รายการวิทยุ “Talking Arts: อักษรศาสตร์ชวนคุย” จัดโดยกลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนาวิชาการ เพื่อเผยแพร่ผลงานวิจัยของคณาจารย์และนิสิตระดับบัณฑิตศึกษา
“Talking Arts: อักษรศาสตร์ชวนคุย” ประจำวันเสาร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2567 นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจในหัวข้อ “ละครเวที ทางเทวดา ดัดแปลงจากนวนิยายของ แก้วเก้า ศิลปินแห่งชาติ” วิทยากร ผศ.ดร.สาวิตา ดิถียนต์ อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
—-
“Talking Arts: อักษรศาสตร์ชวนคุย” ประจำวันเสาร์ที่ 7 ธันวาคม 2567
นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจในหัวข้อ “Business Archives: ธุรกิจใช้ประโยชน์จากจดหมายเหตุอย่างไร?”
จดหมายเหตุธุรกิจ (Business Archives) เป็นแหล่งข้อมูลที่มีคุณค่าต่อองค์กรธุรกิจหลายประการ สามารถใช้ในฐานะที่เป็นคลังความทรงจำขององค์กร ช่วยสร้างความแตกต่างให้กับบริษัท หรือแม้แต่สร้างการเติบโตให้กับธุรกิจผ่านการทำการตลาดและการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ในต่างประเทศมีตัวอย่างการใช้จดหมายเหตุธุรกิจที่น่าสนใจเป็นจำนวนมาก ในประเทศไทยนั้นมีการศึกษาเกี่ยวกับจดหมายเหตุธุรกิจค่อนข้างจำกัด นำไปสู่ประเด็นเรื่องปัจจัยที่สนับสนุนการก่อตั้งหอจดหมายเหตุธุรกิจ รวมถึงความท้าทายที่องค์กรธุรกิจอาจพบในการดำเนินการจัดการจดหมายเหตุ นักบริหารเอกสาร นักจดหมายเหตุ นักธุรกิจ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกับหอจดหมายเหตุธุรกิจจะร่วมมือกันเพื่อสร้างความตระหนักเรื่องคุณค่าของเอกสารจดหมายเหตุธุรกิจได้อย่างไรบ้าง
วิทยากร
คุณณัฐพงศ์ จำปาแดง
นิสิตในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการดูแลรักษาข้อมูลและสารสนเทศ
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ดำเนินรายการ
อ.ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต
อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
—-
“Talking Arts: อักษรศาสตร์ชวนคุย” ประจำวันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม 2567
นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจในหัวข้อ “บทบาทของห้องสมุดในการจัดทำประวัติศาสตร์บอกเล่า: การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมและการเสริมสร้างชุมชน”
ในยุคสารสนเทศและยุคดิจิทัล ห้องสมุดไม่เพียงเป็นแหล่งสนับสนุนการเรียนรู้ แต่ยังมีบทบาทสำคัญในการจัดเก็บรักษาและเผยแพร่เรื่องราวและประสบการณ์จากประชาคมต่าง ๆ ห้องสมุดจึงกลายเป็นศูนย์กลางในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชน การจัดทำประวัติศาสตร์บอกเล่าเป็นกลวิธีที่มีคุณค่าในการบันทึกเรื่องราวและเหตุการณ์ที่สำคัญจากผู้ที่มีประสบการณ์ตรง ทำให้เราสามารถเข้าใจบริบททางวัฒนธรรมและสังคมได้ดีขึ้น ห้องสมุดสร้างฐานข้อมูลการสัมภาษณ์และจัดกิจกรรมที่กระตุ้นให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในการแบ่งปันเรื่องราว ซึ่งไม่เพียงแต่ช่วยรักษาความทรงจำที่มีค่า ยังเชื่อมโยงและสร้างความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งแก่ชุมชน ด้วยเหตุนี้ ห้องสมุดจึงเป็นกลไกหนึ่งในสังคมที่ช่วยป้องกันประวัติศาสตร์และความทรงจำของชุมชนไม่ให้สูญหายหรือหลงลืมไป สร้างเสริมความเข้าใจที่ลึกซึ้งเกี่ยวกับบริบททางวัฒนธรรมและสังคมของชุมชนอย่างยั่งยืน และเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชุมชนในระยะยาว
