เชิญรับฟังการบรรยายเรื่อง “ภาพถ่ายบนไปรษณียบัตรกับการขับเน้นความไม่สมมาตรระหว่างสองวัฒนธรรม: กรณีศึกษาในบันทึกการเดินทางของนักเขียนอิตาเลียน ซัลวาตอเร เบสโซ” โดย อาจารย์ ดร.ภณิตา ศิลปวิทยาดิลก

กลุ่มภารกิจงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเชิญรับฟังการบรรยายในโครงการอักษรศาสตร์สู่สังคม เรื่อง “ภาพถ่ายบนไปรษณียบัตรกับการขับเน้นความไม่สมมาตรระหว่างสองวัฒนธรรม: กรณีศึกษาในบันทึกการเดินทางของนักเขียนอิตาเลียน ซัลวาตอเร เบสโซ”

โดย อาจารย์ ดร.ภณิตา ศิลปวิทยาดิลก สาขาวิชาภาษาอิตาเลียน ภาควิชาภาษาตะวันตก

รับชมย้อนหลังที่นี่

บ่อยครั้งภาพถ่ายไปรษณียบัตรคือของฝากจากการเดินทางที่ “ให้ภาพ” เกี่ยวกับสถานที่ที่ไปมา เป็นของฝากที่บอกถึง “จุดขาย” ของสถานที่นั้นๆ

เมื่อภาพถ่ายเหล่านั้นถูกนำมาเป็นภาพประกอบ (illustration) เรื่องเล่าตัวหนังสือ เรื่องเล่าการเดินทางนั้นๆ มีแนวโน้มถูกปรับโทนให้สอดคล้องกับจินตนาการเหมารวมมากขึ้น

ในการบรรยายนี้ เรามาดูกรณีศึกษาจากบันทึกการเดินทางของ ซัลวาตอเร เบสโซ (Salvatore Besso ค.ศ. 1884-1912) ผู้สื่อข่าวชาวอิตาเลียนที่เดินทางมาสยามในปี ค.ศ. 1911 เพื่อทำข่าวงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมโภชพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

หลังการเดินทางมาสยาม ไปรษณียบัตรที่เบสโซส่งให้ครอบครัวที่อิตาลีถูกรวบรวมเป็นหนังสือ อยู่ร่วมกับจดหมายส่วนตัวและบทความหนังสือพิมพ์ของเขา

ในการบรรยายนี้ เรามาดูกันว่าไปรษณียบัตรเข้ามามีบทบาทโน้มน้าวผู้อ่านบันทึกการเดินทางของเบสโซ ให้ตรึงภาพสยามในมโนภาพความแปลกต่าง (exotism) อย่างไรบ้าง

คำสำคัญ:
ภาพถ่าย (photography)
ไปรษณียบัตร (postcard)
บันทึกการเดินทาง (travel writing)
สหสื่อ (intermediality)
เรื่องเล่าตัวหนังสือพร้อมภาพถ่าย (phototext)

[post-views]