อาจารย์ ดร.ดาวเรือง วิทยารัฐ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมในการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา

อาจารย์ ดร.ดาวเรือง วิทยารัฐ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากสำนักงานราชบัณฑิตยสภาไปเข้าร่วมประชุมในการประชุมคณะกรรมการจัดทำพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา ในวันศุกร์สัปดาห์ที่ 1 และ 3 ของเดือน เวลา 09:30 – 11:30 น. ณ ห้องประชุมกองวิทยาศาสตร์ สำนักงานราชบัณฑิตยสภา 

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริญญา อรุณขจรศักดิ์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในรายวิชา ปก.321 ประวัติปรัชญาตะวันออก

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริญญา อรุณขจรศักดิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญา ได้รับเชิญจากวิทยาลัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษในรายวิชา ปก.321 ประวัติปรัชญาตะวันออก ระหว่างวันที่ 25 มีนาคม 1 และ 8 เมษายน 2568 เวลา 09:30 – 12:30 น. ผ่านระบบออนไลน์

อาจารย์ ดร.พัชรวิรัล เจริญพัชรพร และอาจารย์ ดร.จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร ได้รับเชิญจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปเข้าร่วมพิธีเปิดงานนิทรรศการข้ามศาสตร์

อาจารย์ ดร.พัชรวิรัล เจริญพัชรพร อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ และอาจารย์ ดร.จิรัฏฐ์ เฉลิมแสนยากร อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ ได้รับเชิญจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปเข้าร่วมพิธีเปิดงานนิทรรศการข้ามศาสตร์ เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568เวลา 13:00 – 16:00 น.

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบรรณ์ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในรายวิชา 435 263 เอเชียตะวันออกในโลกสมัยใหม่

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบรรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในรายวิชา 435 263 เอเชียตะวันออกในโลกสมัยใหม่ เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 08:30 – 11:10 น. ณ ห้อง 214 อาคารวชิรมงกุฎ คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จังหวัดนครปฐม

รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป์ และอาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “จากยุโรปสู่สยาม: ร้อยสายใยเชื่อมสัมพันธ์”

รองศาสตราจารย์ ดร.ภาวรรณ เรืองศิลป์ อาจารย์ประจำภาควิชาประวัติศาสตร์ และอาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาโปรตุเกส ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากกระทรวงการต่างประเทศไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “จากยุโรปสู่สยาม: ร้อยสายใยเชื่อมสัมพันธ์” ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2568 เวลา 13:00 – 16:00 น. ณ ห้องนราธิป กระทรวงการต่างประเทศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “From Slogans to Stories: A Discourse Analysis of How Advertisements Speak to US” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากสำนักวิชาเทคโนโลยีสังคม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “From Slogans to Stories: A Discourse Analysis of How Advertisements Speak to US” ในวันที่ 25 เมษายน 2568เวลา 09:00 – 12:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนันพร เหมสกุล ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในหัวข้อ “ภาษากับวัฒนธรรมรัสเซีย” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนันพร เหมสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในหัวข้อ “ภาษากับวัฒนธรรมรัสเซีย” ในวันที่ 25 เมษายน และวันที่ 2 พฤษภาคม 2568 เวลา 11:30 – 14:20 น. ณ ห้อง 11-201 ชั้น 2 อาคารคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

รองศาสตราจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา ได้รับการตอบรับให้นำเสนอผลงานทางวิชาการในหัวข้อ “เวอร์จิเนีย วูล์ฟ และภาพยนตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย: การเผยสำแดงมรณาการเมืองในกระบวนการแปล” ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติแห่งเครือข่ายโมเดิร์นนิสม์ศึกษาในเอเชียครั้งที่ 4

รองศาสตราจารย์ ดร.วริตตา ศรีรัตนา ได้รับการตอบรับให้นำเสนอผลงานทางวิชาการในหัวข้อ “เวอร์จิเนีย วูล์ฟ และภาพยนตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ร่วมสมัย: การเผยสำแดงมรณาการเมืองในกระบวนการแปล” ในการประชุมวิชาการระดับนานาชาติแห่งเครือข่ายโมเดิร์นนิสม์ศึกษาในเอเชียครั้งที่ 4 ซึ่งจัดโดยมหาวิทยาลัยสตรีอีฮวา กรุงโซล สาธารณรัฐเกาหลี ระหว่างวันที่ 26 ถึง 27 มิถุนายน พ.ศ. 2568 Associate Professor Dr Verita Sriratana’s research paper, entitled “Virginia Woolf and Contemporary Films from Southeast Asia: Necropolitical Apocalypse in Translation”, has been accepted for presentation at the Fourth International Conference of the Modernist Studies in […]

อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต นำเสนอผลการวิจัยเรื่อง “ความท้าทายของมหาวิทยาลัยไทยในการสร้างวิชาชีพด้านเอกสารและจดหมายเหตุอย่างยั่งยืน”

อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ และผู้ช่วยคณบดีด้านบริหาร ได้นำเสนอผลการวิจัยเรื่อง “ความท้าทายของมหาวิทยาลัยไทยในการสร้างวิชาชีพด้านเอกสารและจดหมายเหตุอย่างยั่งยืน (Challenges of Thai Universities on Sustainably Creating Records and Archives Professionals)” ในงานประชุมวิชาการระดับชาติ จัดโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ร่วมกับสมาคมเครือข่ายการพัฒนาวิชาชีพอาจารย์และองค์กรระดับอุดมศึกษาแห่งประเทศไทย (ควอท) ครั้งที่ 20 ประจำปี 2568 หัวข้อ การเปลี่ยนผ่านสู่ดิจิทัลสำหรับอุดมศึกษาไทย : การเสริมสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI Digital Transformation for Thai Higher Education: Enhancing Lifelong Learning Using AI) โดยจัดขึ้นระหว่างที่ 20-21 มีนาคม 2568 ณ ห้องคอนเวนชัน ชั้น 1 โรงแรมแอมบาสซาเดอร์ (สุขุมวิท 11) กรุงเทพมหานคร

อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ประเมินและคัดเลือกผลงานวิชาการจากบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านเอกสารและจดหมายเหตุ รวมทั้งเครือข่ายพันธมิตรทั่วโลก สำหรับนำเสนอในการประชุมนานาชาติประจำปีของสภาการจดหมายเหตุสากล 

อาจารย์ ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ และผู้ช่วยคณบดีด้านบริหาร ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเอกสาร จดหมายเหตุ และการจัดการสารสนเทศ เพื่อประเมินและคัดเลือกผลงานวิชาการจากบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านเอกสารและจดหมายเหตุ รวมทั้งเครือข่ายพันธมิตรทั่วโลก สำหรับนำเสนอในการประชุมนานาชาติประจำปีของสภาการจดหมายเหตุสากล (the International Council on Archives Barcelona 2025 Congress) ซึ่งจะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 ถึง 30 ตุลาคม 2568 ณ เมืองบาร์เซโลนา ราชอาณาจักรสเปน  การประชุมนานาชาติครั้งนี้มีแนวคิด “รู้อดีต สร้างอนาคต (Knowing Pasts, Creating Futures)” ประกอบไปด้วยหัวข้อ ได้แก่ การจัดการความทรงจำและการรักษาอัตลักษณ์ (Managing Memories/Preserving Identities) ความขัดแย้ง ภัยพิบัติ และการย้ายถิ่น (Conflict, Disaster, and Displacement) เอกสารเพื่อสิทธิ (Records of Rights) ความเป็นดิจิทัลและการเข้าถึง (Digital and Accessible) และอนาคตของจดหมายเหตุ (Archival Futures) โดยเปิดรับผลงานวิชาการในภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษากาตาลา (Catalan) และภาษาสเปน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมการสัมมนาการนำเสนอต้นแบบแผนที่มรดกเมืองสามัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฐิติรัตน์ ปั้นบำรุงกิจ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ ได้รับเชิญจากภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ไปเข้าร่วมการสัมมนาการนำเสนอต้นแบบแผนที่มรดกเมืองสามัญแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ในวันที่ 7 มีนาคม 2568 เวลา 09:00 – 16:00 น. ณ ห้องการแสดงและกิจกรรม นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ พระนคร กรุงเทพฯ

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ภักดีผาสุข ได้รับเชิญไปเข้าร่วมลงพื้นที่ “โครงการคติชนน่าน” 

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ภักดีผาสุข อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากศูนย์เครือข่ายการเรียนรู้เพื่อภูมิภาค จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปเข้าร่วมลงพื้นที่ “โครงการคติชนน่าน” ในระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2568 ณ ศาลากลางจังหวัดน่าน หมู่บ้านบ่อเกลือสินเธาว์ อำเภอบ่อเกลือ ศูนย์การเรียนรู้และบริการวิชาการเครือข่ายแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จังหวัดน่าน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาจรีย์ ทาชาติ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในกิจกรรมโครงการวันอ้วนโลก World Obesity Day 2025 ในหัวข้อ “Changing Systems, Healthier Lives” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาจรีย์ ทาชาติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปเป็นวิทยากรในกิจกรรมโครงการวันอ้วนโลก World Obesity Day 2025 ในหัวข้อ “Changing Systems, Healthier Lives” ในวันที่ 1 มีนาคม 2568 เวลา 13:20 – 13:40 น. ณ SIAMSCAPE ชั้น 9

รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “AI กับการทำวิจัย” 

รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากฝ่ายวิชาการ คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “AI กับการทำวิจัย” ในวันที่ 19 มีนาคม 2568 เวลา 13:00 – 16:00 น. ณ ห้องประชุมสี สิริสิงห ชั้น 2 อาคารสมเด็จย่า 93 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาฯ

อาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี ได้รับเชิญไปเป็นผู้สอนรายวิชา 0295110 WINE EDUCATION ในหัวข้อ “ไวน์และวัฒนธรรม” 

อาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาโปรตุเกส ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากศูนย์การศึกษาทั่วไป สำนักงานมหาวิทยาลัยไปเป็นผู้สอนรายวิชา 0295110 WINE EDUCATION ในหัวข้อ “ไวน์และวัฒนธรรม” ในวันที่ 12 มีนาคม 2568 เวลา 13:00 – 16:00 น. ณ ห้อง 409 ตึกวิศวกรรมศาสตร์ 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์