วิทยากร
คุณสุดารัตน์ พบถาวร
นิสิตในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการดูแลรักษาข้อมูลและสารสนเทศ
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ดำเนินรายการ
อ.ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต
อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
—-
“Talking Arts: อักษรศาสตร์ชวนคุย” ประจำวันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม 2567
นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจในหัวข้อ “จดหมายเหตุไม่ใช่จดหมายเหตุ”
จดหมายเหตุไม่ได้เป็นเพียงเอกสารเก่าเก็บแต่เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังและสะท้อนอำนาจในหลายมิติ ทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม การศึกษาเปรียบเทียบประวัติศาสตร์ของประเทศ 3 ประเทศสะท้อนให้เห็นว่า จดหมายเหตุ “สร้าง” ขึ้นเพื่อรองรับวัตถุประสงค์บางอย่าง เช่น ในประเทศอินเดีย จักรวรรดิอังกฤษใช้จดหมายเหตุเป็นเครื่องมือควบคุมพื้นที่และประชากร ใช้จดหมายเหตุในการควบคุมเศรษฐกิจและสังคม ในประเทศกัมพูชา จักรวรรดิฝรั่งเศสใช้จดหมายเหตุในการเน้นการควบคุมเชิงวัฒนธรรม ผ่านการสร้างภาพลักษณ์ในฐานะผู้พิทักษ์มรดกวัฒนธรรม และในประเทศไทย เอกสารจดหมายเหตุเป็นหนึ่งในเครื่องมือเพื่อสร้างเอกลักษณ์ของชาติและปกป้องเอกราช
วิทยากร
คุณหฤษฎ์ แสงไพโรจน์
นิสิตในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต
สาขาวิชาการดูแลรักษาข้อมูลและสารสนเทศ
ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ผู้ดำเนินรายการ
อ.ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต
อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
—-
“Talking Arts: อักษรศาสตร์ชวนคุย” ประจำวันเสาร์ที่ 28 ธันวาคม 2567 นำเสนอเรื่องราวที่น่าสนใจในหัวข้อ “จดหมายเหตุส่วนบุคคล จดหมายเหตุไม่ส่วนตัว: การจัดการหอจดหมายเหตุส่วนบุคคลในประเทศไทย” จดหมายเหตุส่วนบุคคลหรือ personal archives หากอ้างอิงจากวงจรชีวิตเอกสารต่อเนื่อง (continuum model) จะเห็นว่ามีความเกี่ยวข้องกับแนวคิดในการเป็นหลักฐานหรือ evidence (อันแสดงถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในแต่ละช่วงชีวิต) เป็นสิ่งที่เก็บรักษาความทรงจำหรือ memory และสะท้อนอัตลักษณ์หรือ identity (ที่สะท้อนออกมาจากถ้อยคำในเอกสาร ในจดหมาย ในสื่อสังคม ในภาพถ่าย ลักษณะของลายเส้นที่ปรากฏบนภาพวาด ฯลฯ) วิธีการจัดการเอกสารและจดหมายเหตุส่วนบุคคลจึงมีขั้นตอนที่ท้าทาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคดิจิทัลที่สื่อในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์อาจสูญหายได้อย่างรวดเร็ว จึงเป็นเรื่องน่าสนใจในการเรียนรู้จากหอจดหมายเหตุส่วนบุคคลในประเทศไทยจำนวนสองแห่ง ได้แก่ หอจดหมายเหตุและผลงานอังคาร กัลปยาณพงศ์ และหอจดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ ว่ามีกลยุทธ์อย่างไรในการอนุรักษ์ดูแลจดหมายเหตุส่วนบุคคลของบุคคลสำคัญ วิทยากร คุณบวรศักดิ์ วรรณธนศิลป์ นิสิตในหลักสูตรอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการดูแลรักษาข้อมูลและสารสนเทศ ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ดำเนินรายการ อ.ดร.พิมพ์พจน์ สีลาเขต อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย