WisArts: “สถิติกับการปกปิดความจริง”

“สถิติกับการปกปิดความจริง #savetruth“ เพราะไม่มีใครเข้าถึงข้อมูลหรือคำบอกเล่าของผู้เกี่ยวข้องทุกคน แล้วนำมาปะติดปะต่อเป็นภาพที่ครบถ้วนด้วยตัวเองได้ เราจึงต้องอาศัยสถิติให้ภาพแทนสถานการณ์หรือปัญหา ภาพแทนข้อมูลของคนนับพันนับหมื่นที่ไร้ใบหน้า ไร้สายตาหรือน้ำเสียงที่บางทีอบอุ่น บางทีร้อนรน ยังบอกความจริงบางเรื่องได้ดีกว่าด้วย เมื่อเทียบกับโฆษณาแฝงในรูปคำบอกเล่าของอินฟลูฯ จำนวนหลักสิบหลักร้อย คุณต้องเหนื่อยหรือจ่ายแพงมากกว่าเพื่อให้คนเป็นพันเป็นหมื่นพูดในสิ่งที่คุณต้องการให้คนอื่นได้ยิน – นักการตลาดเข้าใจเรื่องนี้ดี . สถิติที่จัดเก็บและนำเสนออย่างถูกต้อง ใช้ประกอบการตัดสินใจได้ดีกว่าตัวอย่างใกล้ตัวไม่กี่ตัวอย่างหรือจากเรื่องเล่าที่คุ้นชิน – นักลงทุนเข้าใจเรื่องนี้ดี . แต่สถิติบางครั้งไม่ตรงไปตรงมา ไม่นับสถิติปลอมที่ถูกปั้นแต่ง สถิติอาจจัดเก็บอย่างไม่ครอบคลุม ใช้กลุ่มตัวอย่างน้อยหรือไม่เป็นตัวแทน สถิติที่จัดเก็บอย่างดีก็อาจนำเสนออย่างบกพร่อง พูดเฉพาะบางแง่และปิดบังแง่มุมอื่นที่สำคัญไม่แพ้กัน เพื่อสร้างข้อสรุปให้ดูงดงามหรืออัปลักษณ์เกินจริง สถิติชนิดนี้พาเราออกห่างจากความเชื่อที่เที่ยงตรง และการตัดสินใจที่มีเหตุผลซึ่งน่าจะให้ผลลัพธ์เป็นประโยชน์สำหรับตัวเราและคนอื่น . อุบัติเหตุ 25% เกิดใกล้บ้าน = ขับรถไกลบ้านอันตรายกว่า? โฆษณาบน Google คลิกมากกว่า 4 เท่า = มองเห็นมากกว่า? การลวนลามบนเรือมีอัตราที่ต่ำกว่าที่เกิดบนบก = เที่ยวเรือปลอดภัยกว่า? . ถ้าคุณอยากมีความเชื่อที่เที่ยงตรงและตัดสินใจได้อย่างสมเหตุสมผลซึ่งสถิติที่ดีช่วยได้ คุณก็เหมือนคนที่ทำของรักหล่นหายกลางที่มืด ที่ย่อมปรารถนาแสงไฟที่ช่วยส่องให้ที่มืดสว่างขึ้นเพื่อเห็นสิ่งที่ตามหา ไม่ใช่แสงไฟที่ส่องเฉพาะจุดที่ผู้ส่องไฟต้องการให้คุณมอง โดยไม่สนใจว่าคุณจะได้ของรักคืนหรือไม่ . คอร์ส “WisArts: สถิติกับการปกปิดความจริง” […]

WisArts: “ปอกเปลือกความจริง: โลกยุคหลังความจริง”

“ปอกเปลือกความจริง: โลกยุคหลังความจริง” #savetruth . ความจริงเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง หรือว่ามนุษย์เข้าใจไปเองว่ามีความจริงอยู่ เวลา 3 ชั่วโมงนี้จะทำผู้เรียนรู้จักแก่นแกนของ “ความจริง” โดยจะนำสำรวจทฤษฎีความจริงเบื้องต้นและนำเข้าสู่สภาวะหลังความจริง สภาวะที่ไม่ใช่ของใหม่ แต่กลับมาเด่นชัดท่ามกลางปัจจัยเร่งจากบทบาทของสื่อสังคมออนไลน์ . เมื่ออิทธิพลจากอารมณ์และความเชื่อส่วนบุคคลกลับมามีความสำคัญในการก่อร่างสร้างความคิดสาธารณะ ชีวิต และการเมือง . ขอเชิญผู้สนใจมาร่วมสำรวจประเด็นเกี่ยวกับโลกยุคหลังความจริงในคอร์ส “WisArts: “ปอกเปลือกความจริง: โลกยุคหลังความจริง” #savetruth“ ที่จะพาผู้เรียนย้อนกลับไปดูทฤษฎีความจริงพื้นฐานและเดินหน้าสู่โลกยุค post-truth ยุคที่อารมณ์และความเชื่อส่วนตัวทรงพลังเหนือข้อเท็จจริง . เนื้อหาสำคัญ: ความหมายและความสำคัญของทฤษฎีความจริงพื้นฐาน นิยามของสภาวะหลังความจริง และตัวอย่างจริงที่เกิดในสังคมมนุษย์ ตัวอย่างทฤษฎีอคติเชิงการรู้คิด และความจริงที่สะดวกเชื่อ นิยามของข่าวเท็จ หรือเฟคนิวส์ . วิทยากร: ผศ.ดร.เกษม เพ็ญภินันท์ ผศ.ดร.ใกล้รุ่ง อิโซ ภาควิชาปรัชญา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ 8 มิถุนายน 2568 เวลา 13.00 – 16.00 น. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ค่าธรรมเนียม […]

ทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์ตะวันตก : จากเพลโตสู่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พิมพ์ครั้งที่ 2) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์

หนังสือใหม่ของโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง ทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์ตะวันตก : จากเพลโตสู่ต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 (พิมพ์ครั้งที่ 2) โดย รองศาสตราจารย์ ดร.สุรเดช โชติอุดมพันธ์ สั่งซื้อออนไลน์ลดราคา 10% จาก 270.00 บาท เหลือ 243.00 บาท รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่ลิงก์ด้านล่าง http://artschulabooks.lnwshop.com/p/236 หรือติดต่อซื้อหนังสือที่ห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ ลดราคา 15% จาก 270.00 บาท เหลือ 229.50 บาท ห้องโครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ อาคารมหาวชิราวุธ ห้อง 112 เปิดบริการตั้งแต่ 09.00 น. – 16.30 น. (มีพักเที่ยง 12.00 น. – 13.00 น.) หยุดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ และวันหยุดราชการ หมายเหตุ 1.โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการไม่มีบริการคืนเงินหลังจากจัดส่งสินค้า 2. […]

ผู้แทนคณบดี มอบกระเช้าและร่วมกิจกรรมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 34 ปี วันคล้ายวันสถาปนาสถาบันวิจัยพลังงาน

วันพุธที่ 30 เมษายน 2568 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธีรวัฒน์ ธีรพจนี รองคณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนคณบดี มอบกระเช้าและร่วมกิจกรรมแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสครบรอบ 34 ปี วันคล้ายวันสถาปนาสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในวันที่ 18 เมษายน ของทุกปี ณ ห้องประชุมชั้น 12 อาคารสถาบัน 3 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่อาจารย์รศนาภรณ์ วีรวรรณ ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการอำนวยการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2568-2570

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีเนื่องในโอกาสที่อาจารย์รศนาภรณ์ วีรวรรณ อักษรศาสตรบัณฑิต รุ่นที่ 46 อดีตนายกสมาคมนิสิตเก่าอักษรศาสตร์ในพระราชูปถัมภ์ฯ และอดีตอาจารย์ประจำภาควิชาภาษาอังกฤษ ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการอำนวยการสมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประจำปี พ.ศ. 2568-2570

WisArts: “มูไป…รู้ไป..”

“มูไป…รู้ไป..” กราบไหว้ ขอพร ไหว้ครู ดูฤกษ์ บูชาองค์เทพ… ใคร ๆ ก็ “มู” แต่คุณ “รู้” แค่ไหนเกี่ยวกับเทพเจ้า มาร่วมสำรวจปรากฏการณ์ “สายมู” ในสังคมไทย ว่าศรัทธาที่งดงามจะยังคงงดงามยิ่งขึ้นได้ หากเราเข้าใจว่า เทพเจ้าองค์นั้นมาจากคติใด ความเชื่อนั้นมีรากฐานอย่างไรในวัฒนธรรมอินเดีย และการบูชาที่สอดคล้องกับแนวคิดดั้งเดิมจริงๆ แล้วเป็นอย่างไร คอร์สนี้ไม่ได้จะชวนให้คุณศรัทธาน้อยลง แต่ชวนให้คุณศรัทธาอย่างรู้เท่าทัน เรียนรู้ผ่านสายตาของผู้เชี่ยวชาญ ในคอร์ส WisArts*: “มูไป…รู้ไป..” โดย ผศ. ดร.ชานป์วิชช์ ทัดแก้ว จะพาทุกคนเปิดโลกของเทพปกรณัมในคติฮินดู ทำความเข้าใจ “เทพ” ในฐานะมรดกทางวัฒนธรรม และชวนคิดอย่างลึกซึ้งถึงบทบาทของความเชื่อในชีวิตร่วมสมัย วันที่ 1 มิถุนายน 2568 เวลา 9.00–12.00 น. คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดูรายละเอียดและสมัครเรียนได้ที่ https://cascachula.com/detail_courses/262 ———— * WisArts: Soft Skills Series คือชุดคอร์สการเรียนรู้ตลอดชีวิตจากคณะอักษรศาสตร์ […]

ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ ได้รับตำแหน่งนายกสมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย จากการเสนอชื่อในการประชุมใหญ่สามัญสมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย ประจำปี 2568

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีในโอกาสที่รองศาสตราจารย์ ดร.พรรณี ชีวินศิริวัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ ได้รับตำแหน่งนายกสมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย จากการเสนอชื่อในการประชุมใหญ่สามัญสมาคมภูมิศาสตร์แห่งประเทศไทย ประจำปี 2568

ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประไพพรรณ พึ่งฉิม อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประไพพรรณ พึ่งฉิม อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย

คอร์สอบรม “มื้อ+ประวัติศาสตร์: เรื่องเล่าจากเมนูอิตาเลียน”

“มื้อ+ประวัติศาสตร์: เรื่องเล่าจากเมนูอิตาเลียน” อาหารไม่ได้เป็นเพียงแค่หนึ่งในปัจจัยสี่ที่มนุษย์ทุกคนต้องกินเพื่อหล่อเลี้ยงชีวิตเท่านั้น หากแต่อาหารยังเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ที่มีความสัมพันธ์กับมิติทางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ และแม้แต่การเมืองของทุกชนชาติในโลก โดยปราศจากข้อจำกัดทางเวลาด้วย อาหารอิตาเลียนเป็นตัวอย่างสำคัญที่แสดงให้เห็นว่าเกือบทุกเมนูอาหารนั้น สามารถสะท้อนการเดินทางของอารยธรรมเก่าแก่ ซึ่งเคยดำรงอยู่บนคาบสมุทรอิตาลีมายาวนานได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสูตรอาหาร วัตถุดิบ วิธีปรุงอาหารที่มีความหลากหลายไปตามพื้นที่ วิถีการกินดื่มที่แตกต่างกันในแต่ละและยุคสมัย ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นมรดกทางวัฒนธรรมชิ้นสำคัญ ที่จะช่วยบอกเล่าร่องรอยประวัติศาสตร์ของดินแดนแห่งนี้ รวมไปถึงกลุ่มคนซึ่งเคยอาศัยอยู่ในบริเวณนี้มาตั้งแต่สมัยจักรวรรดิโรมันจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ การศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมอาหารอิตาเลียนยังสามารถบูรณาการเข้ากับองค์ความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น ธุรกิจอุตสาหกรรมอาหาร วงการท่องเที่ยว วงการแพทย์ เป็นต้น นับเป็นประโยชน์ต่อแนวทางการเรียนรู้แบบไร้พรมแดนของศตวรรษที่ 21 สาขาวิชาภาษาอิตาเลียนเล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาการเรียนการสอนให้ทันสมัย และสอดคล้องกับพลวัฒน์ของสังคมโลกที่เปลี่ยนแปลงไป จึงมุ่งขยายกรอบการจัดโครงการบริการวิชาการในรูปแบบการอบรมระยะสั้นเป็นเวลา 3 ชั่วโมง ซึ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมอิตาเลียนเพิ่มมากขึ้น โดยเสนอเปิดโครงการอบรมชื่อ “มื้อ+ประวัติศาสตร์: เรื่องเล่าจากเมนูอิตาเลียน” เพื่อตอบรับความสนใจด้านวัฒนธรรมอาหารอิตาเลียนของผู้เรียนทั่วไป วันเสาร์ที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2568 เรียนที่ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เวลา 09.30 – 12.30 น. รวมทั้งสิ้น […]

ขอเชิญฟังการบรรยายหัวข้อ “นันโทปนันทสูตรคำหลวง: จาก สิลิษฐพจนคำสยาม สู่ มรดกความทรงจำโลก” ร่วมเสวนาโดย อาจารย์สาวิตรี สุวรรณสถิตย์ รองศาสตราจารย์จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ อาจารย์ ดร.ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ และอาจารย์ ดร.อัสนี พูลรักษ์

เนื่องในโอกาสที่ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียน “ต้นฉบับหนังสือสมุดไทยนันโทปนันทสูตรคำหลวง” วรรณคดีพุทธศาสนาในสมัยอยุธยา พระนิพนธ์เจ้าฟ้าธรรมธิเบศร (เจ้าฟ้ากุ้ง) เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก ประจำปี 2568 กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ขอเชิญฟังเรื่องราวเกี่ยวกับ “นันโทปนันทสูตรคำหลวง” ในการบรรยายหัวข้อ “นันโทปนันทสูตรคำหลวง: จาก สิลิษฐพจนคำสยาม สู่ มรดกความทรงจำโลก” ร่วมเสวนาโดย อาจารย์สาวิตรี สุวรรณสถิตย์ รองศาสตราจารย์จุไรรัตน์ ลักษณะศิริ อาจารย์ ดร.ยรรยงค์ สิกขะฤทธิ์ และอาจารย์ ดร.อัสนี พูลรักษ์ วันพุธที่ 21 พฤษภาคม 2568 เวลา 13.00-16.00 น.ณ ห้อง 304 อาคารมหาจักรีสินรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยผู้สนใจสามารถลงทะเบียนฟรีด้วยการสแกน QR code หรือ https://forms.gle/r4KB3EDZBZ5St6Nw7

อาจารย์ ดร.นรุตม์ เจ้าสกุล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “วรรณกรรมสเปนยุค Edad de Plata (1902–1939)”

อาจารย์ ดร.นรุตม์ เจ้าสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “วรรณกรรมสเปนยุค Edad de Plata (1902–1939)” เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 เวลา 13:30 – 15:30 น. ณ อาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ (SC1) ห้อง SC3016 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ พลมุข ได้รับเชิญเป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกและกรรมการตัดสินรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2568

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชัยรัตน์ พลมุข อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากคณะกรรมการไปเป็นประธานคณะกรรมการคัดเลือกและกรรมการตัดสินรางวัลซีไรต์ ประจำปี 2568

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองทิพย์ พูลลาภ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การแปล บทความวิจัย การอ่าน และงานวรรณกรรม” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทองทิพย์ พูลลาภ อาจารย์ประจำศูนย์การแปลและการล่ามเฉลิมพระเกียรติ ได้รับเชิญจากหน่วยงานที่จัดอบรมไปเป็นวิทยากรในการอบรมเชิงปฏิบัติการ “การแปล บทความวิจัย การอ่าน และงานวรรณกรรม” ในวันที่ 7 มิถุนายน 2568 เวลา 09:00 – 16:00 น. ณ จงกลพรหมพิจิตรแกรนด์ฮอลล์

รองศาสตราจารย์ ดร.จารุณี หงส์จารุ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “เพลงสงกรานต์ 20 ภาษา สายสัมพันธ์ไทยสู่ประชาคมโลก” 

รองศาสตราจารย์ ดร.จารุณี หงส์จารุ อาจารย์ประจำภาควิชาศิลปการละคร ได้รับเชิญจากกระทรวงการต่างประเทศไปเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “เพลงสงกรานต์ 20 ภาษา สายสัมพันธ์ไทยสู่ประชาคมโลก” เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2568 เวลา 14:00 น. ณ วิเทศสโมสร กระทรวงการต่างประเทศ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบรรณ์ ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรการประชุมวิชาการระดับชาติเกาหลีศึกษา “เมล็ดพันธ์สู่ปัญญา: ก้าวหน้าเกาหลีศึกษาไทย” (From Seeds to Scholars: Advancing Korean Studies in Thailand) ในหัวข้อ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์เกาหลี”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กมล บุษบรรณ์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเกาหลี ภาควิชาภาษาตะวันออก ได้รับเชิญจากสถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ไปเป็นวิทยากรการประชุมวิชาการระดับชาติเกาหลีศึกษา “เมล็ดพันธ์สู่ปัญญา: ก้าวหน้าเกาหลีศึกษาไทย” (From Seeds to Scholars: Advancing Korean Studies in Thailand) ในหัวข้อ “เศรษฐกิจสร้างสรรค์เกาหลี” เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2568 ณ ห้องสัมมนากลาง สถาบันเอเชียตะวันออกศึกษาฯ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต