ข่าวประชาสัมพันธ์จากศูนย์บริการวิชาการเกี่ยวกับคอร์สอบรมระยะสั้นหัวข้อใหม่ “ปากศิลป์-วรรณศิลป์ วัฒนธรรมอาหารในวรรณคดีไทย”

ข่าวประชาสัมพันธ์จากศูนย์บริการวิชาการเกี่ยวกับคอร์สอบรมระยะสั้นหัวข้อใหม่
“ปากศิลป์-วรรณศิลป์ วัฒนธรรมอาหารในวรรณคดีไทย”

วัฒนธรรมอาหารของไทยมีความรุ่มรวยอย่างยิ่งและปรากฏในวรรณคดีไทยเป็นจำนวนมาก อาทิ กาพย์เห่ชมเครื่องคาวหวาน พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ 2 ซึ่งบันทึกตำรับอาหารในราชสำนักต้นกรุงรัตนโกสินทร์ที่ประสมประสานทางวัฒนธรรมอย่างหลากหลาย และเชื่อมโยงอาหารกับอารมณ์รัก การพลัดพราก และการถวิลหากันของคนรักโดยใช้อาหารเป็นสื่อ อาหารยังปรากฏแทรกเสริมอยู่ในเรื่องราววรรณคดีไทยทั้งวรรณคดีราชสำนักและวรรณคดีท้องถิ่น เช่น เสภาขุนช้างขุนแผน พระอภัยมณี พญาคำกองสอนไพร่ ซึ่งสะท้อนวิถีชีวิต ค่านิยม และจินตนาการอย่างน่าสนใจ นอกจากนี้วัฒนธรรมอาหารยังปรากฏในตำรับตำราต่างๆ ไม่ว่าจะตำราการทำอาหาร เช่น ตำราแม่ครัวหัวป่าก์ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงศ์ ตำรากับเข้าฝรั่งในรัชกาลที่ 5 ซึ่งไม่เพียงแต่กล่าวถึงทั้งวัตถุดิบ สูตรอาหาร การปรุงแต่ง การรับประทานเท่านั้น แต่ยังได้บันทึกความเปลี่ยนแปลงทางวัฒนธรรมในช่วงเวลาที่เปลี่ยนไปด้วย หรือในตำราพระราชพิธี เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน ก็ได้แสดงความสัมพันธ์ระหว่างอาหารกับพิธีกรรม ซึ่งเป็นส่วนสำคัญอีกประการหนึ่งในวัฒนธรรมอาหารของไทย

ความรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมอาหารในวรรณคดีไทยสามารถนำไปต่อยอดเพื่อสร้างพลังละมุน (soft power) ในการสร้างสรรค์อาหารใหม่ๆ หรือสร้างมูลค่าเพิ่มแก่สินค้าและบริการต่างๆ รวมทั้งการสร้างสรรค์สื่อ เช่น ละคร ภาพยนตร์ได้

เริ่มวันเสาร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2566 เวลา 13:00-16:00 น. รวม 3 ชั่วโมง
สมัครได้ที่ https://www.arts.chula.ac.th/~asc/main/?page_id=1397
***ผู้ใช้งานใหม่ โปรดลงทะเบียนสร้าง Account ก่อน

[post-views]