การบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ความรู้เพื่อชุมชน: โครงการบันทึกภาษาและวัฒนธรรมมอแกลน”

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญรับฟังการบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ความรู้เพื่อชุมชน: โครงการบันทึกภาษาและวัฒนธรรมมอแกลน”

ร่วมเสวนาโดย

รองศาสตราจารย์ ดร. พิทยาวัฒน์ พิทยาภรณ์ ภาควิชาภาษาศาสตร์ และศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางภาษาศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นยา สุจฉายา ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อธิคม แสงไชย หน่วยปฏิบัติการวิจัย The Arc of Memory โครงการคลังข้อมูลของแผ่นดินสยาม ยุครัชกาลที่ 5 และรัชกาลที่ 6 คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

————————————————————————-

เนื้อหาการบรรยาย

โครงการบันทึกภาษาและวัฒนธรรมมอแกลน เป็นตัวอย่างของการวิจัยแบบบูรณาการที่มุ่งสร้างองค์ความรู้เพื่อชุมชน ชาวมอแกลนเป็นหนึ่งในสามกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเลบริเวณชายฝั่งอันดามันของประเทศไทยที่มีภาษาและวัฒนธรรมเฉพาะ แต่ในขณะเดียวกันก็มีการผสมกลมกลืนและแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมกับกลุ่มชนรอบด้านอยู่เสมอ โครงการบันทึกภาษาและวัฒนธรรมมอแกลนจึงบูรณาการการวิจัยด้านภาษาศาสตร์และคติชนวิทยากับการสร้างคลังข้อมูลทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้เพื่อสื่อสารเรื่องราวของชาวมอแกลนสู่สาธารณะ โครงการนี้จึงเป็นตัวอย่างของงานวิจัยที่มุ่งประโยชน์เชิงวิชาการคู่กับประโยชน์ต่อชุมชน

รับชมย้อนหลังได้ที่นี่

[post-views]