ขอเชิญรับฟังการบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคมเรื่อง “การเมือง (หนัง) เรื่องผืนแผ่นดิน: จากภาพยนตร์ฟาสซิสต์อิตาลีถึงภาพยนตร์ไทย”

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญรับฟังการบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง การเมือง (หนัง) เรื่องผืนแผ่นดิน: จากภาพยนตร์ฟาสซิสต์อิตาลีถึงภาพยนตร์ไทย โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาจรีย์ ทาชาติ สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ————————————————————————– วันพุธที่ 14 สิงหาคม 2567 เวลา 13.30-15.00 น. ณ ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล อาคารบรมราชกุมารี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนฟรีด้วยการสแกน QR code หรือ เข้าไปยังลิงก์นี้ หรือสามารถรับชมผ่าน Facebook live บนเพจเฟซบุ๊คคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันและเวลาดังกล่าว ————————————————————————– เนื้อหาการบรรยาย >>> เมื่อผืนดิน ไร่นา ไม่ได้เป็นแค่จุดกำเนิดของความรัก หากแต่เพื่อผลิตผลทางการเมือง

รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดี เข้าร่วมกิจกรรมและมอบกระเช้าแสดงความยินดีกับบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ 62 ปี แห่งการสถาปนา

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม 2567 รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดี (รับผิดชอบงานด้านวิรัชกิจ) เข้าร่วมกิจกรรมและมอบกระเช้าแสดงความยินดีกับบัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ 62 ปี แห่งการสถาปนา ณ ชั้น 20 อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10)

ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่คณาจารย์ได้รับการอนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 889 วันที่ 25 กรกฎาคม 2567

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่คณาจารย์ได้รับการอนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 889 วันที่ 25 กรกฎาคม 2567 ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้ ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1. อาจารย์ ดร.ตรีพล เกิดนาค (หลักสูตรภาษาและวัฒนธรรม หลักสูตรนานาชาติ) 2. อาจารย์ ดร.ปิยฤดี ไชยพร (ภาควิชาปรัชญา)

คณะอักษรศาสตร์เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณหอประชุมจุฬาฯ

เมื่อวันศุกร์ที่ 26 กรกฎาคม 2567 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ รองคณบดี และหัวหน้าส่วนงานต่าง ๆ ของคณะฯ เข้าร่วมกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 28 กรกฎาคม 2567 ณ บริเวณหอประชุมจุฬาฯ กิจกรรมเฉลิมพระเกียรติฯ ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจัดขึ้น เริ่มจากพิธีถวายชัยมงคลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณตนเพื่อเป็นข้าราชการที่ดีและพลังของแผ่นดิน ณ บริเวณเสาธง หน้าหอประชุมจุฬาฯ โดยมี ศ. (พิเศษ) ดร.สุรเกียรติ์ เสถียรไทย นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นประธานในพิธี จากนั้นนายกสภามหาวิทยาลัย ผู้รักษาการอธิการบดีจุฬาฯ กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ บุคลากร ผู้แทนนิสิตเก่า นิสิตปัจจุบัน ร่วมพิธีตักบาตรพระสงฆ์จำนวน 73 รูป ถวายเป็นพระราชกุศล ณ บริเวณรอบเสาธง หน้าหอประชุมจุฬาฯ

โครงการอบรม “บาบิโลน: ต้นตำรับการมู”

วัฒนธรรมเมโสโปโตเมียโบราณเป็นวัฒนธรรมเก่าแก่ที่ยังปรากฏหลักฐานหลงเหลือมาจนปัจจุบันเป็นจำนวนมาก เรื่องเล่า ตำนาน และแบบแผนความเชื่อจากเมโสโปเตเมียล้วนแต่ทิ้งร่องรอยไว้ในวัฒนธรรมร่วมสมัยทั้งในโลกตะวันตกและตะวันออก ผู้เข้าอบรมจะได้เรียนรู้ความเชื่อตามคติพหุเทวนิยมแบบเมโสโปเตเมีย สำรวจหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่เผยให้เห็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า ศึกษาแบบแผนพิธีกรรมที่เชื่อมต่อโลกมนุษย์เข้ากับโลกของเทพเจ้า ตลอดจนบทบาทของความเชื่อเรื่องเทพเจ้าที่มีความสำคัญต่อแง่มุมต่างๆ ของวิถีชีวิตชาวเมโสโปเตเมีย . วัตถุประสงค์ – เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมองเห็นความหลากหลายของหลักฐานทางโบราณคดีและประวัติศาสตร์ที่เผยให้เห็นรายละเอียดเกี่ยวกับคติความเชื่อแบบเมโสโปเตเมียโบราณ – เพื่อให้ผู้เข้าอบรมมองเห็นองค์ประกอบของระบบความเชื่อแบบเมโสโปเตเมียโบราณ – เพื่อให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจพื้นฐานโลกทัศน์แบบเมโสโปเตเมียโบราณ . หัวข้อการอบรม 1. เทวตำนานเมโสโปเตเมียและหลักฐานที่เผยให้เห็นรายละเอียดของเรื่องราวเกี่ยวกับเทพ 2. องค์ประกอบของระบบความเชื่อ: เทพเจ้า พิธีกรรม ศาสนสถาน นักบวช วรรณกรรมเกี่ยวกับความเชื่อ 3. ปฏิสัมพันธ์ระหว่างเทพเจ้าและมนุษย์ บทบาทของเทพเจ้าในแง่มุมต่างๆ ของวิถีชีวิต . รับสมัครตั้งแต่วันนี้ – 23 สิงหาคม 2567 เรียนวันเสาร์ที่ 31 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 – 16.00 น. รวม 3 ชั่วโมง ราคาสมัคร 500 บาท สถานที่อบรมคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย […]

คณบดีคณะอักษรศาสตร์ให้การต้อนรับและขอบพระคุณ ดร.พีรสัณห์ บุณยคุปต์ ที่มอบ “อาลัย ครูทัศนีย์ บุณยคุปต์” หนังสืออนุสรณ์แด่ ดร. ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์ อดีตครูใหญ่และที่ปรึกษาโรงเรียนจิตรลดา

ดร. ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์ เป็นอักษรศาสตรบัณฑิต และบุตรีของพระยาภะรตราชา อดีตผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งท่านได้กรุณาให้เกียรติเป็นผู้แสดงปาฐกถาพิเศษในโอกาส ๑๐๐ ปี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง “พระวิสัยทัศน์ด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช” เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2567 คณบดีคณะอักษรศาสตร์ให้การต้อนรับและขอบพระคุณ ดร.พีรสัณห์ บุณยคุปต์ ที่มอบ “อาลัย ครูทัศนีย์ บุณยคุปต์” หนังสืออนุสรณ์แด่ ดร. ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์ อดีตครูใหญ่และที่ปรึกษาโรงเรียนจิตรลดา ดร. ท่านผู้หญิงทัศนีย์ บุณยคุปต์ เป็นอักษรศาสตรบัณฑิต และบุตรีของพระยาภะรตราชา อดีตผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งท่านได้กรุณาให้เกียรติเป็นผู้แสดงปาฐกถาพิเศษในโอกาส ๑๐๐ ปี คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง “พระวิสัยทัศน์ด้านการศึกษาของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช”

E-book ทฤษฎีภาษาศาสตร์ โดย รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุ

E-book ทฤษฎีภาษาศาสตร์ โดย รศ.ดร.วิโรจน์ อรุณมานะกุล สามารถดาวน์โหลดได้ฟรีแล้ววันนี้ ทฤษฎีภาษาศาสตร์ พัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้ประกอบการสอนในรายวิชาทฤษฎีภาษาศาสตร์ (Linguistic Theories) มาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๙ และนำเสนอประวัติความเป็นมาและพัฒนาการของแนวคิดทางภาษาศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจแนวคิดต่าง ๆ ที่เคยมีและมีอยู่ในทางภาษาศาสตร์เพื่อให้เข้าใจความเป็นมา เงื่อนไข และบริบทความสนใจทางภาษาศาสตร์ในช่วงเวลาต่าง ๆ ดาวน์โหลดได้ฟรีที่นี่

คณบดีคณะอักษรศาสตร์ต้อนรับศิษย์เก่าคณะอักษรศาสตร์ รุ่น อ.บ.35 นำโดยคุณวิชนี รัตนพันธุ์ ที่เข้ามอบหนังสือมหาชาติคำหลวง ฉบับสมโภช 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ.2567 คณบดีคณะอักษรศาสตร์ได้ต้อนรับศิษย์เก่าคณะอักษรศาสตร์ รุ่น อ.บ.35 นำโดยคุณวิชนี รัตนพันธุ์ ที่เข้ามอบหนังสือมหาชาติคำหลวง ฉบับสมโภช 100 ปี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่ง น.ท.หญิง สุมาลี วีระวงศ์ ได้ชำระและปริวรรต และมีกองบรรณาธิการซึ่งประกอบด้วยนิสิตเก่า รุ่น อ.บ.35 ร่วมจัดทำ เพื่อให้อ่านและเข้าใจได้ง่ายขึ้น

การประชุมเชิงปฏิบัติการ IJURR Foundation Majority Regions Workshop ครั้งที่ 2 ประจำปี 2024 ในหัวข้อ “IJURR Workshop for Early Career urban Studies scholars in Southeast Asia”

ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ IJURR Foundation Majority Regions Workshop ครั้งที่ 2 ประจำปี 2024 ในหัวข้อ “IJURR Workshop for Early Career urban Studies scholars in Southeast Asia” โดยมี ผศ.ดร.นพงศ์ รักขพันธุ์ (จุฬาฯ) อ.ดร.เพชรพิไล ลัธธนันท์ (จุฬาฯ) เป็นผู้รับผิดชอบการจัดโครงการ และมี Prof. Dr. Hyun Bang Shin (London School of Economics) และ รศ.ดร.สุธี อนันต์สุขสมศรี (จุฬาฯ) เป็นที่ปรึกษาโครงการ กิจกรรมในครั้งนี้มีเป้าหมายให้นักวิชาการรุ่นใหม่ในสถาบันอุดมศึกษาภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้เรียนรู้และะฝึกฝนทักษะการเขียนเพื่อให้ประสบความสำเร็จในตีพิมพ์บทความวิจัยในวารสารวิชาการระดับนานาชาติ กิจกรรมครั้งนี้จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-8 ธันวาคม 2567 […]

อาจารย์ ดร.อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “จักรวรรดิสเปนกับการสถาปนาอาณานิคมในอเมริกาและเอเชีย”

อาจารย์ ดร.อาทิตย์ เจียมรัตตัญญู อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “จักรวรรดิสเปนกับการสถาปนาอาณานิคมในอเมริกาและเอเชีย” เมื่อวันที่ 11  กรกฎาคม 2567 เวลา 09:30 – 11:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

อาจารย์ ดร.อัสนี พูลรักษ์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรการอบรมหลักสูตรการเขียนคำกล่าวในโอกาสต่างๆ ให้แก่บุคลากรของบริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)

อาจารย์ ดร.อัสนี พูลรักษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากสถาบันภาษาไทยสิรินธรไปเป็นวิทยากรการอบรมหลักสูตรการเขียนคำกล่าวในโอกาสต่างๆ ให้แก่บุคลากรของบริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2567 เวลา 09:00 – 16:00 น. ณ บริษัท ราชกรุ๊ป จำกัด (มหาชน)  

คณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ได้รับเชิญไปเป็นผู้ช่วยวิทยากรในโครงการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ และนักวิจัยใหม่ หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่ รุ่นที่ 29 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนันท์ จันทร์เจ้าฉาย อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ และอาจารย์ ดร.อนิมมาล เล็กสวัสดิ์ อาจารย์ประจำศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ ได้รับเชิญจากฝ่ายการเรียนรู้และพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ สำนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ ไปเป็นผู้ช่วยวิทยากรในโครงการปฐมนิเทศอาจารย์ใหม่ และนักวิจัยใหม่ หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ใหม่และนักวิจัยใหม่ รุ่นที่ 29  เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 และวันที่ 16 กรกฎาคม 2567

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร บุญรุ่ง ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายโครงการเตรียมความพร้อมนิสิตเพื่อให้ความรู้พื้นฐานด้านภาษาเกาหลีแก่นิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาเกาหลี คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร บุญรุ่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรไปเป็นวิทยากรบรรยายโครงการเตรียมความพร้อมนิสิตเพื่อให้ความรู้พื้นฐานด้านภาษาเกาหลีแก่นิสิตชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ประจำปีการศึกษา 2567 เมื่อวันที่ 6  กรกฎาคม 2567 เวลา 10:00 – 12:00 น. หัวข้อ “เคล็ดลับการพิชิตข้อสอบวัดระดับภาษาเกาหลี จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ 1”  เวลา 13:00 – 16:00 น. หัวข้อ “เคล็ดลับการพิชิตข้อสอบวัดระดับภาษาเกาหลี จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ 2” และวันที่ 7 กรฎาคม 2567 เวลา 10:00 – 12:00 น. หัวข้อ “องค์ความรู้ด้านภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีสำหรับพัฒนาตนเอง” เวลา 13:00 – 16:00 น.หัวข้อ “โอกาสของผู้รู้ภาษาเกาหลีกับแนวทางการทำงานในอนาคต” ณ ห้อง HU 1103 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร บุญรุ่ง ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่นักเรียนและครูที่เข้าร่วมค่ายภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีแบบเข้ม ประจำปี 2567 (Intensive Korean Camp 2024) ในหัวข้อ “ประสบการณ์การทำงานและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนภาษาเกาหลี”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภาพร บุญรุ่ง อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากโรงเรียนสารวิทยาไปเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่นักเรียนและครูที่เข้าร่วมค่ายภาษาและวัฒนธรรมเกาหลีแบบเข้ม ประจำปี 2567 (Intensive Korean Camp 2024) ในหัวข้อ “ประสบการณ์การทำงานและสร้างแรงบันดาลใจในการเรียนภาษาเกาหลี” เมื่อวันที่ 4  กรกฎาคม 2567 เวลา 13:00 – 14:00 น. ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพมหานคร 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุกิจ พู่พวง ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทักษะภาษาสเปน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สุกิจ พู่พวง อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากกลุ่มสาระภาษาต่างประเทศที่ 2 (ภาษาสเปน) โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ไปเป็นวิทยากรให้กับนักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันทักษะภาษาสเปน ระหว่างวันที่ 24 มิถุนายน – 20 สิงหาคม 2567 เวลา 16:00 – 18:00 น. ณ ห้อง 814 ตึกคุณหญิงหรั่ง กันตารัติ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา