ขอเชิญเข้าร่วม Clubhouse เรื่อง การจัดการข้อมูลดิจิทัลในพิพิธภัณฑ์และห้องสมุด

ขอเชิญเข้าร่วม Clubhouse เรื่อง การจัดการข้อมูลดิจิทัลในพิพิธภัณฑ์และห้องสมุด วันที่ 3 เมษายน 2564 เวลา 20.00 น. โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ทรงพันธ์ เจิมประยงค์ หัวหน้าภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ เมื่อเป้าหมายของการใช้งานข้อมูลหรือสารสนเทศไม่ได้อยู่ที่วัตถุหรือบรรจุภัณฑ์ แต่อยู่ที่ความรู้หรือความคิดที่ไม่สามารถจับต้องได้ ในขณะเดียวกันความรู้หรือความคิดหนึ่ง ๆ ก็ถูกบรรจุและเผยแพร่ในหลายรูปแบบทั้งที่อยู่ในรูปแบบทางกายภาพและดิจิทัล รูปแบบของวัตถุหรือบรรจุภัณฑ์แต่ละประเภทก็เป็นตัวแปรที่สำคัญในการกำหนดกรอบการรับรู้ การทำความเข้าใจ และการใช้งานความรู้และหรือความคิดเหล่านั้น ระบบจัดการข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้งานกันในห้องสมุด หอจดหมายเหตุ พิพิธภัณฑ์ และแกลลอรี่ในปัจจุบันสามารถตอบสนองความท้าทายเหล่านี้หรือไม่ อย่างไร แนวคิดที่เราใช้ในการจัดการความรู้ที่ซับซ้อนที่ให้ความสำคัญกับความรู้และความคิดในระดับนามธรรม จะถ่ายทอดออกมาในเชิงปฏิบัติได้อย่างไร หัวหน้าภาควิชาฯ จะร่วมพูดคุยเกี่ยวกับทิศทาง ความเคลื่อนไหวและความท้าทายในการพัฒนาระบบจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศในห้องสมุดและพิพิธภัณฑ์ในประเด็นดังกล่าว ท่านที่สนใจสามารถเข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นใน Clubhouse ลิงก์สำหรับเข้าร่วม https://www.joinclubhouse.com/event/mJDorXlO?fbclid=IwAR3cMwTIY1kRsEcTP5uaQ9_zO0-YtYjFG_JZzzb8s1twBG3wl1osgMTisxw

ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง “Zero tense marking in English-as-Lingua-Franca communication: A case of Thai users”

ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขอเรียนเชิญผู้สนใจเข้าฟังการบรรยายพิเศษเรื่อง “Zero tense marking in English-as-Lingua-Franca communication: A case of Thai users”วิทยากร: รองศาสตราจารย์ ดร.นภาศรี ทิมแย้ม (ภาควิชาภาษาศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์) วันเวลา: วันศุกร์ที่ 9 เมษายน 2564 เวลา 11.00-12.00 น. (เวลาประเทศไทย) ถ่ายทอดออนไลน์ผ่าน Zoom ลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่ https://bit.ly/3dTzVjZ

นิสิตภาควิชาภูมิศาสตร์ ได้รับรางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า

คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีแก่นายจิรายุทธ สุวรรณสังข์ นางสาวกาญลดา บรรลุพงษ์ และนางสาวอรจิรา ติตติรานนท์ นิสิตชั้นปีที่ 4 ภาควิชาภูมิศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการนำเสนอผลงานวิชาการแบบปากเปล่า (Oral Presentation) สาขาภูมิศาสตร์มนุษย์ จากผลงานวิชาการเรื่อง “ภูมิศาสตร์แห่งอารมณ์: ถ้อยคำอารมณ์ผ่านทวิตเตอร์กับสุขภาวะของประชากรเชิงพื้นที่ กรณีศึกษา พื้นที่ภาคตะวันออก” ในการประชุมวิชาการนิสิตนักศึกษาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศศาสตร์ ระดับปริญญาตรีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 13 จัดโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา นอกจากนี้ คณะอักษรศาสตร์ขอแสดงความยินดีแก่นิสิตภาควิชาภูมิศาสตร์ทุกคน ที่ได้รับรางวัลรองชนะเลิศและรางวัลชมเชยการนำเสนอผลงานแบบปากเปล่าและแบบโปสเตอร์อีกด้วย https://www.chula.ac.th/news/45102/