษา    การสงวนรักษาดิจิทัล    ทรงพันธ์ เจิมประยงค์    เมทาดาทา
Webmaster 2 ตุลาคม 202125 กุมภาพันธ์ 2022 การเป็นแหล่งอ้างอิงในสาขา, ข่าว, คณาจารย์, วิจัย
  • ← อ.ดร.วชิราภรณ์ร่วมแปลคู่มือการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน
  • สำรวจทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในห้องสมุดต่างประเทศ →

You May Also Like

Call for volunteers! ICADL & A-LIEP

Call for volunteers! ICADL & A-LIEP

ปภัสรา อาษา 19 กันยายน 201719 กันยายน 2017
รับมอบกองทุนผู้ช่วยศาสตราจารย์วนิดา สุรวดี ประจำปี 2562

รับมอบกองทุนผู้ช่วยศาสตราจารย์วนิดา สุรวดี ประจำปี 2562

Webmaster 2 ธันวาคม 20192 ธันวาคม 2019
แนะนำบทความ Traditional Manuscript Archives at the National Library of Thailand

แนะนำบทความ Traditional Manuscript Archives at the National Library of Thailand

songphan 9 พฤศจิกายน 20229 พฤศจิกายน 2022
การอ้างอิง การเขียนรายการบรรณานกรม การเขียนรายการอ้างอิง การอ้างถึงใน การอ้างอิงตอนท้าย เอกสารกำหนดรูปแบบการอ้างอิง ครอบคลุมทั้งการอ้างอิงในเนื้อหา การอ้างอิงตอนท้าย ประกอบไปด้วยคำอธิบาย หลักเกณฑ์ และตัวอย่างประกอบ
/iz/: information is all around พอดคาสต์ตามติดประเด็นปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับข้อมูล สารสนเทศ ความรู้ การอ่าน วรรณกรรม ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาวิชา

ติดต่อเรา

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ชั้น 8 อาคารบรมราชกุมารี
ถนนพญาไท ปทุมวัน
กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์: 02-218-4817, 096-202-3310
โทรสาร: 02-218-4818
อีเมล์: libsci@chula.ac.th

ข่าวย้อนหลัง

Facebook: @libsciCU

RSS ข่าวสารภาควิชา

LIS Journal Club

Copyright © 2025 ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์. All rights reserved. Theme Spacious by ThemeGrill. Powered by: WordPress.
  • หน้าหลัก
  • เกี่ยวกับภาควิชา
  • กิจกรรม
  • หลักสูตร
  • วิจัย
  • บุคลากร
  • ติดต่อเรา