กระบวนการวนซ้ำในการออกแบบบริการสารสนเทศของห้องสมุด

กระบวนการวนซ้ำในการออกแบบบริการสารสนเทศของห้องสมุด

บทความเรื่อง Facilitating Iteration in Service Design in Libraries ของผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ในหนังสือ Assessment as Information Practice: Evaluating Collections and Services นำเสนอแนวทางในการส่งเสริมกระบวนการวนซ้ำในการออกแบบบริการสารสนเทศในห้องสมุด ครอบคลุมแนวทางในการพัฒนาต้นแบบ (prototype) ที่รวดเร็วและแนวทางและวิธีการประเมินทรัพยากรหรือบริการที่มีความเฉพาะเจาะจง เป็นประโยชน์ และเชื่อถือได้ นอกเหนือจากแนวคิดและวิธีการแล้ว บทความชิ้นนี้ยังได้วิเคราะห์ความท้าทายและนำเสนอกรณีศึกษาที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

หนังสือ Assessment as Information Practice: Evaluating Collections and Services เป็นหนังสือ ebook รวมบทความที่บรรณาธิกรโดย Gaby Haddow และ Hollie White จาก Curtin University ประเทศออสเตรเลีย ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Routledge เป็นหนึ่งในชุดหนังสือ Routledge Guides to Practice in Libraries, Archives and Information Science โดยเน้นกลุ่มเป้าหมายเป็นบรรณารักษ์ นักสารสนเทศ ผู้บริหารและผู้ปฏิบัติงานในห้องสมุด กำหนดการวางแผนออกจำหน่ายเผยแพร่ตั้งแต่วันที่ 30 ธันวาคม 2564 นี้เป็นต้นไป

ประเด็นความสามารถในการใช้งานได้ของแอปพลิเคชั่นระบบปรึกษาทางไกลระหว่างทีมแพทย์

ประเด็นความสามารถในการใช้งานได้ของแอปพลิเคชั่นระบบปรึกษาทางไกลระหว่างทีมแพทย์

การออกแบบระบบในบริบทการแพทย์คลินิกบนแพลตฟอร์มโทรศัพท์มือถือ นับเป็นความท้าทายอย่างมาก เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขนาดของหน้าจอที่จำกัดอาจส่งผลต่อคุณภาพของข้อมูลที่และเกิดข้อผิดพลาดในการสื่อสารได้ ดังนั้น ในการพัฒนาแอปพลิเคชันเพื่อให้สามารถใช้งานได้ตรงตามแบบจำลองทางความคิด (mental model) ของทีมแพทย์และผู้ปฏิบัติงานทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ได้เข้าไปทำการทดสอบความสามารถในการใช้งานได้ (usability) ของระบบดังกล่าว โดยประยุกต์ใช้กรอบแนวคิด PACMAD (People At the Centre of Mobile Application Development) (Harrison, Flood & Duce, 2013) มาในใช้การประเมินระบบปรึกษาทางไกลที่มีข้อมูลผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางในคลินิกออร์โธปิดิกส์ ผลการศึกษานอกจากจะช่วยพัฒนาและปรับปรุงระบบ Medic ให้สามารถใช้งานได้ดียิ่งขึ้นแล้ว ผลการศึกษาและการอภิปรายผลยังครอบคลุมข้อสังเกตและข้อพึงระวังในการออกแบบแอปพลิเคชั่นในบริบททางการแพทย์ในหลายมิติอีกด้วย

งานวิจัยชิ้นนี้ตีพิมพ์ในรูปแบบบทความวิจัยที่เข้าถึงได้อย่างเสรี (open access) ชื่อ Exploring usability issues of smartphone-based physician-to-physician teleconsultation application in an orthopaedic clinic: A mixed-method study ในวารสาร JMIR Human Factors ซึ่งสามารถเข้าถึงได้ที่ https://doi.org/10.2196/31130

สำรวจทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในห้องสมุดต่างประเทศ

สำรวจทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในห้องสมุดต่างประเทศ

บทความวิจัยล่าสุดของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ ร่วมกับ Dr. Hollie White จาก Curtin University ประเทศออสเตรเลีย ชื่อ Dispersed Collections in Exile: Thai Collections in Libraries Outside of Thailand ตีพิมพ์ลงในวารสาร Library Resources & Technical Services ปีที่ 65 เล่มที่ 4 รายงานผลการสำรวจแนวปฏิบัติและข้อคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาและการลงรายการทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยในห้องสมุดในหลายภูมิภาคทั่วโลก ผลการศึกษาที่สำคัญชี้ให้เห็นระบบนิเวศของของการพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศภาษาไทยที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ซึ่งได้รับผลกระทบที่สำคัญจากสภาพเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การศึกษาและวิจัยที่เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็ว ห้องสมุดจำนวนมากพึ่งพาการบริจาคจากนักวิชาการที่มีความสนใจเกี่ยวกับเมืองไทยมากกว่าการจัดหาทรัพยากรอย่างเป็นระบบ นักวิชาการเหล่านี้อาจสนใจในเรื่องที่นักวิชาการไทยอาจไม่สามารถศึกษาได้ด้วยข้อจำกัดทางการเมือง สังคมและวัฒนธรรม ทำให้ทรัพยากรในห้องสมุดหลายแห่งมีความเฉพาะตัว แตกต่างจากทรัพยากรที่จัดเก็บในห้องสมุดของประเทศไทย

ผู้ที่สนใจอ่านบทความฉบับเต็ม สามารถเข้าถึงได้ที่ https://doi.org/10.5860/lrts.65n4.142

อ.ดร.วชิราภรณ์ร่วมแปลคู่มือการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน

อ.ดร.วชิราภรณ์ร่วมแปลคู่มือการดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียน

อ.ดร.วชิราภรณ์ คลังธนบูรณ์ ร่วมกับคณาจารย์ทางด้านบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์จากทั่วประเทศแปลคู่มือการดําเนินงานห้องสมุดโรงเรียน ของสมาพันธ์สมาคมห้องสมุดนานาชาติ (IFLA School Library Guidelines) พิมพ์ครั้งที่ 2 โดยมี Prof. Dr. Diljit Singh, ศ.ดร.ชุติมา สัจจานันท์ และ ดร.ประจักษ์ วัฒนานุสิทธิ์ เป็นที่ปรึกษา และได้รับการสนับสนุนจากสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ

คู่มือฉบับนี้พัฒนาขึ้นเพื่อเป็นแนวทางสำหรับบุคลากรวิชาชีพสารสนเทศ และผู้บริหารสถานศึกษาดำเนินงานห้องสมุดโรงเรียนให้สอดคล้องและสนับสนุนการเรียนของนักเรียนและครูผู้สอน คู่มือนี้ได้จัดทำขึ้นเป็นภาษาอังกฤษและแปลเป็นภาษาอื่น ๆ อีกมากกว่า 20 ภาษา

เจ้าหน้าที่ภาควิชาได้รับรางวัลพัฒนากระบวนการทำงานประจำปี 2564

เจ้าหน้าที่ภาควิชาได้รับรางวัลพัฒนากระบวนการทำงานประจำปี 2564

ขอแสดงความยินดีกับคุณมณฑณา จันทนะผะลิน ผู้จัดการภาควิชาและคุณมนัสชยา ธารีศัพท์เจ้าหน้าที่บริหารจัดการทั่วไปที่ได้รับรางวัลการพัฒนากระบวนการจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในการสัมมนาพนักงานมหาวิทยาลัยสายปฏิบัติการ คณะอักษรศาสตร์ประจำปี 2564 เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา