โครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เดือนมีนาคม เรื่อง“การพึ่งพากันระหว่างมนุษยศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล: บริบทของมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย”

ในวันที่ 17 มีนาคม เวลา 14.00-15.30 น. คณะอักษรศาสตร์ได้จัดโครงการบรรยายพิเศษ อักษรศาสตร์สู่สังคม ผ่านโปรแกรมซูม (Zoom) ในหัวข้อเรื่อง“การพึ่งพากันระหว่างมนุษยศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล: บริบทของมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย” โดย ผศ.ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ หัวหน้าภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นวิทยากร และ ผศ.ดร.หนึ่งหทัย แรงผลสัมฤทธิ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ดำเนินรายการ แรกเริ่มการบรรยายอาจารย์ได้กล่าวถึงขอบเขตความเข้าใจของแนวคิดทางด้านมนุษย์ศาสตร์ที่ให้ความสำคัญของการเป็นมนุษย์ ซึ่งมีองค์ประกอบหลักอยู่ 4 ด้าน ได้แก่ การตีความ การวิพากษ์ การประเมินคุณค่า และการถ่ายทอด ที่มนุษย์ปฏิบัติต่อสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นจนเกิดเป็นการพัฒนาต่อยอดอย่างไม่รู้จบ ทำให้เห็นว่ากระบวนการเหล่านี้ของมนุษย์นั้นมีความซับซ้อนกว่ามากเมื่อเทียบกับระบบการทำงานของดิจิทัล อีกทั้งยังมีลักษณะของการเป็นมนุษย์บางประการที่เกิดขึ้นจากตัวมนุษย์เอง เช่น ความจำสั้น ไม่ชอบความจำเจ ไม่ชอบออกแรง ไม่แม่นยำ ซึ่งเป็นสิ่งที่คอมพิวเตอร์พยายามจะพัฒนาเครื่องมือเพื่อแก้ไขปัญหาหรือข้อจำกัดเหล่านี้ จนทำให้เห็นว่าปัจจุบันแล้วมนุษย์แทบจะไม่สามารถแยกออกจากเทคโนโลยีได้เลย “มนุษยศาสตร์ดิจิทัล” หรือ “Digital Humanities” มีจุดเริ่มต้นมาจากความพยายามที่จะนำระบบคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยประมวลผลข้อมูลทางด้านมนุษยศาสตร์ (Humanities Computing) และการนำความรู้ทางด้านมนุษยศาสตร์มาประยุกต์ใช้กับงานด้านดิจิทัล […]

เชิญรับชมวิดีโอการบรรยายพิเศษอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “การพึ่งพากันระหว่างมนุษยศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล: บริบทของมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย”

การบรรยายพิเศษอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “การพึ่งพากันระหว่างมนุษยศาสตร์และเทคโนโลยีดิจิทัล: บริบทของมนุษยศาสตร์ดิจิทัลไทย” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ในวันพุธที่ 17 มีนาคม 2564 เวลา 14.00 – 15.30 น. คลิกเพื่อรับชมวิดีโอ