อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต ได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการจัดการประชุม (Programme Committee) ในการประชุมนานาชาติด้านประวัติศาสตร์ของเอกสารและจดหมายเหตุประจำปี 2567 (2024 International Conference on the History of Records and Archives – ICHORA)

อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการจัดการประชุม (Programme Committee) ในการประชุมนานาชาติด้านประวัติศาสตร์ของเอกสารและจดหมายเหตุประจำปี 2567 (2024 International Conference on the History of Records and Archives – ICHORA) จัดขึ้นในวันที่ 6-8 พฤศจิกายน 2567 โดยมีหน่วยงานเจ้าภาพคือ มหาวิทยาลัยเวสต์อินดีส์ (The University of the West Indies) ประเทศจาไมกา และกลุ่มมหาวิทยาลัยของรัฐในเมืองนิวยอร์ก (City University of New York) ประเทศสหรัฐอเมริกา หัวข้อหลักของการประชุมเกี่ยวกับทฤษฎีและแนวปฏิบัติด้านการจัดการเอกสารและจดหมายเหตุ (Archival Praxis) ภายใต้แนวคิดการละทิ้งมรดกทางความคิดของประเทศเจ้าอาณานิคม (Decolonisation) แนวคิดการไม่ครอบครองเอกสาร (Post-Custodial) ฯลฯ ในปีนี้ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในเอเชียที่ได้ร่วมเป็นคณะกรรมการจัดการประชุมนี้
อธิการบดี Universidade Catolica Portuguesa ประเทศโปรตุเกส และ Dr.Álvaro Barbosa รองอธิการบดีฝ่ายวิรัชกิจและวิชาการ University of Saint Joseph (มาเก๊า) มาเยือนคณะอักษรศาสตร์

เมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2567 Dr. Isabel Capeloa Gil อธิการบดี Universidade Catolica Portuguesa ประเทศโปรตุเกส และ Dr.Álvaro Barbosa รองอธิการบดีฝ่ายวิรัชกิจและวิชาการ University of Saint Joseph (มาเก๊า) มาเยือนคณะอักษรศาสตร์ โดยมีรศ.ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ อ.ดร.ประโลม บุญรัศมี และอ. Maria Madureira จากสาขาวิชาภาษาโปรตุเกส ให้การต้อนรับ การมาเยือนครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือความร่วมมือการลงนามบันทึกความเข้าใจที่จะนำสู่การแลกเปลี่ยนนิสิตและอาจารย์ การวิจัย รวมถึงความร่วมมือทางวิชาการด้านต่างๆ
ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิษฐา เริงพิทยา (กรรณสูต) อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 25 อดีตอาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนิษฐา เริงพิทยา (กรรณสูต) อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 25 อดีตอาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ
รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล ร่วมกิจกรรมและมอบกระเช้าแสดงความยินดีกับสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ 47 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันภาษา

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 7 พฤศจิกายน 2567 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดี (รับผิดชอบงานวิรัชกิจ) ร่วมกิจกรรมและมอบกระเช้าแสดงความยินดีกับสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ 47 ปี แห่งการสถาปนาสถาบันภาษา ณ บริเวณชั้น 1 อาคารเปรมบุรฉัตร สถาบันภาษา จุฬาฯ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.จิรดา วุฑฒยากร ผู้อำนวยการสถาบันภาษา จุฬาฯ ให้การต้อนรับและรับมอบกระเช้า
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนันท์ จันทร์เจ้าฉาย ได้รับรางวัล Best Paper by an Untenured Scientist ประจำปีค.ศ. 2024

ผลงานดังกล่าวศึกษาความเข้าใจและการผลิตคำอ้างถึงบุคคลของเด็กในกลุ่มออทิสซึมผู้พูดภาษาไทย เทียบกับเด็กที่มีพัฒนาการปกติ ผู้สนใจสามารถอ่านบทความได้ที่ https://doi.org/10.1080/10489223.2023.2262457 คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฏฐนันท์ จันทร์เจ้าฉาย อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับรางวัล Best Paper by an Untenured Scientist ประจำปีค.ศ. 2024 จากผลงานเรื่อง Difficulties with pronouns in autism: Experimental results from Thai children with autism ที่ตีพิมพ์ร่วมกับศาสตราจารย์ ดร. Florian Schwarz ในวารสาร Language Acquisition ของสำนักพิมพ์ Routledge ในเครือบริษัท Taylor & Francis ผลงานดังกล่าวศึกษาความเข้าใจและการผลิตคำอ้างถึงบุคคลของเด็กในกลุ่มออทิสซึมผู้พูดภาษาไทย เทียบกับเด็กที่มีพัฒนาการปกติ ผู้สนใจสามารถอ่านบทความได้ที่ https://doi.org/10.1080/10489223.2023.2262457
การเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “บาดแผลและความรุนแรงแห่งระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ในงานเขียนของฮันกัง โชนัมจู และช็องโบรา” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วริตตา ศรีรัตนา

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญฟังเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “บาดแผลและความรุนแรงแห่งระบบทุนนิยมชายเป็นใหญ่ในงานเขียนของฮันกัง โชนัมจู และช็องโบรา” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. วริตตา ศรีรัตนา อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ และนักวิจัยประจำ Käte Hamburger Centre for Apocalyptic and Post-Apocalyptic Studies (CAPAS) at Heidelberg University และ อาจารย์ ดร. อิสริยา พาที อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก คณะอักษรศาสตร์ ————————————————————————– วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2567 เวลา 18.00 – 19.30 น. เสวนาผ่าน Zoom และ LIVE ทางเฟซบุ๊ก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนฟรีด้วยการสแกน QR […]
วิทยานิพนธ์ของอาจารย์ ดร.รัฐพร สวรรค์พิทักษ์ ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี จากสำนักการวิจัยแห่งชาติ

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาเอกของอาจารย์ ดร.รัฐพร สวรรค์พิทักษ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาจีน เรื่อง “การศึกษาเรื่องเพศวิถีีและอัตวิสัยของผู้หญิงผ่านผลงานวรรณกรรมจีน แนวสตรีนิยมของนักเขียนหญิง: หวังอันอี้ เถี่ยหนิงและฉือลี่” ได้รับรางวัลวิทยานิพนธ์ระดับดี จากสำนักการวิจัยแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568
ผู้แทนหลักสูตร International Teaching and Global Leadership (ITGL) เยือนคณะอักษรศาสตร์

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567 คุณ Cecilia Chen ผู้แทนหลักสูตร International Teaching and Global Leadership (ITGL), Johns Hopkins University ประเทศสหรัฐอเมริกา พร้อมด้วย คุณ Linh Nguyen หัวหน้าผู้แทน ITGL ในประเทศเวียดนาม ไทย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ และคุณวลัยพร บลูมฟิลด์ ผู้แทนสถานเอกอัครราชทูตประเทศสหรัฐอเมริกา มาเยือนคณะอักษรศาสตร์ และร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับการสร้างความร่วมมือด้านวิชาการ การจัดการเรียนการสอน การวิจัย และความร่วมมือระหว่างกันเพื่อจัดกิจกรรมการเสวนาวิชาการในหัวข้อภาวะสองภาษา และการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อการเรียนการสอน ทั้งนี้ รศ.ดร.ภาสุรี ลือสกุล รองคณบดีฝ่ายวิรัชกิจ รศ.ดร.รักสงบ วิจิตรโสภณ หัวหน้าภาควิชาภาษาอังกฤษ ผศ.ดร.ทิพยา จินตโกวิท หัวหน้าภาควิชาบรรณรักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ รศ.ดร.ปัญชลี วาสนสมสิทธิ์ ผู้อำนวยการหลักสูตรภาษาอังกฤษเป็นภาษานานาชาติ […]
คณะอักษรศาสตร์เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องใน “วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (วันวชิราวุธ)”

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน 2567 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ ร่วมกับ นายกสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อธิการบดี คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย คณาจารย์ และนิสิตจุฬาฯ เข้าร่วมพิธีวางพวงมาลาถวายสักการะพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องใน “วันสมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า (วันวชิราวุธ)” ณ พระบรมราชานุสาวรีย์สองรัชกาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และลานพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว สวนลุมพินี
โครงการเสวนาปรัชญาในหัวข้อ “จิตนิยมอุตรวิสัยของค้านท์: การตีความและข้อถกเถียง“ (Kant’s Transcendental Idealism: Interpretations and Debates) โดย ผศ.ดร.พีรจุฬา จุฬานนท์

เสวนาปรัชญาส่งท้าย เนื่องในปี 2024 นี้เป็นปีเฉลิมฉลองครบรอบ 300 ปีเกิดของ Immanuel Kant นักปรัชญาคนสำคัญของโลก ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญผู้สนใจเข้าร่วมโครงการเสวนาปรัชญาในหัวข้อ “จิตนิยมอุตรวิสัยของค้านท์: การตีความและข้อถกเถียง“ (Kant’s Transcendental Idealism: Interpretations and Debates) โดย ผศ.ดร.พีรจุฬา จุฬานนท์ (Pirachula Chulanon) จากภาควิชาปรัชญา มหาวิทยาลัย Toronto Metropolitan University ประเทศแคนาดา ดำเนินรายการโดย อาจารย์ ดร. ทิพพาพันธุ์ เชื้อสวัสดิ์ (ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) ในวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2567 เวลา 13.00-15.00 ณ ห้อง 401/18 อาคารมหาจักรีฯ กิจกรรมนี้เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลิมฉลอง 300 ปีเกิดของ Immanuel Kant […]
การเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ผีและไสยศาสตร์: หลากมุมมองในงานมานุษยวิทยา” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญญา วัฒนกุล

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญฟังเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ผีและไสยศาสตร์: หลากมุมมองในงานมานุษยวิทยา” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กัญญา วัฒนกุล ศูนย์ไทยศึกษาท่านสามารถรับชมการเสวนาย้อนหลังได้ที่นี่
คณาจารย์คณะอักษรศาสตร์ได้รับการอนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ได้รับการอนุมัติจากสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในการประชุมครั้งที่ 893 วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 ให้ดำรงตำแหน่งทางวิชาการ ดังนี้ ตำแหน่งรองศาสตราจารย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.น้ำทิพย์ เมธเศรษฐ (ภาควิชาภาษาตะวันออก สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น) ตำแหน่งผู้ช่วยศาสตราจารย์ 1. อาจารย์ ดร.ใกล้รุ่ง อิโซ (ภาควิชาปรัชญา) 2. อาจารย์ ปิยะวัฒน์ ธรรมกุลางกูร (ภาควิชาศิลปการละคร)
คณะอักษรศาสตร์ ร่วมกิจกรรมและมอบกระเช้าแสดงความยินดีกับคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ 26 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา

เมื่อวันพุธที่ 30 ตุลาคม 2567 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยรองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดีคณอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ร่วมกิจกรรมและมอบกระเช้าแสดงความยินดีกับคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื่องในโอกาสครบรอบ 26 ปี แห่งการสถาปนาคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา ณ บริเวณโถงหน้าอาคารจุฬาพัฒน์ 7 คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาฯ ให้การต้อนรับและรับมอบกระเช้า
รายการวิทยุ “Talking Arts: อักษรศาสตร์ชวนคุย” ประจำเดือนตุลาคม 2567

รายการวิทยุ “อักษรพาที” ประจำเดือนธันวาคม 2566 ออกอากาศที่สถานีวิทยุ FM 101.5 ทุกวันเสาร์ เวลา 08.05 – 08.30 น…
การร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาการศึกษา ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย)

เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2567 เวลา 10.00 – 12.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ คณบดี คณะอักษรศาสตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา ดวงยิหวา หัวหน้าภาควิชาภูมิศาสตร์ และ ดร.ธนพร ฐิติสวัสดิ์ ประธานบริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาการศึกษา ระหว่าง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กับ บริษัท อีเอสอาร์ไอ (ประเทศไทย) จำกัด ณ ศูนย์มนุษยศาสตร์ดิจิทัล คณะอักษรศาสตร์