รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ศรีวรกานต์ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในรายวิชา 411 734 สัมมนาวรรณกรรมกับการเมือง

รองศาสตราจารย์ ดร.ศิริพร ศรีวรกานต์ อาจารย์ประจำภาควิชาวรรณคดีเปรียบเทียบ ได้รับเชิญจากคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนในรายวิชา 411 734 สัมมนาวรรณกรรมกับการเมือง เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09:00 – 12:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

อาจารย์ ดร.รดารัตน์ ศรีพันธ์วรสกุล ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายในหัวข้อ “เก่าไปใหม่มา? : ประเด็นงานวิจัยทางภาษาไทยที่น่าสนใจในปัจจุบัน” 

อาจารย์ ดร.รดารัตน์ ศรีพันธ์วรสกุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒไปเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายในหัวข้อ “เก่าไปใหม่มา? : ประเด็นงานวิจัยทางภาษาไทยที่น่าสนใจในปัจจุบัน” เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 08:30 – 12:20 น. ณ ห้อง 266 คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา ดวงยิหวา ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในหลักสูตร “การบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วย Portal” 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนิตา ดวงยิหวา อาจารย์ประจำภาควิชาภูมิศาสตร์ ได้รับเชิญจากกรมพัฒนาที่ดินไปเป็นวิทยากรในหลักสูตร “การบริหารจัดการข้อมูลเชิงพื้นที่ด้วย Portal” ระหว่างวันที่ 13 – 14 มีนาคม 2568 เวลา 09:00 – 16:00 น. ณ ห้องปฏิบัติการฝึกอบรมคอมพิวเตอร์และภูมิสารสนเทศ ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กรมพัฒนาที่ดิน

รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์ ได้รับเชิญไปเป็นอาจารย์พิเศษสอนรายวิชา “ศศภอ 233 ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคการศึกษาที่ 2/2567” 

รองศาสตราจารย์ ดร.อรรถพล ธำรงรัตนฤทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปเป็นอาจารย์พิเศษ สอนรายวิชา “ศศภอ 233 ภาษาอังกฤษสำหรับเทคโนโลยีสารสนเทศ ภาคการศึกษาที่ 2/2567” ในวันที่ 25 มีนาคม 2568 เวลา 12:30 – 15:30น. ณ ห้องสิริวิทยา 320 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อาจารย์ Rasmus Terördeได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ “ความสำคัญของ คำปรากฎร่วม ในชั้นเรียนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศระดับภาษา A2”

อาจารย์ Rasmus Terörde อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาเยอรมัน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากสมาคมครูภาษาเยอรมันในประเทศไทย ไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ “ความสำคัญของ คำปรากฎร่วม ในชั้นเรียนภาษาเยอรมันในฐานะภาษาต่างประเทศระดับภาษา A2” (Die Relevanz von Kollokationen im DaF-Unterricht: Niveau A2) ในวันที่ 11 มีนาคม 2568 เวลา 08:30 – 12:00 น. ณ ศูนย์เครือข่ายพัฒนาการเรียนการสอนภาษาเยอรมัน สพม.กท 1 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา

รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์สกุล ได้รับเชิญไปเข้ารับเกียรติบัตร “รางวัลบุคคลดีเด่นในวิชาชีพฯ” ประจำปี 2567

รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ ศรีบริสุทธิ์สกุล อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ไปเข้ารับเกียรติบัตร “รางวัลบุคคลดีเด่นในวิชาชีพฯ” ประจำปี 2567 ในวันที่ 27มีนาคม 2568 ณ โรงแรมปรินซ์ พาเลซ มหานาค กรุงเทพมหานคร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาจรีย์ ทาชาติ ได้รับเชิญไปเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และร่วมการประชุมวิชาการ ดนตรีวิทยา ครั้งที่ 3 

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปาจรีย์ ทาชาติ อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปเข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทรับเสด็จสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และร่วมการประชุมวิชาการ ดนตรีวิทยา ครั้งที่ 3 เรื่อง “การตีความสัญญะทางสังคมและเมืองไทยในภาพยนตร์ทรงถ่ายเรื่อง แหวนวิเศษ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว” ระหว่างวันที่ 15 – 16กุมภาพันธ์ 2568 ณ หอประชุมมหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนันพร เหมสกุล ได้รับเชิญไปประเมินโครงการวิจัยเรื่อง “สุนทรพจน์วันปีใหม่ของวลาดิมีร์ ปูตินกับกระบวนการสร้างประวัติศาสตร์ชาติรัสเซีย การฟื้นฟูอัตลักษณ์และความชอบธรรมทางการเมืองหลังยุคโซเวียต”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนันพร เหมสกุล อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษารัสเซีย ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากคณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ไปประเมินโครงการวิจัยเรื่อง “สุนทรพจน์วันปีใหม่ของวลาดิมีร์ ปูตินกับกระบวนการสร้างประวัติศาสตร์ชาติรัสเซีย การฟื้นฟูอัตลักษณ์และความชอบธรรมทางการเมืองหลังยุคโซเวียต”

อาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี ได้รับเชิญไปเป็นคณะกรรมการและเข้าร่วมประชุม “การจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ”

อาจารย์ ดร.ประโลม บุญรัศมี อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาโปรตุเกส ภาควิชาภาษาตะวันตก ได้รับเชิญจากเลขาธิการราชบัณฑิตยสภาไปเป็นคณะกรรมการและเข้าร่วมประชุม “การจัดทำหลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาต่างประเทศ” เมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09:00 – 11:00 น. ผ่านระบบออนไลน์

รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ได้รับเชิญไปเข้าร่วมประชุมกองบรรณาธิการวารสารควบคุมโรค ครั้งที่ 1/2568

รองศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ อาจารย์ประจำภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ ได้รับเชิญจากกรมควบคุมโรคไปเข้าร่วมประชุมกองบรรณาธิการวารสารควบคุมโรค ครั้งที่ 1/2568 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 13:00 – 16:30 น. ณ ห้องประชุม 1 กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม ชั้น 2 อาคาร 10 กรมควบคุมโรค และผ่านระบบออนไลน์

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ ได้รับเชิญจากไปเป็นอาจารย์พิเศษบรรยายในหัวข้อ “ภาษาและวรรณคดีไทยกับการสร้างแบรนด์”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุจิณัฐ จิตวิริยนนท์ อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาศาสตร์ ได้รับเชิญจากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ไปเป็นอาจารย์พิเศษ บรรยายในหัวข้อ “ภาษาและวรรณคดีไทยกับการสร้างแบรนด์” เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 08:30 – 12:30 น. ณ ห้องเรียน สิริวิทยา 131 คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล ได้รับเชิญไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ “การร่างหนังสือราชการ การใช้ถ้อยคำ การเรียบเรียงประโยค และหนังสือราชการประเภทต่างๆ (แบบฟอร์ม การใช้)”

รองศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ ชีรวณิชย์กุล อาจารย์ประจำภาควิชาภาษาไทย ได้รับเชิญจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ไปเป็นวิทยากรในหัวข้อ “การร่างหนังสือราชการ การใช้ถ้อยคำ การเรียบเรียงประโยค และหนังสือราชการประเภทต่างๆ (แบบฟอร์ม การใช้)” เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2568 เวลา 09:00 – 16:00 น. ณ ห้องนิภานภดล ชั้น 2 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ขอเชิญฟังเสวนาย้อนหลังในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม  เรื่อง “เมโสอเมริกา: ความงาม ความศักดิ์สิทธิ์ สีสัน และมุมมองเพศสภาพ”

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญฟังเสวนาในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “เมโสอเมริกา: ความงาม ความศักดิ์สิทธิ์ สีสัน และมุมมองเพศสภาพ” นำเสวนาโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภาสุรี ลือสกุล สาขาวิชาภาษาสเปน ภาควิชาภาษาตะวันตก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  รับชมการบรรยายย้อนหลังได้ที่นี่———————————————————————–“เมโสอเมริกา: ความงาม ความศักดิ์สิทธิ์ สีสัน และมุมมองเพศสภาพ” เป็นการนำเสนอผลงานของนิสิตเอกภาษาสเปน ชั้นปีที่ 4 จากรายวิชา “การศึกษาอิสระ” ซึ่งมีรศ.ดร.ภาสุรี ลือสกุล และอ.ดร.อันเดร์ซง โลปิส ดา ซิววา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา เนื้อหาครอบคลุมการสำรวจ “เมโสอเมริกา” หรือพื้นที่ตั้งแต่ประเทศเม็กซิโกไปจนถึงตอนบนของอเมริกากลาง อันเป็นอาณาบริเวณของกลุ่มอารยธรรมโบราณ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แอซเท็กและมายา ผ่านมุมมองบูรณาการ ทั้งศิลปะ วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ คติชน และเพศสภาพ สะท้อนวิวัฒนาการผูกพันเชื่อมโยงทางความคิดความเชื่อของผู้คนตั้งแต่ยุคอารยธรรมโบราณ สู่ยุคอาณานิคมของจักรวรรดิสเปน สืบเนื่องจนถึงปัจจุบัน  วิทยากร คุณศิรดา เรืองทรัพย์เอนกเสวนาเรื่อง “ชาวมายากับความงามบนเรือนกาย: ภาพสะท้อนความเชื่อทางศาสนาและโครงสร้างทางสังคม”เป็นการศึกษาแนวคิดเรื่องความงามของชาวมายาในบริเวณประเทศเม็กซิโกและกัวเตมาลาในปัจจุบัน ที่ผสมผสานระหว่างความเชื่อทางศาสนา โครงสร้างทางสังคม และบทบาทของเพศหญิงและชาย การสร้างความงามบนเรือนกาย […]

โครงการอบรมและเสวนา “จากอักษรฯ สู่โลกศิลป์”

เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนนาเล่ 2024 จัดโครงการอบรมและเสวนา “จากอักษรฯ สู่โลกศิลป์” ณ ห้องประชุม อาคารดำรงราชานุภาพ และพระที่นั่งศิวโมกขพิมาน พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร โดยกิจกรรมครั้งนี้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในช่วงเช้าเป็นการอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อ “From Arts to Art” นำโดยคุณนักรบ มูลมานัส ศิลปินคอลลาจชื่อดังและศิษย์เก่าคณะอักษรศาสตร์ กิจกรรมนี้จัดขึ้นสำหรับนิสิตทั้งระดับปริญญาตรีและโทของคณะอักษรศาสตร์ โดยคุณนักรบได้แบ่งปันประสบการณ์ แรงบันดาลใจ และเส้นทางจากการเป็นบัณฑิตอักษรศาสตร์สู่การเป็นศิลปินคอลลาจ รวมถึงแนวคิดและกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะ และคุณนักรบยังได้พาน้องๆ นิสิตชมผลงานของตนเองที่จัดแสดง ณ พระที่นั่งศิวโมกขพิมาน ได้แก่ “สีทันดรสันดาป” (Fish, Fire, Fallout) และผลงานวิดีโออาร์ต “ถักโลกทอแผ่นดิน” (Our Place in Their World) ซึ่งเป็นการสร้างสรรค์ร่วมกับคุณจิตติ เกษมกิจวัฒนา นอกจากนี้ยังเปิดโอกาสให้น้องๆ […]

ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความอาลัยต่อการจากไปของผู้ช่วยศาสตราจารย์คมกฤช อุ่ยเต็กเค่ง อักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาปรัชญา